logochaipat

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • ความเป็นมา
    • วัตถุประสงค์
    • แนวทางการดำเนินงาน
    • กิจกรรมหลักของมูลนิธิ
    • ตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิ
    • คณะกรรมการมูลนิธิ
  • โครงการพระราชดำริ
    • ภาคเหนือตอนบน
    • ภาคเหนือตอนล่าง
    • ภาคกลางตะวันออก
    • ภาคกลางตะวันตก
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
    • ภาคใต้
    • โครงการกิจกรรมพิเศษ
  • เผยแพร่
    • วารสาร
    • เอกสารเผยแพร่
    • มัลติมีเดีย
    • โปสเตอร์
    • แบบพระอุโบสถวัดพระราม ๙
  • ข่าว
    • ข่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    • ข่าวผู้บริหารมูลนิธิชัยพัฒนา
    • ข่าวสารทั่วไป
    • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
    • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
    • ระบบติดตามตรวจสอบย้อนกลับ Chaipattana Traceability QR Code
  • แนวคิดและทฤษฏี
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องน้ำ
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องดิน
    • น้ำดีไล่น้ำเสีย
    • ฝนหลวง
    • เครื่องดักหมอก
    • การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน
    • ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
    • ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้
    • เส้นทางเกลือ
    • การบำบัดน้ำเสียด้วยพืชน้ำกับระบบการเติมอากาศ
    • การพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกร
    • ทฤษฎีใหม่
  • กังหันน้ำชัยพัฒนา
    • กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2
    • การขอความอนุเคราะห์การติดตั้ง
    • ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
    • การติดตั้งและบำรุงรักษา
  • บริจาค
  • 30ปีมูลนิธิชัยพัฒนา
    • 30 เรื่องพิเศษ
    • 8 ผลงานนักวาดภาพประกอบ
    • แรงบันดาลใจแห่งชัยชนะ
    • ภาพยนตร์สารคดี
    • เกี่ยวกับมูลนิธิชัยพัฒนา
    • กิจกรรมในงาน
    • จากนภาผ่านภูผาสู่มหานที
    TH Thai EN English |
facebook youtube tiktok icon
logochaipat mobile
facebook  youtube
  • หน้าแรก
  • ข่าว
  • ข่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรการดำเนินงานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรการดำเนินงานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

 

วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เวลาประมาณ 10.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินถึงอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนาและมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยมีรายละเอียดดังนี้

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เป็นความร่วมมือระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนาและมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ซึ่งได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา กับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2553 และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ยังได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และเริ่มพัฒนากระบวนการเรียนการสอนร่วมกันตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เป็นความร่วมมือระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนาและมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เริ่มดำเนินการตั้งแต่ ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน มีนักศึกษา รวมทั้งสิ้น 4 รุ่น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้าง และขับเคลื่อนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ผ่านกระบวนงานวิจัยของนักศึกษา โดยมีปรัชญาของหลักสูตร คือ

“มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีทักษะเชิงวิชาการ พร้อมกับมีภาวะผู้นำขั้นสูง สามารถขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ด้วยนวัตกรรมที่เหมาะสม สร้างสรรค์บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล”

โดยมีการมีกรอบแนวคิดในการออกแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้ปรัชญาของหลักสูตร เป็นฐานคิดสำคัญ ร่วมกับการประยุกต์หลักการอีก 5 ประการ ประกอบด้วย

1. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2. หลักพุทธธรรม

3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

4. หลักการ แนวคิด และทฤษฎีงานพัฒนาท้องถิ่น

5. หลักการ แนวคิด และทฤษฎีด้านนวัตกรรม

สิ่งสำคัญที่สุด คือ นักศึกษาทุกคนจะต้องนำเอาวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่คิดค้นขึ้นไปใช้ในพื้นที่จริง ให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสามารถขับเคลื่อนงานพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างต่อเนื่องภายหลังจบการศึกษาแล้ว

ปัจจุบันหลักสูตรฯ ได้เปิดการเรียนการสอน รวมทั้งสิ้น 4 รุ่น มีนักศึกษารวม 81 คน สำเร็จการศึกษาไปแล้ว 20 คน

ในการนี้ ได้ทอดพระเนตรนิทรรศการ และบรรยายสรุปผลการเลี้ยงบำรุงโคพันธุ์ชาโรเล่ส์ ของมูลนิธิชัยพัฒนา ที่ได้นำมาเลี้ยงไว้ ณ สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์มหาสารคาม ตำบลแวงนาง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ดำเนินการบำรุงพันธุ์ และขยายพันธุ์โคชาโรเล่ส์ จากแม่พันธุ์ และพ่อพันธุ์ที่มีอยู่ เพื่อเป็นแหล่งสำรองพันธุ์โคของมูลนิธิชัยพัฒนาปัจจุบันมีโคพ่อพันธุ์ 7 ตัว โคแม่พันธุ์ 25 ลูกโคพันธุ์ชาร์โรเลส์ 34 ตัว เป็นเพศผู้ 9 ตัว เพศเมีย 25 ตัว ลูกผสมพันธุ์ชาร์โรเลส์ 50% และพันธุ์บรามันห์ 50% จำนวน 31 ตัว เป็นเพศผู้ 17 ตัว เพศเมีย 14 ตัว ซึ่งมูลนิธิชัยพัฒนา มีแผนที่จะทำการขยายพันธุ์โคให้มีจำนวนมากขึ้น และขยายพื้นที่การเลี้ยงโคไปสู่โครงการพัฒนาของมูลนิธิชัยพัฒนาอื่นๆ ที่มีความพร้อม และส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกร ต่อไป

