- หน้าแรก
- 30 ปีมูลนิธิชัยพัฒนา
- 30 เรื่องพิเศษ
- เรื่อง “ภัทรพัฒน์” สร้างความยั่งยืน
เรื่อง “ภัทรพัฒน์” สร้างความยั่งยืน
ทราบหรือไม่ว่า ทุกผลิตภัณฑ์ที่วางอยู่บนชั้นวางสินค้าภายในร้านภัทรพัฒน์ล้วนมีที่มา เช่น
“กระเทียมอบแห้ง” ผลิตภัณฑ์รุ่นแรก ๆ ของภัทรพัฒน์ที่เกิดจากปัญหาราคากระเทียมตกต่ำ เมื่อกว้านซื้อมาแล้วจะขายก็ขาดทุน นำไปทำกระเทียมเจียวก็คงไม่เป็นที่นิยมเพราะสวนกระแสรักสุขภาพ หลังได้รับการสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์การอาหารจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วันนี้เราจึงมีโอกาสลิ้มลองกระเทียมสดที่ใช้กรรมวิธีอบแห้งแทนการทอด ไร้น้ำมัน แต่ยังคงกลิ่นหอม
อีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจคือ “Fleur de Sel หรือเกสรเกลือ” ที่เริ่มจากการค้างค่าเช่าที่ แต่หาช่องทางแก้ปัญหาชนิดบัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่น จนนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เล่าไว้ว่า
“มีคนถวายนาเกลือแถวสมุทรสาคร แต่ปีที่ฝนตกจนทำนาเกลือไม่ได้ ชาวบ้านที่ทำนาเกลืออยู่เดิมจึงไม่มีรายได้มาจ่ายค่าเช่าที่ให้มูลนิธิฯ เราเลยหาทางออกด้วยการให้ชาวบ้านเก็บเกสรเกลือส่งให้เราแทน เพราะเกสรเกลือจะขึ้นเหมือนหิมะ เมื่อได้มาก็นำไปบรรจุขวดสวยงามและวางจำหน่าย สร้างรายได้ทดแทนค่าเช่าที่ที่หายไป เราอะลุ้มอล่วยแต่ก็ไม่เสียผลประโยชน์ ที่สำคัญคือไม่เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง สังคมเราควรอยู่ด้วยการหาทางออกเช่นนี้”
ดังความหมายของ “ภัทรพัฒน์” ตราสินค้าของมูลนิธิฯ ที่ได้รับพระราชทานชื่อจากกรมสมเด็จพระเทพฯ โดยคำว่า “ภัทร” แปลว่า ดี เจริญ ประเสริฐ งาม เป็นมงคล “พัฒน์” หมายถึง ทำให้เจริญ
ส่วนรูป “ไข่” ในวงรี แสดงถึงจุดกำเนิดของสรรพสิ่งในโลก “เลข ๙” สื่อถึงรัชกาลที่ 9 พระผู้ทรงก่อตั้งมูลนิธิชัยพัฒนา และหากพิจารณาให้ดีจะเห็นรูป “ช้าง” หรือ “พลาย ภัทรพัฒน์” เฝ้าหมอบรับสินค้าจากชุมชนนำไปจำหน่าย เป็นการสร้างโอกาส สร้างรอยยิ้ม สร้างรายได้ นำไปสู่ความยั่งยืนต่อไป
“กระเทียมอบแห้ง” ผลิตภัณฑ์รุ่นแรก ๆ ของภัทรพัฒน์ที่เกิดจากปัญหาราคากระเทียมตกต่ำ เมื่อกว้านซื้อมาแล้วจะขายก็ขาดทุน นำไปทำกระเทียมเจียวก็คงไม่เป็นที่นิยมเพราะสวนกระแสรักสุขภาพ หลังได้รับการสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์การอาหารจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วันนี้เราจึงมีโอกาสลิ้มลองกระเทียมสดที่ใช้กรรมวิธีอบแห้งแทนการทอด ไร้น้ำมัน แต่ยังคงกลิ่นหอม
อีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจคือ “Fleur de Sel หรือเกสรเกลือ” ที่เริ่มจากการค้างค่าเช่าที่ แต่หาช่องทางแก้ปัญหาชนิดบัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่น จนนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เล่าไว้ว่า
“มีคนถวายนาเกลือแถวสมุทรสาคร แต่ปีที่ฝนตกจนทำนาเกลือไม่ได้ ชาวบ้านที่ทำนาเกลืออยู่เดิมจึงไม่มีรายได้มาจ่ายค่าเช่าที่ให้มูลนิธิฯ เราเลยหาทางออกด้วยการให้ชาวบ้านเก็บเกสรเกลือส่งให้เราแทน เพราะเกสรเกลือจะขึ้นเหมือนหิมะ เมื่อได้มาก็นำไปบรรจุขวดสวยงามและวางจำหน่าย สร้างรายได้ทดแทนค่าเช่าที่ที่หายไป เราอะลุ้มอล่วยแต่ก็ไม่เสียผลประโยชน์ ที่สำคัญคือไม่เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง สังคมเราควรอยู่ด้วยการหาทางออกเช่นนี้”
ดังความหมายของ “ภัทรพัฒน์” ตราสินค้าของมูลนิธิฯ ที่ได้รับพระราชทานชื่อจากกรมสมเด็จพระเทพฯ โดยคำว่า “ภัทร” แปลว่า ดี เจริญ ประเสริฐ งาม เป็นมงคล “พัฒน์” หมายถึง ทำให้เจริญ
ส่วนรูป “ไข่” ในวงรี แสดงถึงจุดกำเนิดของสรรพสิ่งในโลก “เลข ๙” สื่อถึงรัชกาลที่ 9 พระผู้ทรงก่อตั้งมูลนิธิชัยพัฒนา และหากพิจารณาให้ดีจะเห็นรูป “ช้าง” หรือ “พลาย ภัทรพัฒน์” เฝ้าหมอบรับสินค้าจากชุมชนนำไปจำหน่าย เป็นการสร้างโอกาส สร้างรอยยิ้ม สร้างรายได้ นำไปสู่ความยั่งยืนต่อไป