- หน้าแรก
- ข่าว
- ข่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังโครงการอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม เพื่อทอดพระเนตรงานชัยพัฒนาแฟร์ และพระราชทานวุฒิบัตรแก่ผู้สาเร็จหลักสูตร “ผู้นำการพัฒนาอย่างยั่งยืน รุ่นที่ 1” ของมูลนิธิชัยพัฒนา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังโครงการอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม เพื่อทอดพระเนตรงานชัยพัฒนาแฟร์ และพระราชทานวุฒิบัตรแก่ผู้สาเร็จหลักสูตร “ผู้นำการพัฒนาอย่ ...
วันที่ 30 ธันวาคม 2559 เวลาประมาณ 15.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เพื่อทอดพระเนตรงานชัยพัฒนาแฟร์และพระราชทานวุฒิบัตรแก่ผู้สำเร็จหลักสูตรผู้นำการพัฒนาอย่างยั่งยืน รุ่นที่ 1 ของมูลนิธิชัยพัฒนา งานชัยพัฒนาแฟร์ จัดขึ้นเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่มีต่อพสกนิกร ผ่านการดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิในพระองค์ ที่ทรงก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือราษฎรมายาวนานกว่า 35 ปี โดยภายในงานประกอบด้วยนิทรรศการพระราชกรณียกิจนานัปการทั่วประเทศ การเสวนาเรื่องการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ การจัดแสดงและจัดจำหน่ายผลผลิตแห่งการพัฒนาจากโครงการตามแนวพระราชดาริ ได้แก่ ผลผลิตด้านการเกษตร การแปรรูป งานหัตถกรรม เป็นต้น โดยภายในงานได้แบ่งออกเป็น 6 โซน ประกอบด้วย โซนที่ 1 จะเป็นอาคารนิทรรศการและร้านภัทรพัฒน์ โซนที่ 2 เป็นร้านจันกะผัก ร้านที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริจัดตั้งขึ้น ในส่วนของโซนที่ 3 –6 เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่มูลนิธิชัยพัฒนาในเขตภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออกรวมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ตามลำดับ โดยโครงการพัฒนาพื้นที่แต่ละภาคได้นำกิจกรรมที่โดดเด่นและน่าสนใจมาจัดแสดง สาธิต และจัดจาหน่าย อาทิ สาธิตการทำไอศกรีมกระจับ สาธิตการทำสบู่จากกลีเซอรีน ผลพลอยได้จากการผลิตไบโอดีเซล สาธิตการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน (ไฮโดรโปนิกส์) รวมถึงการจำหน่ายผลผลิตจากการพัฒนาผ่านโครงการต่างๆ อาทิ น้ำมันเมล็ดชา ไข่แฮปปี้ ไข่อินทรีย์จากแม่ไก่ที่มีความสุข ปลานิลจิตรลดาแดดเดียว รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปทั้งของกินของใช้จากพืชผักและสมุนไพรในโครงการ เป็นต้น
จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังห้องประชุม อาคารปฐมสัมมาคาร ในการนี้ นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรายงานสรุปผลการฝึกอบรมหลักสูตรผู้นาการพัฒนาอย่างยั่งยืน จากนั้น นายฐาปน สิริวัฒน-ภักดี ประธานผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้นำการพัฒนาอย่างยั่งยืน รุ่นที่ 1 กราบบังคมทูลรายงานการจัดทำโครงการฯ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย โดยความร่วมมือของคณะผู้เข้าอบรมทั้งหมด ในการพัฒนาพื้นที่ของมูลนิธิชัยพัฒนาซึ่งมีผู้น้อมเกล้าฯ ถวายบริเวณจังหวัดนนทบุรี ภายใต้ชื่อโครงการว่า “ฟ้าจรดน้ำ” เพื่อพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวพระราชดาริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยได้น้อมนำพระอัจฉริยภาพทั้ง 9 ด้าน คือ น้ำ ดิน ฝน ป่าไม้ การช่าง การเกษตร พลังงาน ดนตรี และกีฬา หลอมรวมเป็นแนวทางในการพัฒนา ในการนี้ ประธานผู้เข้าอบรมหลักสูตรฯ ได้นำกล่าวปฏิญาณตน เพื่อดำเนินงานสนองพระราชดำริและสืบสานงานพัฒนาที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งต่อชุมชนและประเทศต่อไป
ลำดับต่อมา เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กราบบังคมทูลเบิกผู้สำเร็จหลักสูตรฯ เข้ารับพระราชทานวุฒิบัตร จานวน 36 ราย และได้เบิกผู้ให้การสนับสนุนการฝึกอบรมฯ เข้ารับพระราชทานของที่ระลึก จำนวนทั้งสิ้น 18 รายจากนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราโชวาทแก่ผู้สำเร็จหลักสูตรฯ คณะเจ้าหน้าที่ และผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดทำหลักสูตรผู้นำการพัฒนาอย่างยั่งยืน รุ่นที่ 1 หลักสูตรผู้นำการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นการสนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งได้พระราชทานพระราชกระแสให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา พิจารณาจัดทำโครงการอบรมหลักสูตรผู้นำของมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อสร้างเครือข่ายผู้นำในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผู้นำด้านต่างๆ ให้เพียบพร้อมทั้งคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน และนำมาซึ่งเครือข่ายแห่งการทำความดี โดยได้น้อมนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นกรอบในการจัดทำหลักสูตร
เมื่อจบหลักสูตร ผู้ผ่านการอบรมจะมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและจิตสำนึกของการเป็นผู้นำที่เป็นคนดี มีความเสียสละ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่เกิดความสมดุล โดยสามารถนำหลักการพัฒนาตามแนวพระราชดาริ เป็นแนวทางปฏิบัติและสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมตามสภาพภูมิสังคม เพื่อให้เกิดผลสำเร็จและเกิดประโยชน์สุขแก่สังคมส่วนรวมอย่างยั่งยืนต่อไป