- หน้าแรก
- เอกสารเผยแพร่
- เกร็ดความรู้
- จาก รัชดาภิเษก ถึง พัชราภิเษก
จาก รัชดาภิเษก ถึง พัชราภิเษก
โดย รองศาสตราจารย์ ประวิตร ชูศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
เมื่อปี 2538 ผู้เขียนได้เคยเขียนบทความเรื่อง กาญจนาภิเษก ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ สยามรัฐ รายวัน ฉบับประจำวันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2538 (หน้า 8) และในบทความตอนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ตามประเพณีที่มีมาแต่โบราณนั้น เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงครองราชย์ยาวนานครบ 25 ปี ก็จะมีการเฉลิมฉลอง หรือพิธีขึ้นเสวยราชย์ของพระจ้าแผ่นดินที่เรียกว่า รัชดาภิเษก (Silver Jubilee) คำว่า รัชด หรือรัชต มีความหมายว่า เงิน (สนธิกับคำว่า อภิเษก) ซึ่งในรัชกาลปัจจุบันก็ได้เกิดขึ้นไปแล้ว เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2514 และรัฐบาลในสมัยนั้นก็ได้ตั้งชื่อ สิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ที่ทุกคนคุ้นเคยชื่อกันดีอย่างหนึ่ง ก็คือ ถนนรัชดาภิเษก ในกรุงเทพมหานคร และเมื่อครองราชย์ครบ 50 ปี ก็จะมีการเฉลิม ฉลองหรือพิธีการสำคัญที่เรียกว่า กาญจนาภิเษก(Golden Jubilee) กาญจน แปลว่า ทอง ซึ่งก็ได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทยไปแล้วเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2539 โดยก่อนที่จะมีพิธีการ กาญจนาภิเษก ก็ได้มีการเฉลิมฉลองการครองราชย์ ที่เรียกว่า รัชมังคลาภิเษก ในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ได้ดำรงสิริราชสมบัติมายาว นานยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในอดีต เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2531 ซึ่งในประวัติ ศาสตร์ของชาติไทยก่อนนี้ พระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็คือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ครองราชย์นาน 40 ปี ( พ.ศ. 1991-2031) และในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็คือ รัชกาลที่ 5 พระปิยมหาราช ครองราชย์นาน 42 ปี (พ.ศ. 2411-2453) ดังนั้นในวันที่ 2 กรกฎาคม 2531 จึงเป็นวาระที่รัชกาลปัจจุบันทรงดำรงสิริราชสมบัติมานานเกิน 42 ปี และมีการเฉลิมฉลอง รัชมังคลาภิเษก ขึ้น ในบทความครั้งนั้น ผู้เขียนยังได้เขียนไว้ว่า ถ้าพระมหากษัตริย์ ครองราชสมบัติยาวนานครบถึง 60 ปี ก็จะมีพิธีการเฉลิมฉลองที่สำคัญยิ่งของชาติ ที่เรียกว่า Diamond Jubilee ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่งในโลกนี้ ที่ประเทศอังกฤษ ในรัชสมัยของ สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย(Victoria Alexandrina) ที่ทรงครองราชย์อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2380-2444 จนถึงในขณะนี้ ผู้เขียนยังไม่แน่ใจหรือได้ยินว่า ทางราชการหรือผู้เชี่ยวชาญทางภาษา
Diamond Jubilee นี้ตรงกับภาษาไทยว่าอะไรเพราะเมื่อตรวจสอบจากพจนานุกรม
2546 แล้ว ก็ยังไม่ปรากฏคำนี้ ผู้เขียนได้บอกในบทความที่เขียนเมื่อสิบปีมาแล้วนั้นไว้ว่า ภาษาไทยน่าจะใช้คำว่า พัชราภิเษก (Diamond Jubilee) คำว่า พัชร แปลว่า เพชร (ยังมีคำอื่น ๆ อีก ที่แปลว่า เพชร)โดยขอให้ผู้อ่านได้รอดูกันในอีกสิบปีข้างหน้า
จากรัชดาภิเษก ถึง พัชราภิเษก นั้น มิได้บังอาจจะเสนอ
9 มิถุนายน 2549 ซึ่งยังเหลือเวลาอีกไม่ถึงเจ็ดเดือนนี้แล้ว ในประวัติศาสตร์ของชาติไทยที่ผ่านพ้นมา ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ยุคปัจจุบัน(พ.ศ. 1800-2548) หรือประมาณเกือบ 800 ปีนั้น ยังไม่เคยปรากฏว่า ได้มีบรรพบุรุษคนไทยเราในยุค สมัยใด จะโชคดีเท่าคนไทยในสมัยรัชกาลปัจจุบัน ที่จะได้มีโอกาสเฉลิมฉลองการครองราชย์นานครบ 60 ปีในอีกไม่นานนี้แล้ว จึงถือเป็นสิริมงคลของชีวิตพวกเราอย่างยิ่ง จากพระราชกรณียกิจในแต่ละวันที่ปรากฏทางสื่อสารมวลชน จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ล้วนเป็นไปเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และเพื่อการพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญแบบยั่งยืนทั้งสิ้น กล่าวได้ว่า ความมั่นคงของชาติบ้านเมืองไทยในปัจจุบันนี้ มาจากการที่คนไทยเรามีพระมหากษัตริย์ที่ประเสริฐ และทรงทศพิธราชธรรม อันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป และไม่เฉพาะแต่คนไทยเราเท่านั้น
60 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน 2549 นี้ เราคนไทยทุกคนที่อยู่ใต้ร่มโพธิสมภาร ก็ควรจะได้คิด แล้วทำแต่สิ่งที่ดีงาม และเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมในภาคปฏิบัติจริง ๆ ให้มากขึ้น ยิ่งกว่า การกล่าวคำถวายสัตยปฏิญาณเพียงอย่างเดียว เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระองค์ท่านบ้าง ไม่ว่าจะเป็นคนในหน่วยงานราชการหรือเอกชนระดับใด องค์กรอิสระ ชมรม สมาคม และทุกเชื้อชาติ- ศาสนา ที่ได้อาศัยแผ่นดินไทยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยดำรงชีพ ควรจะต้องสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณไว้เหนือเกล้าฯ ด้วยการร่วมมือร่วมใจกันทำกิจกรรมสาธารณ ประโยชน์ต่าง ๆ และร่วมใจร่วมมือกันทำให้บ้านเมืองของเราสงบสุข หัวหน้าหน่วยงานใดทุกระดับที่ยังมิได้คิดว่าจะทำอะไร พึงต้องรีบไป คิดค้น วางแผน และนำ เพื่อนผู้ร่วมงาน และ/หรือประชาชน ร่วมกันลงมือปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมขึ้นมาด้วย ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นข้าราชการ ใคร่ขอเสนอว่า หน่วยงานทางราชการใด ที่ยังไม่ได้คิดกิจกรรมอะไรไว้ นอกเหนือไปจากการคิดโครงการเพื่อให้ได้งบประมาณมาสร้างตึก สร้างอาคาร ก็ขออนุญาตเสนอให้ทำในเรื่องที่จะเป็นการช่วยยก คุณภาพ ของงาน ที่เป็นภารกิจของหน่วย
23 พฤศจิกายน2548