logochaipat

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • ความเป็นมา
    • วัตถุประสงค์
    • แนวทางการดำเนินงาน
    • กิจกรรมหลักของมูลนิธิ
    • ตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิ
    • คณะกรรมการมูลนิธิ
  • โครงการพระราชดำริ
    • ภาคเหนือตอนบน
    • ภาคเหนือตอนล่าง
    • ภาคกลางตะวันออก
    • ภาคกลางตะวันตก
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
    • ภาคใต้
    • โครงการกิจกรรมพิเศษ
  • เผยแพร่
    • วารสาร
    • เอกสารเผยแพร่
    • มัลติมีเดีย
    • โปสเตอร์
    • แบบพระอุโบสถวัดพระราม ๙
  • ข่าว
    • ข่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    • ข่าวผู้บริหารมูลนิธิชัยพัฒนา
    • ข่าวสารทั่วไป
    • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
    • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
    • ระบบติดตามตรวจสอบย้อนกลับ Chaipattana Traceability QR Code
  • แนวคิดและทฤษฏี
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องน้ำ
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องดิน
    • น้ำดีไล่น้ำเสีย
    • ฝนหลวง
    • เครื่องดักหมอก
    • การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน
    • ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
    • ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้
    • เส้นทางเกลือ
    • การบำบัดน้ำเสียด้วยพืชน้ำกับระบบการเติมอากาศ
    • การพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกร
    • ทฤษฎีใหม่
  • กังหันน้ำชัยพัฒนา
    • กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2
    • การขอความอนุเคราะห์การติดตั้ง
    • ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
    • การติดตั้งและบำรุงรักษา
  • บริจาค
  • 30ปีมูลนิธิชัยพัฒนา
    • 30 เรื่องพิเศษ
    • 8 ผลงานนักวาดภาพประกอบ
    • แรงบันดาลใจแห่งชัยชนะ
    • ภาพยนตร์สารคดี
    • เกี่ยวกับมูลนิธิชัยพัฒนา
    • กิจกรรมในงาน
    • จากนภาผ่านภูผาสู่มหานที
    TH Thai EN English |
facebook youtube tiktok icon
logochaipat mobile
facebook  youtube
  • หน้าแรก
  • เอกสารเผยแพร่
  • บทความที่น่าสนใจ
  • เมื่อน้ำ...คือชีวิต

เมื่อน้ำ...คือชีวิต

เมื่อน้ำ....คือชีวิต  จะทำอย่างไรกับ น้ำ ท่ามกลางภาวะโลกร้อน
ปัจจุบันนี้เราจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าองค์กรใดๆ หรือสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ต่างก็พากันร่วมแรงร่วมใจให้ความสำคัญกับเรื่อง "ภาวะโลกร้อน" ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ควรจะเป็นที่สนใจของพวกเรากันนานแล้ว แต่คงเป็นเพราะว่าหลายคนต่างคิดว่า "ภาวะโลกร้อน" เป็นเรื่องที่ไกลตัว



น้ำ....ทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง

                        ส่วนประกอบ 2 ใน 3 ของร่างกาย คือ น้ำ และ 3 ใน 4 ของพื้นโลก คือ น้ำ ดังนั้น น้ำ จึงเป็นทรัพยากรที่มีค่าและมีความสำคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก รวมถึงมนุษย์ หากโลกของเรามีอุณหภูมิที่ร้อนมากขึ้น สิ่งที่ตามมา ก็คือ ภัยแห่งความแห้งแล้ง ดังนั้น เราควรหาวิธีการ หรือแนวทางการแก้ไขไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าวเกิดขึ้น

                        เมื่อปี ๒๕๓๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและภาวะขาดน้ำของประเทศไทยว่า

                        "...น้ำในประเทศไทยที่ไหลเวียนนั้น ยังมีอยู่ เพียงแต่ต้องบริหารให้ดี ถ้าบริหารให้ดีแล้ว มีเหลือเฟือ มีตัวเลขแล้ว ไปแยกแยะตัวเลข เหมือนที่ได้แยกแยะตัวเลขของคาร์บอน น้ำนั้นน่ะ ในโลกมีมาก แล้วที่ใช้จริงๆ มันเป็นเศษหนึ่งส่วนหมื่นของน้ำที่มีอยู่ อาจไม่ถึง ก็ต้องบริหารให้ดีเท่านั้นเอง..."

