logochaipat

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • ความเป็นมา
    • วัตถุประสงค์
    • แนวทางการดำเนินงาน
    • กิจกรรมหลักของมูลนิธิ
    • ตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิ
    • คณะกรรมการมูลนิธิ
  • โครงการพระราชดำริ
    • ภาคเหนือตอนบน
    • ภาคเหนือตอนล่าง
    • ภาคกลางตะวันออก
    • ภาคกลางตะวันตก
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
    • ภาคใต้
    • โครงการกิจกรรมพิเศษ
  • เผยแพร่
    • วารสาร
    • เอกสารเผยแพร่
    • มัลติมีเดีย
    • โปสเตอร์
    • แบบพระอุโบสถวัดพระราม ๙
  • ข่าว
    • ข่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    • ข่าวผู้บริหารมูลนิธิชัยพัฒนา
    • ข่าวสารทั่วไป
    • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
    • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
    • ระบบติดตามตรวจสอบย้อนกลับ Chaipattana Traceability QR Code
  • แนวคิดและทฤษฏี
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องน้ำ
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องดิน
    • น้ำดีไล่น้ำเสีย
    • ฝนหลวง
    • เครื่องดักหมอก
    • การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน
    • ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
    • ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้
    • เส้นทางเกลือ
    • การบำบัดน้ำเสียด้วยพืชน้ำกับระบบการเติมอากาศ
    • การพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกร
    • ทฤษฎีใหม่
  • กังหันน้ำชัยพัฒนา
    • กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2
    • การขอความอนุเคราะห์การติดตั้ง
    • ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
    • การติดตั้งและบำรุงรักษา
  • บริจาค
  • 30ปีมูลนิธิชัยพัฒนา
    • 30 เรื่องพิเศษ
    • 8 ผลงานนักวาดภาพประกอบ
    • แรงบันดาลใจแห่งชัยชนะ
    • ภาพยนตร์สารคดี
    • เกี่ยวกับมูลนิธิชัยพัฒนา
    • กิจกรรมในงาน
    • จากนภาผ่านภูผาสู่มหานที
    TH Thai EN English |
facebook youtube tiktok icon
logochaipat mobile
facebook  youtube
  • หน้าแรก
  • แนวคิดทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • แนวคิดและทฤษฏี
  • แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา

แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา

แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ลักษณะพิเศษของแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

แนวคิดและทฤษฎีในการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น เกิดจากอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในการที่ได้ทรงคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุง และแก้ไขให้การพัฒนาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นงานที่ดำเนินการไป ได้ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่และระบบนิเวศน์โดยส่วนรวมของธรรมชาติตลอดจน สภาพทางสังคมและชุมชนนั้นๆ หลายต่อหลายงานและโครงการ เมื่อคิดพิจารณาและศึกษาจนมีพระราชวินิจฉัยออกมาในท้ายที่สุดแล้ว นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องนั้นๆ ก็มักจะพบว่าเป็นเรื่องง่ายและธรรมดา  จนไม่เคยมีผู้ใดคาดคิดมาก่อน ยอมรับกันโดยทั่วไปในหมู่นักพัฒนาและนักวิชาการว่า พระองค์ทรงโปรดที่จะทำสิ่งที่ยากให้กลายเป็นง่าย ทำสิ่งที่สลับซับซ้อนให้เข้าใจง่าย อันเป็นการแก้ไขปัญหาด้วยการใช้ภววิสัยแห่งธรรมชาตินั่นเองเป็นแนวทาง การทำสิ่งที่ยากให้กลายเป็นง่ายนั้นเป็นของยาก เช่นเดียวกับการทำสิ่งที่ง่ายให้เป็นเรื่องยากนั้นเป็นของง่าย มีพระราชกระแสอยู่เนืองๆ ถึงคำว่าทำให้ง่าย ซึ่งน่าจะตรงกับภาษาอังกฤษ ซิมพลิซิตี้ (Simplicity) ซึ่งเป็นหลักคิด สำคัญในทุกเรื่องและการพัฒนาเกือบทุกโครงการของพระองค์


