- หน้าแรก
- ข่าว
- ข่าวผู้บริหารมูลนิธิชัยพัฒนา
- เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมสัมมนาและปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ลุ่มน้ำพะยัง ภูมิพัฒน์ ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท พระมหากษัตริย์ผู้ทรงงานหนักที่สุดในโลก
เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมสัมมนาและปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ลุ่มน้ำพะยัง ภูมิพัฒน์ ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท พระมหากษัตริย์ผู้ทรงงานหนักที่สุดในโลก
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2558
เวลาประมาณ 9.00 น. ดร.สุเมธ ตันติเวชกุลกรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมสัมมนาและปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ลุ่มน้ำพะยัง ภูมิพัฒน์ ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท พระมหากษัตริย์ผู้ทรงงานหนักที่สุดในโลก จากถนนดิสโก้สู่รั้วลวดหนามเพื่อหาแหล่งน้ำให้เกษตรกร เกิดอุโมงค์ลอดภูเขาเพื่อผันน้ำแห่งแรกของประเทศไทยจึงมีพิธีมอบใบรับรองสถิติอุโมงผันน้ำลอดภูเขาลำพะยังภูมิพัฒน์ที่ยาวที่สุดในโลก 710 เมตร และเป็นประธานมอบโล่และเกียรติบัตรแก่หน่วยงาน และองค์กรที่สนับสนุนโครงการปลูกป่า เฉลิมพระเกียรติ ลำพะยัง ภูมิพัฒน์ ประจำปี 2558 ณ บริเวณอุโมงค์ลำพะยังภูมิพัฒน์ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “พระมหากษัตริย์ผู้ทรงงานหนักที่สุดในโลก” ร่วมทั้งเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อความร่วมมือปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ลำพะยัง ภูมิพัฒน์ พ.ศ. 2558 – 2562 ระหว่างสภาเกษตรกรแห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ สภาเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ สภาเกษตรกรจังหวัดมุกดาหาร นายเอาเภอเขาวง องค์การบริหารส่วนตำบลคุ้มเก่า
อุโมงค์ผันน้ำลอดภูเขา ลำพะยัง ภูมิพัฒน์ นับเป็นอุโมงค์ผันน้ำแห่งแรกในประเทศไทย ที่จัดสร้างขึ้นตามพระราชดำริ ด้วยพระอัจฉริยะภาพและพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันมีต่อพสกนิกรไทย ซึ่งอุโมงค์ผันน้ำลอดภูเขา ฯ แห่งนี้ นอกจากจะมีความยาว 710 เมตรแล้ว ยังสร้างคุณประโยชน์มหาศาลต่อเกษตรกรในพื้นที่แห่งนี้กว่า 40 หมู่บ้าน แก้ปัญหาความแห้งแล้งด้วยระบบชลประทาน ไปยังพื้นที่ทำการเกษตรกว่า 12,000 ไร่ พลิกฟื้นผืนแผ่นดินที่เคยกันดารกลับกลายเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญแห่งหนึ่ง ในประเทศไทย
เวลาประมาณ 13.00 น. ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานในพิธีเปิดป้ายโครงการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่ 49 เครือข่าย ชุมชนเพื่อการแบ่งปัน หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภายใต้ความร่วมมือ ระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