จะเห็นได้ว่า พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นอย่างยิ่ง เพราะน้ำถือว่าเป็นทรัพยากรหลักในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก น้ำเป็นตัวประสานให้เกิดความสมดุลขึ้นบนโลก เมื่อมีน้ำ ก็จะมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เมื่อป่าไม้อุดมสมบูรณ์เราก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามไปด้วย เพราะสายน้ำที่ไหลจากยอดเขาจนสุดปลายทางลงสู่ทะเลนั้น ได้หล่อเลี้ยงชีวิตของพวกเราทุกคนมานานแสนนาน

ทำอย่างไรเพื่อให้เรามีน้ำใช้อย่างยาวนานท่ามกลางภาวะโลกร้อน

Image
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแนะนำเรื่องการบริหารจัดการน้ำเพื่อกักเก็บน้ำ กันภัยแล้ง และการเก็บน้ำเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม โดยจะแบ่งพื้นที่เป็น ๔ ส่วน พื้นที่ส่วนแรก คือ ส่วนยอดเขาลงมาสู่กลางเขา จะเป็นพื้นที่อนุรักษ์ คือ อนุรักษ์น้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดิน โดยการสร้างฝายต้นน้ำลำธาร เพื่อช่วยชะลอความเร็วของน้ำ ป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และที่สำคัญ เมื่อผืนดินชุ่มชื้นแล้ว พืชพันธุ์ต้นไม้ต่างๆ ก็จะเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ อันมีพื้นที่ตัวอย่างได้แก่ ศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ที่สร้างฝายชะลอน้ำ (
Check dam) โดยผลที่ได้นั้น คือพื้นที่ป่าในบริเวณดังกล่าวมีความชุ่มชื้นขึ้น หรือโครงการ ๘๐ พรรษา ๘๘๐ ฝาย อินทรีสร้างถวายในหลวง ที่บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนา จัดสร้างฝายตามพื้นที่ต่างๆ อีกด้วย จากผลที่ได้นั้น ทำให้ทุกวันนี้ ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ เห็นประโยชน์ของฝายชะลอน้ำและได้ช่วยกันทำฝายชะลอน้ำกันมากขึ้น

                        พื้นที่ที่สอง คือ กลางเขาลงมาถึงเชิงเขา จะเป็นเขตป่าเศรษฐกิจ เพื่อปลูกต้นไม้เศรษฐกิจหรือพืชพันธุ์ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ เช่น ไม้ที่สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง ไม้ใช้สอยสำหรับก่อสร้าง และผลไม้ต่างๆ ที่เหมาะกับดินบริเวณนั้น ที่ทรงเรียกว่าไม้ ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ซึ่งประโยชน์ที่ ๔ คือ ช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธาร ทรงแนะนำให้สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กบนกลางเขาเพื่อกักเก็บน้ำที่ไหลลงมาจากบนเขา เพื่อให้พื้นดินบริเวณเพาะปลูกมีความชุ่มชื้นและป้องกัน หรือบรรเทาในช่วงที่ขาดน้ำ

                        พื้นที่ส่วนที่สาม จะเป็นพื้นที่ไร่นา ทรงให้สร้างเขื่อนเพื่อรองรับน้ำฝนที่ตกใหม่และน้ำที่ไหลมาจากยอดเขา เพื่อเป็นน้ำสำรองสำหรับการปลูกข้าว หรือพืชพันธุ์ต่างๆ การสร้างเขื่อนเก็บน้ำนี้ยังเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่า เพราะเป็นการไม่ปล่อยให้น้ำดีไหลลงคลอง หรือทะเลโดยเปล่าประโยชน์ ยกตัวอย่าง โครงการสระเก็บน้ำพระราม ๙ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่นอกจากจะทำหน้าที่เก็บสำรองน้ำแล้ว ยังทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมในบริเวณ หรือจังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย นอกจากนี้ ยังทรงแนะนำให้เกษตรกรที่มีที่ดินไม่มากให้ทำการเกษตรแบบทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์ของที่ดินให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการน้ำให้พอเพียงและสมดุลกับพืชที่ปลูก