นอกเหนือไปจากการทำทุกอย่าง ให้ง่าย และไม่สลับซับซ้อนอันเป็นหลักและหัวใจสำคัญของการดำเนินงานแล้ว การนำความรู้จริงในความเป็นไปแห่งธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาใช้ในการ แก้ไขปัญหา และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่ปรกติให้เข้าสู่ระบบปรกตินั้น ก็นับว่าเป็นหลักการและแนวปฏิบัติที่สำคัญยิ่งอีกส่วนหนึ่งในการทรงงานของ พระองค์ เช่น การนำน้ำดีขับไล่น้ำเสีย หรือเจือจางน้ำเสียให้กลับเป็นน้ำดี ตามจังหวะการขึ้นลงของน้ำตามธรรมชาติ หรือดังอีกตัวอย่างหนึ่งเช่น การบำบัดน้ำเน่าเสียโดยการใช้ผักตบชวา ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ ให้ดูดซับสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำให้บรรเทาลง ดังที่มีพระราชกระแสในเรื่องนี้ว่าเป็นการ ใช้อธรรมปราบอธรรม อันมีความหมายว่า ทั้งน้ำเน่าเสียและผักตบชวาล้วนแต่เป็นสิ่งไม่พึงปรารถนาและต้องการกำจัดไป แต่ก็สามารถนำมาใช้หักล้างกันให้มีผลออกมาเป็นธรรม ได้ นั่นก็คือ น้ำดีที่พึงปรารถนานั่นเอง แนวคิดและปรัชญาการทำงานในลักษณะนี้ จะเห็นได้ว่าเป็นการใช้ สติ และ ปัญญา ผสมผสานกับความรู้เข้าดำเนินการ จัดการ กับสภาวะและปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบที่อยู่แวดล้อมมนุษย์ตามธรรมชาติ ให้ก่อประโยชน์ให้ได้ในที่สุดนั้น น่าจะถือว่า เป็นสุดยอดของการ จัดการ ทีเดียว


แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ถือว่าเป็นลักษณะพิเศษที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ การมุ่งเน้นให้ผลการดำเนินงานนั้นตกถึงมือประชาชนโดยตรงเป็นเบื้องแรก เพื่อบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้าคือการพออยู่ พอกิน ขณะเดียวกับที่ปูพื้นฐานไว้สำหรับความ อยู่ดี กินดี ต่อไปในอนาคตด้วย ดังนั้นจึงมีลักษณะของการมองผลสำเร็จที่เป็นการ คุ้มค่า มากกว่าการ คุ้มทุน ดังที่เคยมีพระราชกระแสว่า ขาดทุนคือกำไร (our loss is our gain) กำไรนั้นคือ ความอยู่ดีมีสุขของประชาชนที่จำเป็นต้องลงทุน แต่ก็เป็นการลงทุนที่ คุ้มค่า แม้จะไม่กลับมาเป็นตัวเงิน คือ กำไร ในนัยธรรมดาในตอนแรก เป็นต้น


นอกไปจากนี้ แนวความคิดและทฤษฎีดังกล่าว ยังมีลักษณะของการ ไม่ติดตำรา คือ เป็นการพัฒนาที่อนุโลมและรอมชอมกับ สภาพแห่งธรรมชาติ และสภาพของสังคมจิตวิทยาแห่งชุมชนและต้องไม่ผูกติดอยู่กับวิชาการและ เทคโนโลยีที่แข็งตัว และไม่เหมาะกับสภาพที่แท้จริงของคนไทยอันจะทำให้การดำเนินงานในโครงการไม่ สามารถบรรลุผลสำเร็จได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่


แนว คิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เห็นสมควรยกขึ้นมากล่าวไว้ อีกประการหนึ่งก็คือ การสร้างความรู้ รัก สามัคคี และการร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันทำ โดยปรับลด อัตวิสัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มักจะต่างคนต่างทำและยึดติดการเป็นเจ้าของเป็นสำคัญ ให้เป็นการร่วมกันโดยไม่มีเจ้าของ และสามารถอำนวยประโยชน์สูงสุดให้กับประชาชนและเกษตรกรดังเช่นในกรณีของศูนย์ ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่เป็นรูปแบบใหม่ของการบริหารที่เป็นการบริการรวมจุดเดียว และ การบริการเบ็ดเสร็จ หรือ one stop service for the famers ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในระบบบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทยอย่างแท้จริง


สาระสำคัญในแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

โครงการ พัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น มีอยู่มากมายหลากหลายประเภทแตกต่างกันไปตามลักษณะและวัตถุประสงค์ของโครงการ นั้นๆ ซึ่งส่วนมากจะเป็นการแก้ไขและพัฒนาด้านการทำมาหากินของประชาชนเป็นสำคัญ และ ดังที่ทราบกันว่าส่วนใหญ่ของประชาชนของประเทศไทยยังชีพด้วยการทำเกษตรกรรม ดังนั้นโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงเกี่ยวข้องอยู่กับเรื่องของ การพัฒนาปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่น ดิน น้ำ ที่ทำกิน ทุน และความรู้ด้านเกษตรกรรม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ เป็นต้น และดังได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นไม้ว่าจะเป็นแนวคิดและทฤษฎีในงานสาขาใดที่ ได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อการแก้ไขปรับปรุง และพัฒนาไว้ หลักสำคัญของทุกเรื่องก็คือ ความเรียบง่ายดังที่ได้ทรงใช้คำว่า Simpilfy หรือ Simplicity จะ ต้องเรียบง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อนทั้งในแนวความคิดและด้านเทคนิควิชาการจะต้อง สมเหตุสมผล ทำได้รวดเร็ว และสามารถแก้ไขปัญหาให้ก่อประโยชน์ได้จริง ตลอดจนต้องมุ่งไปสู่วิถีแห่ง การพัฒนายั่งยืน (Sustainability) อีกด้วย


แนวคิดและทฤษฎีใน เรื่องต่างๆ ที่ได้ทรงคิดพิจารณาอย่างถ่องแท้และได้พระราชทานให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ งานนั้น จะเป็นประโยคง่ายๆ แต่ได้ผ่านการกลั่นกรองมาแล้วเป็นอย่างดี เป็นข้อความง่ายๆ ที่มีความหมายลึกซึ้ง และบางครั้งบ่งบอกถึงวิธีดำเนินการไว้ด้วยอย่างเบ็ดเสร็จในตัวเองเป็นหลัก ของ

น้ำดีไล่น้ำเสีย
4 น้ำ 3 รส
แกล้งดิน
ป่าสามอย่าง ประโยชน์สี่อย่าง
ปลูกป่าแบบไม่ปลูก
ขาดทุนเป็นกำไร
ทฤษฎีใหม่
โครงการแก้มลิง
เส้นทางเกลือ
ฯลฯ

  • E-mail
  • ระบบงานภายใน
  • โครงสร้างเว็บไซต์
  • English
  • ติดต่อมูลนิธิ
  • สมัครงาน
  • แบบฟอร์มขอรับทุนพระราชทาน

