ป่า
ป่า
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงให้ความสำคัญกับปัญหาเรื่องดินและน้ำเท่า นั้น แต่ยังทรงคำนึงถึงความสัมพันธ์กันระหว่างทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้เกี่ยวเนื่องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ด้วย เช่นกัน จึงทรงค้นหาวิธีการอนุรักษ์และเพิ่มปริมาณป่าไม้อย่างถาวร และคงลักษณะธรรมชาติดั้งเดิมไว้หลายวิธี ในฉบับนี้จะยกเอาตัวอย่างแนวคิดในการอนุรักษ์ที่น่าสนใจมาให้อ่านกันสัก3-4 ตัวอย่างดังนี้
การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ซึ่งภาษาอังกฤษใช้คำว่า Reforestation without Planting หรือ Natural Reforestation ซึ่งคำว่า forest เป็นคำที่ใช้เรียกป่าไม้โดยทั่วไป ส่วน Re ที่เป็นคำนำหน้านั้นแปลว่า อีกครั้ง ทำอีกครั้งเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น และกลับไปสู่สภาพเดิม คำว่า Reforestation จึงแปลเป็นไทยว่า การปลูกป่าขึ้นใหม่เพื่อทดแทนในพื้นที่ที่ป่าเดิมได้ถูกทำลายไป การที่ ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ใช้ภาษาอังกฤษว่า Reforestation without Planting นั้น เป็นการแปลอย่างตรงตัว ตรงความหมาย Reforestation ตามที่พูดไว้ข้างต้นว่าแปลว่าการปลูกป่าขึ้นใหม่เพื่อทดแทน without แปลว่าปราศจาก และ Plant แปลว่าปลูกต้นไม้ Planting ก็คือการปลูกต้นไม้ นำมารวมกันแล้วจึงแปลว่า การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกนั่นเอง สำหรับ Natural Reforestation คำว่า Natural มาจากคำว่า Nature ที่แปลว่าธรรมชาติ Natural จึงมีความหมายว่า ตามธรรมชาติ ก็คือการปลูกป่าโดยปล่อยไปตามธรรมชาติหรือโดยไม่ต้องปลูกนั่นเอง
แนวคิด ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกนี้ แสดงให้เห็นว่าป่าไม้สามารถเจริญเติบโตเองได้ตามธรรมชาติ ถ้ามนุษย์เราไม่ไปรบกวนทำลายป่า และปล่อยให้เติบโตเองตามธรรมชาติ สักระยะหนึ่งป่าไม้ก็จะสมบูรณ์ได้ด้วยตัวเอง การที่ปลูกป่าโดยไม่เข่าใจถึงธรรมชาติของป่าจะเป็นการทำลายป่าโดยรู้เท่าไม่ ถึงการณ์ และยังเป็นการทำลายสภาพแวดล้อมอีกด้วย แนวคิดนี้จึงเป็นแนวคิดที่เข้าใจธรรมชาติได้อย่างลึกซึ้งโดยใช้หลักการ ฟื้นฟูสภาพป่าด้วยวัฏธรรมชาติ
การปลูกป่า 3 อย่างได้ประโยชน์ 4 อย่าง แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า 3 Forests, 4 Benefits แนวคิดนี้แปลเป็นภาษาอังกฤษตรงตัว ตรงความหมายเช่นกัน คำว่า Benefit แปลว่า คุณประโยชน์ หรือกำไร มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินที่แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า Benefaction ซึ่งหมายความถึงการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
แนว คิดนี้เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรป่าไม้ ในขณะเดียวกันก็เป็นการสนองความต้องการทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของราษฎรไปใน ตัวด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันไม่ให้ชาวบ้านบุกรุกเข้าทำลายป่าไม้ โดยปลูกป่า3 อย่าง คือ ป่าสำหรับไม้ใช้สอย ป่าสำหรับเป็นไม้ผล หรือไม้กินได้ และป่าสำหรับเป็นเชื้อเพลิง หรือไม้ฟืน นั่นคือป่า 3 อย่าง ซึ่งป่า 3 อย่างนี้ให้ประโยชน์ตามประเภท คิดเป็นประโยชน์ 3 อย่างแล้ว ส่วนประโยชน์อย่างที่ 4 นั้นคือการอนุรักษ์ดิน และน้ำ และคงความชุ่มชื้นเอาไว้ ไม่ว่าป่าชนิดไหนใดก็ให้ประโยชน์อย่างนี้ทั้งนั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลพลอยได้
ป่าเปียก หรือ Wet Forest เป็น แนวคิดที่ใช้ป้องกันไฟป่า ซึ่งถ้าเกิดขิ้นแล้วจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ต้องมีการระดมกำลังเข้าแก้ไขอย่างเร่งด่วนทุกครั้งไป หากรู้วิธีการป้องกันที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพแล้วนั้น จะได้ประโยชน์อย่างมหาศาล ซึ่งวิธีการสร้างป่าเปียกนั้นไม่ยากเลย วิธีการแรกคือการทำระบบป้องกันไปไหม้ป่า โดยใช้แนวคลองส่งน้ำ และแนวพืชชนิดต่างๆ ต่อไปให้สร้างระบบการควบคุมไฟป่าด้วยแนวป้องกันไฟป่าเปียก หรือ Wet Fire Break ซึ่งคำว่า Break ในที่นี้แปลว่า หยุด นั่นเอง จากนั้นให้ปลูกไม้โตเร็วคลุมแนวร่องน้ำเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น แล้วจึงสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น หรือ Check Dam ซึ่ง เป็นคำศัพท์ที่ได้เสนอไปในฉบับที่แล้ว โดยความชุ่มชื้นจะค่อยๆ แผ่ขยายเข้าไปในดินจนกลายเป็น ป่าเปียก จากนั้นให้สูบน้ำขึ้นไปในระดับที่สูงที่สุดแล้วค่อยปล่อยลงมา เพื่อให้ค่อยๆ ซึมลงดิน แล้วจึงปลูกต้นกล้วยหากเกิดไฟใหม้ก็จะปะทะต้นกล้วยซึ่งอุ้มน้ำได้ดีกว่าพืช อื่น ทำให้ลดการสูญเสียน้ำไปได้มาก
การปลูกป่าทดแทน ใช้คำว่า Reforestation ซึ่งได้อธิบายไปแล้วในแนวคิด
การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ป่าไม้ ไม่ได้มีแค่คำว่า Forest คำเดียวเท่านั้น แต่ยังมีคำว่า Wood ที่แปลว่าป่าที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก หรือ Jungle คือ ป่าไม้เขตร้อนที่มีพื้นที่กว้าง และมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาทึบ การปลูกป่าทดแทนนั้นเป็นวิธีการเพิ่มเนื้อที่ป่า โดยปลูกทดแทนในพื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุกและพื้นที่เสื่อมโทรม ตามไหล่เขา บริเวณต้นน้ำบนยอดเขาและเนินสูง และปลูกเสริมธรรมชาติ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
ที่ กล่าวมานั้นเป็นเพียงไม่กี่ตัวอย่างของแนวคิดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงริเริ่ม แต่ก็นับเป็นแนวพระราชดำริที่เอื้อประโยชน์ และเป็นตัวอย่างของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ที่อยู่บนพื้นฐานของความเรียบ ง่าย และยั่งยืนอย่างแท้จริง