                        พื้นที่สุดท้าย จากพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งสามส่วน ตั้งแต่ยอดเขาลงสู่พื้นที่ราบ จะเห็นได้ว่าทรัพยากรน้ำถูกเราใช้กันอย่างมากมายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการเกษตร หรือเพื่อใช้บริโภค ซึ่งสิ่งที่ตามมาจากการใช้ คือ น้ำที่ไม่สามารถใช้การใดๆ ได้อีก หรือที่เราเรียกกันว่า น้ำเสีย ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงคิดหาแนวทางการบำบัดน้ำเสียให้กลับสภาพเป็นน้ำดีโดยวิธีธรรมชาติ  ก่อนที่จะปล่อยลงสู่ทะเล ในวันนี้ ทรงทำให้เห็นเป็นตัวอย่างที่โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  เป็นพื้นที่เพื่อใช้เป็นการศึกษาวิธีการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่ท้องทะเล ด้วยระบบบ่อบำบัดน้ำเสียและวัชพืชบำบัด โดยใช้พืชน้ำและธรรมชาติ เช่น สายลม แสงแดด ออกซิเจน เป็นตัวบำบัด ซึ่งได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก และสามารถขยายผลการดำเนินงานในลักษณะคล้ายคลึงกันไปยังพื้นที่อื่นๆ ได้อีกด้วย

                        นอกจากการจัดสรรพื้นที่ต่างๆ เพื่อเป็นการอนุรักษ์น้ำแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังพระราชทาน ฝนหลวง เพื่อดับความแห้งแล้งและเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผืนดินที่ประชาชนตามจังหวัดต่างๆ ประสบกับภัยแล้ง จนไม่สามารถเพาะปลูกพืชพันธุ์ต่างๆ เพื่อหาเลี้ยงชีพได้ จนทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มเพื่อประทังชีวิต เพราะฉะนั้น น้ำจากฝนหลวง นอกจากจะเป็นการดับความแห้งแล้งของผืนดินแล้ว น้ำจากฝนเม็ดนี้ยังดับความทุกข์ยากของประชาชนได้อีกด้วย

หน่วยเล็กๆ อย่าง "เรา" ก็สามารถรักษาน้ำได้

Imageในปัจจุบันนี้ เมื่อเรามองไปทางไหน หรือว่าภาคส่วนใดๆ ไม่ว่าจะภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยี การเกษตร หรือว่าแม้แต่ตัวของเราเอง ต่างก็ใช้ทรัพยากรน้ำกันอย่างฟุ่มเฟือย ขาดการยับยั้งชั่งใจในการใช้น้ำ เพราะต่างคิดว่า น้ำไม่มีวันจะหมดจากโลก แต่ในความจริงแล้วเราควรจะเริ่มตระหนักตั้งแต่วันนี้ว่า ทรัพยากรน้ำที่พวกเราเฝ้าคิดกันว่าไม่มีวันจะหมดไปนั้น กำลังอยู่ในภาวะวิกฤต กำลังขาดแคลน เพราะฉะนั้น เราควรจะเริ่มต้นกันรักษาน้ำที่มีอยู่ให้เราและคนรุ่นต่อไปได้ใช้กัน การรักษาน้ำนั้นทำได้ไม่ยาก  นั่นคือ เราควรคิดอยู่เสมอว่า สภาวการณ์ของน้ำตอนนี้อยู่ในภาวะที่กำลังจะขาดแคลน น้ำจึงถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุด เราต้องใช้อย่างรู้คุณค่าและประหยัดให้มาก รู้จักการหมุนเวียนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์ เช่น น้ำที่เหลือจากการซักล้าง ก็สามารถนำมารดน้ำต้นไม้ได้อีก นอกจากจะเป็นการไม่ทิ้งน้ำให้เปล่าประโยชน์แล้ว ยังเป็นการประหยัดเงินค่าน้ำอีกด้วย

                        สำหรับองค์กร หรือหน่วยงานใหญ่ๆ นั้น ก็ควรที่จะคิดหาทางหาวิธีรักษาน้ำอย่างถูกวิธีและถูกจุด นั่นคือ จะต้องหาทางรักษาจุดกำเนิดของน้ำก่อนเป็นอันดับแรก คือ ให้ความสำคัญกับต้นไม้และป่าเขา เพราะหากต้นน้ำถูกทำลายลง สายธารที่เคยมีก็คงจะหดหายไปด้วย ควรหาทางหยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่า ดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2550 ว่า

                        "... ข้าพเจ้าขอร้องเรื่องการตัดป่า ได้ขอร้องท่านนายกฯ ไปแล้วว่า มีกฎหมายใด มีวิธีใด ที่จะรักษาป่า เพราะว่า ไม้แต่ละต้น ถ้าเป็นพันธุ์ไม้ใหญ่จะเก็บน้ำจืดไว้จำนวนมากมาย และปล่อยออกมาเป็นลำธาร และปล่อยออกมาเป็นแม่น้ำ และอีกอย่างที่ข้าพเจ้าอยากจะขอร้องพวกท่าน เพราะข้าพเจ้าเป็นพระราชินีมาตั้งแต่อายุ 17 กว่าๆ ก่อน 18 ไม่กี่เดือน จนถึง 75 ยังขอร้องอะไรไม่เคยสำเร็จสักอย่าง ไม่มีผลอะไรเลย เรื่องต้นไม้เนี่ย เต้นอยู่ตลอด ก็ไม่มีผลสำเร็จ แอบตัดทางการก็ไม่มีกฎหมายอะไร หรือมาตรการที่จะดูแลรักษาป่าเพื่อเก็บน้ำจืดไว้..."

