หลักเกณฑ์ วิธีการและขั้นตอนในการขอความอนุเคราะห์การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศ
แนวทางการดำเนินงาน
การดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ซึ่งมูลนิธิชัยพัฒนาได้ดำเนินการร่วมกับกรมชลประทานนั้น เป็นการปฏิบัติงานโดยการปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยเครื่องกังหันน้ำชัยพัฒนา ซึ่งได้กำหนดแนวทาง การดำเนินงานไว้ ดังนี้
1.หลักเกณฑ์
1.1 การบำบัดน้ำเสียของมูลนิธิชัยพัฒนามุ่งเน้นในการบำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำ สาธารณะ สถานสงเคราะห์ และวัดต่างๆ ที่ มีผลกระทบต่อสุขภาพของชุมชนเมือง และชนบทเป็นหลัก โดยแหล่งน้ำเสียนั้น จะไม่ไปกระทำซ้ำซ้อนกับระบบบำบัดน้ำเสียของรัฐ ซึ่งมีแผนงานและนโยบายที่แน่ชัดอยู่แล้ว
1.2 ในกรณีที่ภาครัฐมีระบบบำบัดน้ำเสียอยู่แล้วมีความประสงค์ที่จะใช้เครื่องกล เติมอากาศของมูลนิธิชัยพัฒนาไปเสริมเพิ่มเติมในกระบวนการเดิมนั้น ย่อมเป็นการไม่บังควรเพราะการมีระบบบำบัดน้ำเสียที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับของสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม และกรมควบคุมมลพิษ ที่จะต้องปรับ 1.2 คุณภาพน้ำให้ได้ต่ำกว่ามาตรฐาน คือ ค่า BOD จะต้องน้อยว่า 20 มิลลิกรัมต่อลิตร ทั้งนี้ ถ้ามูลนิธิชัยพัฒนานำเครื่องเติมอากาศเข้าไปเสริมในระบบใหญ่ เมื่อผลการปรับคุณภาพน้ำดีกว่าเดิมย่อมจะเป็นผลดี แต่ถ้าคุณภาพน้ำยังไม่ดีกว่าเดิมย่อมจะเป็นข้ออ้าง และเป็นผลเสียต่อมูลนิธิชัยพัฒนา
1.3 ในกรณีที่ภาครัฐมีระบบบำบัดน้ำเสียอยู่แล้ว แต่มีบ่อหรือสระเก็บน้ำที่ใช้รับน้ำที่ผ่านมาการบำบัดเบื้องต้นแยกไว้ต่างหากจากระบบหลัก และต้องการขอให้มูลนิธิชัยพัฒนาใช้เครื่องกลเติมอากาศเพื่อปรับคุณภาพน้ำใน สระเก็บน้ำเพื่อรักษาคุณภาพน้ำก็ย่อมกระทำได้ แต่ต้องพิจารณาความเหมาะสมแล้วแต่กรณี
1.4 แหล่งน้ำสาธารณะบางแห่งที่อยู่ในความรับผิดชอบของภาครัฐ (เทศบาลสุขาภิบาล ฯลฯ) และหน่วยงานขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิชัยพัฒนาเพื่อวางโครงการย่อมกระทำได้ แต่ต้องใช้งบประมาณของภาครัฐนั้น ๆ เว้นแต่จะมีพระราชดำริไว้
1.5 สำหรับภาคเอกชนบางรายที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่สาธารณะหรือแก่มูลนิธิชัยพัฒนา มีความต้องการช่วยเหลือด้านพิจารณาโครงการบำบัดน้ำเสีย มูลนิธิชัยพัฒนาจะพิจารณาสนับสนุนตามความเหมาะสม
1.6 แหล่งน้ำที่สามารถติดตั้งกังหันน้ำชัยพัฒนา ได้จะต้องมีความลึกไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร และมีความกว้างไม่น้อยกว่า3.00 เมตร