ลิขสิทธิ์ © 2016-2017 มูลนิธิชัยพัฒนา (The Chaipattana Foundation) สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • ความเป็นมา
    • วัตถุประสงค์
    • แนวทางการดำเนินงาน
    • กิจกรรมหลักของมูลนิธิ
      • ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
      • ด้านการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      • ด้านการพัฒนาการเกษตร
      • ด้านการพัฒนาสังคม
      • ด้านพลังงาน
      • ด้านอื่น ๆ
    • ตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิ
    • คณะกรรมการมูลนิธิ
  • โครงการพระราชดำริ
    • ภาคเหนือตอนบน
    • ภาคเหนือตอนล่าง
    • ภาคกลางตะวันออก
    • ภาคกลางตะวันตก
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
    • ภาคใต้
    • โครงการกิจกรรมพิเศษ
      • โครงการปลูกผักปลอดภัยภายใต้มาตรฐาน GAP
      • โครงการบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง
      • โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์พระราชทานเพื่อนช่วยเพื่อน
  • เผยแพร่
    • วารสาร
      • วารสารมูลนิธิชัยพัฒนา
      • วารสารป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด
      • วารสารโคกปรงพัฒนา
      • วารสารสวนป่าพฤกษพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา
      • หนังสืออื่นๆ ของมูลนิธิชัยพัฒนา
    • เอกสารเผยแพร่
      • เกร็ดความรู้
      • เศรษฐกิจพอเพียง
      • กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2
      • เครื่องกลเติมอากาศ RX-5C
      • แนะนำมูลนิธิ
      • สึนามิ
      • โครงการเยาวชนไทยร่วมใจชัยพัฒนา
      • ผลงานภาพวาดบ้านนี้มีรัก
    • มัลติมีเดีย
      • เรื่องเล่าถึงพ่อ...ผ่านบทสัมภาษณ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
      • วีดีโอแนะนำโครงการต่าง ๆ
      • นิทานจันกะผัก
    • โปสเตอร์
      • โปสเตอร์เศรษฐกิจพอเพียง
      • โปสเตอร์กังหันน้ำชัยพัฒนา
      • โปสเตอร์แนะนำมูลนิธิชัยพัฒนา
    • แบบพระอุโบสถวัดพระราม ๙
      • รายชื่อวัดที่ขอใช้แบบพระอุโบสถ วัดพระราม ๙ฯ
  • ข่าว
    • ข่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    • ข่าวผู้บริหารมูลนิธิชัยพัฒนา
    • ข่าวสารทั่วไป
    • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
    • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
      • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
      • ภาคเหนือตอนบน
      • ภาคเหนือตอนล่าง
      • ภาคกลางตอนบน
      • ภาคกลางตอนล่าง
      • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      • ภาคตะวันออก
      • ภาคใต้
      • โครงการพิเศษ
    • ระบบติดตามตรวจสอบย้อนกลับ Chaipattana Traceability QR Code
  • แนวคิดและทฤษฏี
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องน้ำ
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องดิน
    • น้ำดีไล่น้ำเสีย
    • ฝนหลวง
    • เครื่องดักหมอก
    • การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน
    • ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
    • ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้
    • เส้นทางเกลือ
    • การบำบัดน้ำเสียด้วยพืชน้ำกับระบบการเติมอากาศ
    • การพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกร
    • ทฤษฎีใหม่
  • กังหันน้ำชัยพัฒนา
    • กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2
      • เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย
      • พระราชดำริ
      • การศึกษา วิจัย และพัฒนา
      • คุณสมบัติ
      • หลักการทำงาน
      • สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย
    • การขอความอนุเคราะห์การติดตั้ง
      • หลักเกณฑ์
      • วิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติ
      • การซ่อมบำรุงดูแลรักษาเครื่อง
      • การติดตามผลการดำเนินงานโครงการ
    • ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
      • ความสำคัญของทรัพยากรน้ำ
      • การเลือกพืชบำบัดน้ำเสียและการดูแลรางพืช
      • หลักการทั่วไปของระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
      • พืชที่ไม่สามารถนำมาใช้ในงานปรับปรุงคุณภาพน้ำ
      • การดูแลระบบรางพืชกรองน้ำ (plantbed filter)
      • สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย
    • การติดตั้งและบำรุงรักษา
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศ
      • การบำรุงรักษากังหันน้ำชัยพัฒนา
      • การบำรุงรักษาเครื่องกลเติมอากาศ RX-5C
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศกรุงบรัสเซลล์
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศวัดพุทธคยา
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศวัดพุทธประทีป
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศ ปตท. สาขาหนองแต่ง สปป.ลาว
  • บริจาค
  • 30ปีมูลนิธิชัยพัฒนา
    • 30 เรื่องพิเศษ
    • 8 ผลงานนักวาดภาพประกอบ
      • ภัทรพัฒน์
      • จากธรรมชาติ สู่ธรรมชาติ
      • “Harmony of Living” เปลี่ยนสุขภาพของโลกให้ดีขึ้น กับ Bloody Hell Big Head
      • “MIRRORS" ภาพสะท้อนของการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัย
      • “สายใย ชัยพัฒนา” คุณค่าของชีวิตสู่งานศิลปะสไตล์ THE DUANG
      • “Together” ความอบอุ่นของการได้อยู่ร่วมกัน
      • “Land of Luck” ดินแดนแห่งความโชคดี ภายใต้โครงการด้านการเกษตร ในมุมมองของ SIRI
      • “GIVE” เพราะการให้เงิน ไม่เท่าการให้ความรู้ ถอดบทเรียนจากโครงการด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • แรงบันดาลใจแห่งชัยชนะ
    • ภาพยนตร์สารคดี
    • เกี่ยวกับมูลนิธิชัยพัฒนา
      • ความเป็นมาของมูลนิธิ
      • ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
      • ด้านการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      • ด้านการพัฒนาการเกษตร
      • ด้านพลังงาน
      • ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
      • ด้านการเพิ่มศักยภาพทางการตลาดให้ชุมชน (ร้านภัทรพัฒน์)
      • หลักสูตรผู้นำการพัฒนาอย่างยั่งยืน
      • โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ
      • ด้านการพัฒนาสังคม
    • กิจกรรมในงาน
    • จากนภาผ่านภูผาสู่มหานที