Imageจากพระราชดำรัสดังกล่าว เห็นได้อย่างชัดเจนว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงให้ความเป็นห่วงและตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ไม่ว่าจะมีพระราชดำรัสอย่างไร ก็เหมือนว่าผลที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นเช่นเดิม เพราะเรายังไม่เห็นถึงความสำคัญของน้ำและคิดแต่เพียงว่าทรัพยากรน้ำไม่มีวันจะเหือดแห้งจากประเทศไทย ต่างคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ของตน คาดหวังให้องค์กร หรือหน่วยงานเป็นผู้จัดการ แต่ความจริงแล้ว หน่วยเล็กๆ อย่างเรา หรือหน่วยงานใหญ่ๆ ก็สามารถช่วยกันรักษาน้ำได้เช่นกัน

แต่สิ่งที่เรากำลังประสบอยู่ ณ วันนี้ ได้ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาที่ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นห่วงนั้น เริ่มเกิดขึ้นให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นเราควรที่จะเริ่มร่วมมือร่วมใจกันรู้รักษ์น้ำกันตั้งแต่วันนี้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเคยเปรียบว่า น้ำ คือ ชีวิต แล้วชีวิตของเราจะเป็นเช่นไร หากในอนาคตที่ใกล้จะถึงนี้ เราไม่มีน้ำเพื่อบริโภคและอุปโภค เพราะฉะนั้น นับตั้งแต่วันนี้ เราทุกคนควรร่วมมือร่วมใจช่วยกันรักษาน้ำ ไม่ใช่เพื่อใครที่ไหน แต่เพื่อโลกที่เราอาศัยอยู่ เพื่อตัวเราและลูกหลานของเรา นั่นเอง


     Image

 

 

พระราชดำริปาล์มน้ำมัน สู่ไบโอดีเซล 28 / 29 ไบโอดีเซล
  • E-mail
  • ระบบงานภายใน
  • โครงสร้างเว็บไซต์
  • English
  • ติดต่อมูลนิธิ
  • สมัครงาน
  • แบบฟอร์มขอรับทุนพระราชทาน

