- หน้าแรก
- กังหันน้ำชัยพัฒนาและเครื่องกลเติมอากาศ
- ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยรางพืชร่วมกับเครื่องกลเติ
- หลักการทั่วไปของระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
หลักการทั่วไปของระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
- พืชลอยน้ำ พืชโผล่พ้นน้ำ ความลึกของระดับน้ำไม่ควรเกิน 1 เมตรได้แก่ แพงพวยน้ำ บัว ผักตบชวาฯลฯ
- พืชแช่น้ำ พืชชายน้ำ ความลึกของระดับน้ำไม่ควรเกิน 30 เซนติเมตร ได้แก่ พุทธรักษา ปักษาสวรรค์ เตย
กก ธูปฤาษี
พืชน้ำ (Aquatic plant , water plant) แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
- กลุ่มที่เป็นพืชขนาดเล็กมาก (microphyta) สาหร่ายชั้นต่ำ (Algae) และการเกิด Algae bloom
ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าจะสามารถมองเห็นได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เช่นสาหร่ายชั้นต่ำ (algae) มีลักษณะเป็นแพลงตอน เป็นเส้นสาย เป็นกลุ่มก้อน
- ปัญหาน้ำเขียว สาหร่ายออ (Algae bloom)
|
- Blue green algae พืชขนาดเล็กที่ปนเปื้อนในน้ำทำให้น้ำมีสีและมีกลิ่น
|
- Euglenoid ภาพ ศิริพร บุญดาว พืชขนาดเล็กที่พบมากในน้ำนิ่ง
|
- กลุ่มที่เป็นพืชขนาดใหญ่ (macrophyta) พืชในกลุ่มนี้สามารถนำมาเลือกใช้ในการบำบัดน้ำเสีย โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพน้ำ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีลักษณะเป็นพืชลอยน้ำ พืชชายน้ำ พืชโผล่พ้นน้ำ และพืชใต้น้ำ
ลักษณะของกลุ่มพืชน้ำที่มีขนาดใหญ่
- มักมีกิ่งก้าน ต้น หรือใบยาว เพื่อให้เหมาะสมกับระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลง
- มีใบที่แข็งแรงและทนทานต่อการกระเพื่อมของน้ำ
- มีระบบลำเลียงออกซิเจนไปสู่ราก
- พวกที่อยู่ใต้น้ำมีการปรับตัวให้ได้รับธาตุอาหารทางใบแทนราก
- พวกที่อยู่ใต้น้ำจะไม่มีปากใบ เนื่องจากอาหารและอากาศเข้าสู่เนื้อเยื่อได้โดยตรง
ลักษณะของระบบนิเวศแหล่งน้ำ
|
พืชลอยน้ำ ( floating plant)
พืชชนิดนี้จะล่องลอยไปตามกระแสน้ำ หากนำมาใช้จำเป็นต้องกำหนดขอบเขตให้แน่นอน เนื่องจากบางชนิดเป็นวัชพืชน้ำที่ร้ายแรงและเมื่อพืชเริ่มแก่สังเกตได้จากมีการออกดอก เมื่อดอกโรยก็ควรเก็บพืชออกจากแหล่งน้ำ พืชลอยน้ำที่นิยมนำมาใช้ คือ ผักตบชวา เนื่องจากมีความทนทานต่อสภาพน้ำเสียมากกว่าชนิดอื่น นอกจากนี้ก็มีจอกใหญ่ เป็นต้น ส่วนจอกหูหนู แหนเป็ดที่มีขนาดเล็กจะใช้ในกรณีบังแสงสว่างเพื่อลดการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายชั้นต่ำ(algae) เป็นการบำบัดน้ำเสียในกรณีเกิดสาหร่ายออ (algae-bloom)
- Eichhornia cressipes ผักตบชวา
พืชลอยน้ำที่มีประสิทธิภาพในการปรับปรุงคุณภาพน้ำได้ดีแต่เจริญเติบโตเร็วจนมีปัญหาในการควบคุม
|
พืชชายน้ำ
( marginal plant)
พืชชนิดนี้จะขึ้นอยู่บนดินริมชายตลิ่ง จึงมีรากที่ต้องอาศัยสิ่งยึดเกาะ การใช้พืชจำพวกนี้มาบำบัด การใช้พืชจำพวกนี้มาบำบัดน้ำเสียจึงจำเป็นต้องจำลองสภาพนิเวศเดิมเอาไว้โดยใช้ทรายเป็นเครื่องยึดเกาะแทนดิน พืชจะใช้สารอาหารจากน้ำในลักษณะของระบบการปลูกพืชแบบไร้ดิน (Hydroponic) พืชที่สามารถนำมาใช้เช่น พุทธรักษา ธูปฤาษี หญ้าแฝก ปักษาสวรรค์ เตยหอม เป็นต้น
- Typha angustifolia กกช้าง ธูปฤาษี ทนทานต่อน้ำเสียได้ดีแต่ต้องตัดดอกทิ้งก่อนดอกแก่เนื่องจากผลิตเมล็ดได้มากและเจริญเติบโตเร็วมากจากการแตกหน่อจากลำต้น
|
- Canna indica พุทธรักษา พุทธศร เป็นสัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ แช่น้ำได้ดีแต่ควรมีการเติมอากาศร่วมด้วยนอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับแหล่งน้ำ ต้นพุทธรักษามีหลากสีหลายพันธุ์สามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสมกับสถานที่ สามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย ราคาถูก
- ต้นเหงือกปลาหมอขึ้นได้ในที่มีน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม เป็นพืชทนความเค็มได้ ในกรณีเป็นน้ำเสียที่มีน้ำเค็มร่วมด้วยจะสามารถเจริญเติบโตได้ดีแต่ควรใช้เครื่องเติมอากาศร่วมด้วย
|
พืชโผล่พ้นน้ำ
(emergent plant)
พืชจำพวกนี้จะมีรากอยู่ใต้ดินก้นน้ำ (ดินตม) และชูใบและดอกอยู่เหนือน้ำ พืชจำพวกนี้เช่น บัวหลวง บัวสาย ปัญหาที่พบคือมักเป็นอาหารของสัตว์น้ำ หากจะใช้ต้องสร้างในลักษณะของระบบการปลูกพืชแบบไร้ดิน
- บัวสาย พืชโผล่พ้นน้ำ นอกจากช่วยลดปัญหาน้ำเสียได้แล้วยังเพิ่มความสวยงามให้กับแหล่งน้ำ
|
พืชใต้น้ำ
(submerged plant)
พืชจำพวกนี้สามารถดำรงชีวิตยู่ใต้น้ำทั้งส่วนราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด ทุกส่วนสามารถอยู่ในน้ำได้ สามารถนำมาใช้บำบัดน้ำเสียได้ดีแต่ก็มักเป็นอาหารของสัตว์น้ำเช่นกัน พืชจำพวกนี้ได้แก่ สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายฉัตร ดีปลีน้ำ เป็นต้น รากของพืชเหล่านี้จะดูดเอาของเสีย สารอินทรีย์ แร่ธาตุที่พืชต้องการซึ่งปนมากับน้ำ ทำให้คุณภาพน้ำดีขึ้น
- Hydrilla verticillata สาหร่ายใต้น้ำ มีทั้งคุณและโทษสามารถทนทานต่อสภาพน้ำเสียแต่เป็นวัชพืชร้ายแรงในแหล่งน้ำชลประทาน
|
- Potamogeto malaianus เป็นสาหร่ายใต้น้ำที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม