ศัพท์ควรรู้ในโครงการพระราชดำริ
ศุลีพร บุญบงการ
วัชพืชชนิดอื่นที่ขึ้นรกๆ อยู่ตามพื้นที่รกร้างทั่วไป อาจดูรกหูรกตา ไม่มีประโยชน์ ไร้ค่า
ไร้ราคาหากเราไม่พิจารณาลึกไปถึงประโยชน์ที่แท้จริงของพืชเหล่านี้ ชื่อหญ้าแฝกคงจะคุ้นหูใครหลายๆ คน แต่พอขึ้นชื่อว่าหญ้า คนมักจะนึกถึงความเป็นวัชพืชเป็นหลัก นึกถึงภาพของพงหญ้ารกๆ ที่ไม่สามารถทำนำมาใช้ประโยชน์อะไรได้ แต่พงหญ้ารกๆ ไร้ประโยชน์ดังกล่าว ไม่ใช่หญ้าแฝกอย่างแน่นอน
หญ้าแฝกมีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า Vetiver Grass และชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Vetiveria Zizanioides Nash เป็นพืชขึ้นแน่นเป็นกอ และมีระบบรากหยั่งลึกและแผ่กระจายลงไปในดินตรงๆ เหมือนกำแพง จึงเหมาะในการใช้ในการยึดดินป้องกันการพังทลายของดิน อีกทั้งยังช่วยเก็บความชื้นของดินได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถปลูกเป็นแนวป้องกันตะกอนดิน และกรองของเสียต่างๆ ที่ไหลลงในน้ำ รากของหญ้าแฝกมีความแข็งแรง สามารถหยั่งรากลงไปในเนื้อดินดาน ซึ่งเป็นดินที่มีความแข็งคล้ายหิน ทำให้ดินแตกร่วนซุย เป็นการเพิ่มความชื้นในดินได้อีกทางหนึ่ง
การนำใบและต้นหญ้าแฝกมาเป็นอาหารสัตว์และทำปุ๋ยหมักคือ ผลพลอยได้ หรือ By Product ของหญ้ามหัศจรรย์ชนิดนี้ นอกจากนี้ยังนำมาใช้มุงหลังคา ทำสมุนไพร และทำน้ำหอมได้เพื่อเพิ่มคุณค่าทางการตลาดได้
ผักตบชวา พืชที่คนทั่วไปเรียกกันว่า วัชพืช หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Weed นั้นก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ แทนที่จะแค่กำจัดทิ้งไปเท่านั้น ซึ่งเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเพราะผักตบชวาเป็นวัชพืชที่กำจัดยาก เนื่องจากมีอัตราการแพร่กระจายที่รวดเร็ว
ผักตบชวา มีชื่อสามัญว่า Water hyacinth และมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Eichhornia crassipes ซึ่งคำว่า hyacinth มีความหมายว่าพันธุ์ไม้ดอกสีต่างๆ ที่ขึ้นจากหัว หรือมีความหมายอีกอย่างว่าเพทายสีส้ม หรืออัญมณีมีค่า ผักตบชวาใช้ประโยชน์ได้หลายทาง ไม่ว่าจะใช้ทำเป็นปุ๋ย เป็นก๊าซชีวมวล หรือเป็นอาหารสัตว์ และอีกคุณสมบัติหนึ่งที่โดดเด่นของผักตบชวาคือประสิทธิภาพในการดูดซับสิ่งสกปรกในน้ำ จึงสามารถนำมาใช้บำบัดน้ำเสีย เปรียบเสมือน เครื่องกรองธรรมชาติ หรือ Natural Filtration คือเป็นการเอาของเสียหรือของที่คนอื่นเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีมาใช้ให้กลายเป็นของดี เราเรียกวิธีการนี้ว่า Biological System หรือ ระบบทางชีววิทยา ซึ่งคำว่า filtration นั้นแปลงว่าการกรอง เป็นคำนามของคำว่า filtrate ที่มีความหมายว่า ผ่านการกรอง หรือผ่านเครื่องกรอง ซึ่งได้ทรงทดลองให้เห็นผลแล้ว ที่บึงมักกะสัน
หากพิจารณา ศึกษา อย่างลึกซึ้งถึงคุณค่าและประโยชน์ในสิ่งที่เรามักมองข้าม มอง
ไม่เห็นค่า ไม่เห็นประโยชน์ ก็อาจพบว่ายังมีสิ่งที่ดีแฝงอยู่ภายใต้หน้าตาที่ดูไม่ดี ไม่มีประโยชน์เหล่านั้น ดังพืชที่คนทั่วไปมองว่าเป็นวัชพืช แต่สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว พืชเหล่านี้เป็น อธรรมที่ใช้ปราบอธรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมยังเป็นมิตรกับสภาพแวดล้อมเสียอีกด้วย