ลิขสิทธิ์ © 2016-2017 มูลนิธิชัยพัฒนา (The Chaipattana Foundation) สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • ความเป็นมา
    • วัตถุประสงค์
    • แนวทางการดำเนินงาน
    • กิจกรรมหลักของมูลนิธิ
      • ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
      • ด้านการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      • ด้านการพัฒนาการเกษตร
      • ด้านการพัฒนาสังคม
      • ด้านพลังงาน
      • ด้านอื่น ๆ
    • ตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิ
    • คณะกรรมการมูลนิธิ
  • โครงการพระราชดำริ
    • ภาคเหนือตอนบน
    • ภาคเหนือตอนล่าง
    • ภาคกลางตะวันออก
    • ภาคกลางตะวันตก
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
    • ภาคใต้
    • โครงการกิจกรรมพิเศษ
      • โครงการปลูกผักปลอดภัยภายใต้มาตรฐาน GAP
      • โครงการบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง
      • โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์พระราชทานเพื่อนช่วยเพื่อน
  • เผยแพร่
    • วารสาร
      • วารสารมูลนิธิชัยพัฒนา
      • วารสารป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด
      • วารสารโคกปรงพัฒนา
      • วารสารสวนป่าพฤกษพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา
      • หนังสืออื่นๆ ของมูลนิธิชัยพัฒนา
    • เอกสารเผยแพร่
      • เกร็ดความรู้
      • เศรษฐกิจพอเพียง
      • กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2
      • เครื่องกลเติมอากาศ RX-5C
      • แนะนำมูลนิธิ
      • สึนามิ
      • โครงการเยาวชนไทยร่วมใจชัยพัฒนา
      • ผลงานภาพวาดบ้านนี้มีรัก
    • มัลติมีเดีย
      • เรื่องเล่าถึงพ่อ...ผ่านบทสัมภาษณ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
      • วีดีโอแนะนำโครงการต่าง ๆ
      • นิทานจันกะผัก
    • โปสเตอร์
      • โปสเตอร์เศรษฐกิจพอเพียง
      • โปสเตอร์กังหันน้ำชัยพัฒนา
      • โปสเตอร์แนะนำมูลนิธิชัยพัฒนา
    • แบบพระอุโบสถวัดพระราม ๙
      • รายชื่อวัดที่ขอใช้แบบพระอุโบสถ วัดพระราม ๙ฯ
  • ข่าว
    • ข่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    • ข่าวผู้บริหารมูลนิธิชัยพัฒนา
    • ข่าวสารทั่วไป
    • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
    • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
      • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
      • ภาคเหนือตอนบน
      • ภาคเหนือตอนล่าง
      • ภาคกลางตอนบน
      • ภาคกลางตอนล่าง
      • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      • ภาคตะวันออก
      • ภาคใต้
      • โครงการพิเศษ
    • ระบบติดตามตรวจสอบย้อนกลับ Chaipattana Traceability QR Code
  • แนวคิดและทฤษฏี
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องน้ำ
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องดิน
    • น้ำดีไล่น้ำเสีย
    • ฝนหลวง
    • เครื่องดักหมอก
    • การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน
    • ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
    • ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้
    • เส้นทางเกลือ
    • การบำบัดน้ำเสียด้วยพืชน้ำกับระบบการเติมอากาศ
    • การพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกร
    • ทฤษฎีใหม่
  • กังหันน้ำชัยพัฒนา
    • กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2
      • เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย
      • พระราชดำริ
      • การศึกษา วิจัย และพัฒนา
      • คุณสมบัติ
      • หลักการทำงาน
      • สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย
    • การขอความอนุเคราะห์การติดตั้ง
      • หลักเกณฑ์
      • วิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติ
      • การซ่อมบำรุงดูแลรักษาเครื่อง
      • การติดตามผลการดำเนินงานโครงการ
    • ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
      • ความสำคัญของทรัพยากรน้ำ
      • การเลือกพืชบำบัดน้ำเสียและการดูแลรางพืช
      • หลักการทั่วไปของระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
      • พืชที่ไม่สามารถนำมาใช้ในงานปรับปรุงคุณภาพน้ำ
      • การดูแลระบบรางพืชกรองน้ำ (plantbed filter)
      • สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย
    • การติดตั้งและบำรุงรักษา
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศ
      • การบำรุงรักษากังหันน้ำชัยพัฒนา
      • การบำรุงรักษาเครื่องกลเติมอากาศ RX-5C
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศกรุงบรัสเซลล์
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศวัดพุทธคยา
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศวัดพุทธประทีป
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศ ปตท. สาขาหนองแต่ง สปป.ลาว
  • บริจาค
  • 30ปีมูลนิธิชัยพัฒนา
    • 30 เรื่องพิเศษ
    • 8 ผลงานนักวาดภาพประกอบ
      • ภัทรพัฒน์
      • จากธรรมชาติ สู่ธรรมชาติ
      • “Harmony of Living” เปลี่ยนสุขภาพของโลกให้ดีขึ้น กับ Bloody Hell Big Head
      • “MIRRORS" ภาพสะท้อนของการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัย
      • “สายใย ชัยพัฒนา” คุณค่าของชีวิตสู่งานศิลปะสไตล์ THE DUANG
      • “Together” ความอบอุ่นของการได้อยู่ร่วมกัน
      • “Land of Luck” ดินแดนแห่งความโชคดี ภายใต้โครงการด้านการเกษตร ในมุมมองของ SIRI
      • “GIVE” เพราะการให้เงิน ไม่เท่าการให้ความรู้ ถอดบทเรียนจากโครงการด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • แรงบันดาลใจแห่งชัยชนะ
    • ภาพยนตร์สารคดี
    • เกี่ยวกับมูลนิธิชัยพัฒนา
      • ความเป็นมาของมูลนิธิ
      • ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
      • ด้านการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      • ด้านการพัฒนาการเกษตร
      • ด้านพลังงาน
      • ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
      • ด้านการเพิ่มศักยภาพทางการตลาดให้ชุมชน (ร้านภัทรพัฒน์)
      • หลักสูตรผู้นำการพัฒนาอย่างยั่งยืน
      • โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ
      • ด้านการพัฒนาสังคม
    • กิจกรรมในงาน
    • จากนภาผ่านภูผาสู่มหานที