- หน้าแรก
- ข่าว
- ข่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา ครั้งที่ 1/2559
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา ครั้งที่ 1/2559
วันที่ 27 ธันวาคม 2559 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน การประชุมคณะกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา ครั้งที่ 1/2559 ณ ห้องประชุม สานักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานเหรียญที่ระลึก แก่ผู้ให้การสนับสนุน การดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนา จานวนทั้งสิ้น 23 ราย โดยในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา ครั้งที่ 1/2559 สรุปสาระการประชุมได้ดังนี้ ในปี พ.ศ. 2559 มูลนิธิชัยพัฒนา ได้รับบริจาคที่ดินจากผู้มีจิตศรัทธาน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินจานวน 11 แปลง โดยเป็นที่ดินที่มีผู้น้อมเกล้าฯ ถวาย ในพื้นที่ภาคเหนือ 9 แปลง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แปลง และภาคใต้ 1 แปลง รวมเนื้อที่ทั้งหมด 249 ไร่ 3 งาน 17.4 ตารางวา สรุปกรรมสิทธิ์ที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนา ทั่วประเทศ มีจำนวนทั้งสิ้น 525 แปลง เนื้อที่รวมประมาณ 9,925 ไร่สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้นำที่ดินดังกล่าวไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์ตามแนวพระราชดาริ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช องค์ประธานผู้ทรงก่อตั้งมูลนิธิชัยพัฒนา และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านต่างๆ อย่างครอบคลุม และเน้นการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ชุมชน องค์กรการศึกษา และประชาชน เพื่อให้สามารถขยายขอบเขตการดำเนินงาน และเป็นฐานในการขยายผลการพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม และความต้องการของท้องถิ่น ถึงขณะนี้มูลนิธิชัยพัฒนา มีโครงการพัฒนารวมทั้งสิ้น 135 โครงการทั่วประเทศ จากการดาเนินงานโครงการของมูลนิธิชัยพัฒนา ก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนในหลายมิติ อาทิด้านการเรียนรู้ ได้เปิดโอกาสให้เกษตรกร หน่วยงานราชการ องค์กรท้องถิ่น องค์กรเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชนผู้สนใจทั่วไป เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงานการพัฒนาด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยปี ที่ผ่านมา ประชาชนได้ให้ความสนใจศึกษาดูงานโครงการพระราชดาริต่างๆ ในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มากยิ่งขึ้น เป็นการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์โครงการของมูลนิธิชัยพัฒนา รวมทั้งเพิ่มโอกาสในการเชื่อมโยงกิจกรรมการท่องเที่ยว เรียนรู้ และศึกษาดูงานไปสู่โครงการพระราชดาริอื่นๆ และสามารถขยายผลไปสู่ศูนย์เรียนรู้ของชุมชน และกลุ่มอาชีพในท้องถิ่น อันจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน ได้อย่างยั่งยืน โดยในปี 2559 มีจำนวนผู้เข้าศึกษาดูงานโครงการของมูลนิธิชัยพัฒนารวมทั้งสิ้น ประมาณ 88,000 คน โครงการที่มีผู้เข้าเยี่ยมชมเป็นจานวนมาก อาทิ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดาริ โครงการศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ โครงการศูนย์บริการวิชาการเกษตรของมูลนิธิชัยพัฒนา โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ โครงการศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ และโครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ามันและพืชน้ามันอื่นๆ ฯลฯ
