- หน้าแรก
- โครงการพระราชดำริ (จำแนกตามวัตถุประสงค์ของโครงการ)
- โครงการตามพระราชกระแส
- โครงการศึกษา และพัฒนาการปลูกชาน้ำมันของมูลนิธิชัยพัฒนา
โครงการศึกษา และพัฒนาการปลูกชาน้ำมันของมูลนิธิชัยพัฒนา
ความเป็นมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินการศึกษา และดำเนินการปลูกชาน้ำมัน จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จากนั้นทรงมีพระราชดำริเพิ่มเติมให้ศึกษาพืชน้ำมันอื่นๆ ด้วย และได้พระราชทานพระราชานุมัติแต่งตั้ง หม่อมราชวงศ์ ดิศนัดดา ดิศกุล ให้เป็นผู้อำนวยการโครงการศึกษาและพัฒนาการปลูกชาน้ำมัน และพืชน้ำมันอื่นๆ ของมูลนิธิชัยพัฒนา | |
| |
การดำเนินงาน | |
การดำเนินงานปลูกชาน้ำมัน ปี พ.ศ.2551 ดำเนินการดูแลต้นชาในพื้นที่โครงการฯ ที่ได้ลงปลูกไว้แล้วตั้งแต่ปี 2549 และมีการปลูกซ่อมต้นชาที่เกิดโรค ไม่เจริญเติบโต และมีศัตรูพืชรบกวน ในพื้นที่ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ ที่ พื้นที่ปลูก ขนาดพื้นที่ (ไร่) จำนวน (ต้น) 1 พื้นที่บริเวณเนินปางมะหัน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 1,407 374,352 2 พื้นที่ในโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย และพื้นที่ใกล้เคียง 233 39,430 3 พื้นที่บริเวณแม้หม้อ ปูนะ จะตี จังหวัดเชียงราย 2,010 534,660 4 พื้นที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (โป่งน้อย) อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ 9 1,602 5 พื้นที่แปลงชาน้ำมัน บ้านโปง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 15 2,200 6 พื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 8 2,046 7 พื้นที่บริเวณสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ฯ 1 88 รวมทั้งสิ้น 3,683 954,378 | |
การดำเนินงานในระยะต่อไป คณะทำงานจะดำเนินการดูแลต้นชาที่ลงปลูกไว้แล้ว ให้ได้ผลผลิตตามเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2552 จะเน้นการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้ 1. ประมาณการผลผลิตชาน้ำมัน และศึกษาการตั้งโรงงานผลิตชาน้ำมัน ที่เหมาะสม 2. ศึกษาการใช้ประโยชน์สูงสุดของโรงงานชาน้ำมัน โดยการศึกษาพันธุ์พืชที่ให้น้ำมันชนิดอื่นๆ เช่น ฟักทอง ผักน้ำมัน มะรุม มะเยา หรือ แมกคาเดเมีย เป็นต้น 3. ศึกษา และวิจัยประโยชน์อื่นๆของชาน้ำมัน เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เช่นเครื่องสำอาง ยารักษาโรค 4. ศึกษา และป้องกันศัตรูของต้นชาน้ำมัน และโรคต่างๆอันเป็นสาเหตุของการเจริญเติบโตของต้นชา 5. ดูแลต้นชาที่เจริญเติบโตช้า ไม่สมบูรณ์ หาสาเหตุ และหาวิธีป้องกันที่เหมาะสม รวมทั้งการเตรียมต้นกล้าเพื่อปลูกซ่อมต้นชาน้ำมันที่ตายไป ประโยชน์อื่นๆที่ได้รับจากโครงการชาน้ำมัน 1. การปลูกชาน้ำมันแปลงนี้เป็นแปลงที่ใกล้หมู่บ้านสวนป่าที่มีชาวบ้านที่ยากจน ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ ในพื้นที่ออกไปรับจ้างภายนอก และเป็นแหล่งที่ชาวบ้านจะมีส่วนร่วมกับโครงการเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมการเกษตรด้านอื่นๆ เช่นการจัดตั้งธนาคารเป็ด ละธนาคารหมู เป็นต้น 2. เป็นการลดการเกิดไฟไหม้ป่าซ้ำซากในพื้นที่โครงการฯ 3. เป็นการปลูกป่าเศรษฐกิจแบบผสมผสาน ร่วมกับไม้ป่าเดิมที่คงเหลือจากไฟไหม้ครั้งที่ผ่านมาทำให้เกิดรายได้ในพื้นที่และชาวบ้านมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น |