- หน้าแรก
- สาระน่ารู้ในโครงการพระราชดำริ
- เปิดประตูสู่โครงการพระราดำริ
- โครงการศึกษาทดลองการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
โครงการศึกษาทดลองการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
เปิดประตูสู่โครงการตามรอยทางพระราชดำริ
ปิยะฉัตร ภมรสูต
...ดิน ที่เปรี้ยว ก็คือที่อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นจังหวัดที่ชื่อนครนายก ไม่ใช่ นากรัฐมนตรีเป็นนายก คือว่านาเขายกภาษี เพราะว่าทุกปีผลผลิตจะไม่ได้ตั้งแต่สมัยเก่า แต่ถ้าหากว่าทำดินให้หายเปรี้ยว หรือหาวิธีที่จะทำกสิกรรมในที่ดินเปรี้ยวอย่างดี อย่างไรผลก็จะเป็นจังหวัดอาจเปลี่ยนชื่อจังหวัดเป็นนาสมบูรณ์ ที่นครนายกมีที่เป็นแสนไร่ ก็นายก ทั้งนั้น ถ้าสามารถที่จะทำการทดลองและเป็นตัวอย่าง เข้าใจว่าอาจทำให้คนมีรายได้เพิ่มขึ้น เพราะว่าทางภาคใต้ได้ทำที่จังหวัดนราธิวาส เป็นพรุได้ชื่อว่าเปรี้ยวแท้ ๆ ได้ทำโครงการ สามารถที่จะปลูกข้าวและทำกสิกรรมในที่พรุแท้ ๆ โดยใช้วิธีขุดสระและกรุด้วยหินปูนและใส่หินฝุ่นเข้าไปเพื่อให้น้ำไม่เปรี้ยว แล้วส่งไปตามคลองตามท่อก็ได้ผล จนกระทั่งเห็นว่าชาวบ้านที่ตรงนั้น หมู่บ้านแถวนั้นเคยจนไม่มีกิน บัดนี้เริ่มยิ้มแย้มแจ่มใสเพราะทำกสิกรรมได้ผล...
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในคู่มือการดำเนินชีวิตสำหรับประชาชน ปี 2541และทฤษฎีใหม่ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2541
จาก แนวพระราชดำริข้างต้น ได้ก่อให้เกิดโครงการศึกษาทดลองการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวอันเนื่องมาจากพระ ราชดำริ ขึ้น ณ บ้านหนองจันคาม หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านพริก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ซึ่งใช้ที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนา จำนวนกว่า 120 ไร่ ดำเนินการพัฒนาโครงการดังกล่าวโดยยึดแนวพระราชดำริที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานไว้เป็นแนวทางดำเนินงาน ทั้งนี้เพื่อให้ผลการศึกษาทดลองการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวที่ได้ สามารถเป็นแม่แบบในการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว ในจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป
โครงการ ดังกล่าวได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2541 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความสนพระทัยในการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวเป็นอย่างยิ่งดังจะเห็นได้จาก การที่พระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริ แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นระยะ ๆ เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาโครงการ
โครงการศึกษาทดลองการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แบ่งรูปแบบการศึกษาทดลองออกเป็น 3 แปลง คือ
แปลงที่ 1
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้การดำเนินการศึกษาทดลองการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว จัด โดยให้ขุดสระ 2 สระ และเก็บกักน้ำฝนเพื่อชะล้างความเป็นกรดของดินจากนั้นให้ถ่ายน้ำที่เป็นกรด หรือน้ำเปรี้ยวจากสระหนึ่งไปยังอีกสระหนึ่ง ควบคู่ไปกับการตรวจสอบคุณภาพของดินและน้ำในสระอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับทดลองปลูกพืชว่าขึ้นได้หรือไม่ โดยหลังการทดลองดังกล่าวพบว่าคุณภาพน้ำยังเป็นกรดอยู่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพน้ำโดยให้ใส่ ปูนมาร์ลเพื่อปรับค่า pH ของ น้ำในสระที่ 2 จากนั้นจึงใส่ปุ๋ยยูเรียเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของสาหร่าย โดยพื้นที่รอบสระให้ทดลองปลูกพืชโดยไม่ใช้สารเคมี เช่น มะละกอ ขนุน มะม่วง ชะอม และแฝก เป็นต้น
แปลงที่ 2
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้นำวิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวแบบบ้านยูโยมาใช้ใน พื้นที่ โดยให้นำน้ำจากชลประทานมาใช้รวมถึงใส่ปูนเพื่อปรับปรุงดินและน้ำ โดยให้จัดทำในรูปแบบทฤษฎีใหม่ ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมให้ทดลองปลูกต้นเสม็ดขาวและพันธุ์ไม้ป่าพรุ โดยให้จำลองตามแบบของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยเน้นพืชที่เน้นนำมารับประทานได้เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้ ให้แก่ราษฎรอีกทางหนึ่ง
แปลงที่ 3
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติม ให้แก่มูลนิธิชัยพัฒนาจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมจำนวน 40 ไร่เศษ เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์ฝึกอบรมอาชีพให้แก่ราษฎร และใช้พื้นที่ที่เหลือบางส่วนทำการศึกษาทดลองและวิจัยการใช้เถ้าลอยลิกไนท์ ในการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว เพื่อนำผลวิจัยที่ได้มาปรับปรุงคุณภาพดินภายในจังหวัดนครนายกให้สามารถทำการ เพาะปลูกได้ต่อไป
บุคคล ที่สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมโครงการศึกษาทดลองการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ ในที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนา จังหวัดนครนายก ได้ทุกวัน ซึ่งสามารถติดต่อโดยตรงได้ที่สำนักงานโครงการฯ เบอร์โทรศัพท์ 037-300-146 ในวันเวลาราชการ