นอกจากนี้ ได้จัดฝึกอบรมด้านการเกษตร และการแปรรูป การให้ความรู้ด้านการตลาด และการบริหารจัดการในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่มีการฝึกอบรมภายในโครงการ และการประสานผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้เพื่อขยายผลการพัฒนาไปสู่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ต่างๆ อย่างเป็นระบบ ครบวงจรที่กลุ่มเกษตรกรสามารถต่อยอดการพัฒนา และดูแลตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งในปี 2559 นี้ มีการจัดฝึกอบรมรวมทั้งสิ้นประมาณ 200 คณะ และมีผู้เข้าอบรมประมาณ 18,000 คน ด้านการสนับสนุนปัจจัยการผลิต โครงการศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ เป็นแกนหลักในการผลิต และจัดหาพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ เพื่อพระราชทาน พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตพืช และสัตว์สาหรับใช้ในชุมชน หรือจำหน่ายตามความเหมาะสม นอกจากนี้ มูลนิธิชัยพัฒนายังส่งเสริมการพัฒนาปัจจัยการผลิตด้านการเกษตร เช่น ปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น ด้านการบริการชุมชน โครงการของมูลนิธิชัยพัฒนาในภูมิภาคต่างๆ จะมีบทบาทในการเป็นศูนย์กลางการให้บริการชุมชน เช่น การส่งเสริมการศึกษาในท้องถิ่น การบริการสีข้าว การจัดตลาดจาหน่ายผลผลิตด้านการเกษตรให้แก่ชุมชน และการสนับสนุนสถานที่ในการจัดกิจกรรมของชุมชนในโอกาสต่างๆ เช่น การจัดงานประจาปีของชุมชน เป็นต้น
ทั้งนี้การบริหารงานโครงการมูลนิธิชัยพัฒนาได้นาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการของมูลนิธิชัยพัฒนา CMIS (Chaipattana Management Information System – CMIS) มาใช้ในการบริหารจัดการโครงการ โดยระบบดังกล่าวเป็นระบบการบริหารจัดการข้อมูลที่สรุปและวิเคราะห์ภาพรวมการดำเนินงาน ด้านต่างๆ ของมูลนิธิชัยพัฒนาสาหรับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเป็นเครื่องมือในการวางแผน และติดตาม การดำเนินงานให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบ CMIS เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลจากระบบต่างๆ ได้แก่ ระบบสารสนเทศด้านบัญชีและการเงิน ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการข้อมูล และระบบฐานข้อมูลบุคลากร มาประมวล วิเคราะห์ เพื่อนำเสนอผู้บริหารในรูปแบบที่ง่ายแก่การพิจารณา สะท้อนจุดที่เป็นปัญหา ให้สามารถกำหนดแนวทางการดำเนินงาน และการปรับปรุงที่เหมาะสมด้านการติดตามผลการดาเนินงานของระบบ CMIS จะได้ดำเนินงานในมิติต่างๆ ได้แก่ มิติด้านพื้นที่ มิติด้านประเภทของโครงการ และมิติด้านวัตถุประสงค์หลักของโครงการ โดยในปี 2560 จะใช้ระบบ CMIS ในการติดตาม และวิเคราะห์ผลที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการโดยตรง โดยจะเปรียบเทียบข้อมูลผลการดาเนินงานกับเป้าหมายตามแผนงานของโครงการนั้นๆ และจะแสดงสัญลักษณ์ตามสัดส่วนความก้าวหน้า เพื่อให้ผู้บริหารทราบความก้าวหน้าของโครงการในแต่ละด้าน และสามารถกำหนดแนวทางการดาเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้มูลนิธิชัยพัฒนา ได้เผยแพร่ข้อมูล ความรู้ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริ และแนวคิดทฤษฎีใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในพระราชกรณียกิจและเผยแพร่พระเกียรติคุณ ผ่านการดาเนินงานของมูลนิธิ ชัยพัฒนา ด้วยการจัดแสดงนิทรรศการ การนาคณะบุคคลหรือหน่วยงานเข้าศึกษาดูงานโครงการพระราชดาริ รวมถึงการเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อให้การทำงานมีความรวดเร็ว สอดคล้อง สามารถเชื่อมโยงการทางานระหว่างสานักงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้อย่างราบรื่น รวมถึงได้ดาเนินการร่วมกับสานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ในการพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศของการบริหารงานโครงการและการบริหารทรัพย์สินในเรื่องที่ดิน เพื่อสนับสนุนงานของมูลนิธิชัยพัฒนาให้เกิดความคล่องตัวและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น