นอกจากนี้ สำนักงานมุลนิธิชัยพัฒนายังได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏดำเนินการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคชาโรเล่ส์ ให้แก่เกษตรกรเครือข่ายของมหาวิทยาลัยฯ ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม และบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ เกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการ จะพิจารณาเฉพาะเกษตรกรที่มีความพร้อม และมีศักยภาพในการเลี้ยงโคพันธุ์ชาโรเล่ส์ ให้ประสบผลสำเร็จได้เป็นหลัก โดยในปี 2557 จะสนับสนุนโคพันธุ์ชาโรเล่ส์ จากสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์มหาสารคาม จำนวน 10 ตัว ประกอบด้วย โคเพศเมีย จำนวน 5 ตัว และโคเพศผู้ จำนวน 5 ตัว ให้แก่มหาวิทยาลัยฯ เพื่อส่งเสริมให้แก่เกษตรกร ต่อไป

จากนั้น ได้ทอดพระเนตรนิทรรศการผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประกอบด้วย มะละกอพันธุ์ศรีราชภัฏ อาหารโคขุนหมัก กฎหมายน่ารู้สู่ชุมชน การจัดการศึกษาระดับปริญญาโทในเรือนจำเห็ดป่า การพัฒนาพื้นที่ดินเค็ม การเกษตรโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ การพัฒนาเครื่องมือให้อาหารปลาอัตโนมัติโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น

ในการนี้ในช่วงบ่าย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปตรวจเยี่ยมผลสำเร็จจากการศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นโดยจัดทำเป็นโครงการต่างๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน เช่น

เสด็จพระราชดำเนินถึงศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต วิทยาศาสตร์ชุมชน บ้านหนองอิตื้อ อำเภอกันทรวิชัย  จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นผลงานการศึกษาของ ดร. พิชชาภรณ์ ปะตังถาโต นักศึกษา สาขานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น รุ่นที่ 1 โดยมีแนวคิดฐานนวัตกรรมคือ “วิทยาศาสตร์ชุมชนเป็นกระบวนการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การบริโภคที่ยั่งยืนบนฐานศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตความ เป็นไทย” สาระสำคัญคือ ใช้ฐานการเรียนรู้เป็นพื้นที่สาธารณะ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาสู่การบริโภคที่ยั่งยืน ผ่านกิจกรรมอาหาร การรักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม โดยใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 เป็นแนวทางสำคัญ  ในการนี้ ได้ทอดพระเนตรแปลงผักที่ใช้เมล็ดพันธุ์พระราชทานจากศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ และพระราชทานพระราชวโรกาสให้ผู้แทนครอบครัวปะตังถาโต ทูลเกล้าฯถวายเงินสมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา

เสด็จพระราชดำเนินถึงศูนย์รวมใจ ทางไท ทางธรรม ทางพอเพียง บ้านหัวงัว หมู่ที่7  อำเภอยางตลาด  จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นผลงานการศึกษาของ นายอาทิตย์ บำรุงเอื้อ นักศึกษา สาขานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น รุ่นที่ 2 โดยมีแนวคิดฐานนวัตกรรมคือ “เคารพสิ่งสำคัญร่วมกัน สรรค์สร้างสังคมใจงาม” สาระสำคัญคือ เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ สำหรับผู้คนในชุมชนที่กำลังเผชิญกับภาวะเสื่อมถอยทางศีลธรรม โดยให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ ที่จะนำไปสู่การเคารพกันระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ รวมทั้งเชื่อมโยงการมีและใช้ความรู้ด้วยคุณธรรม ทั้งนี้ได้ปรับประยุกต์ใช้หลักคารวะตา 6 เป็นแนวทางสำคัญ

เสด็จพระราชดำเนินถึง ศูนย์เรียนรู้โรงเรียนวิถีอีสาน โรงเรียนกาฬสินธุ์ปัญญานุกูล อำเภอยางตลาด  จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นผลงานการศึกษาของนายสันติ ฤาไชย นักศึกษาสาขานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น รุ่นที่ 2  โดยมีแนวคิดฐานนวัตกรรมคือ “ปรับวิธีเรียน วิธีสอนให้เชื่อมโยงกับภูมิสังคม” สาระสำคัญคือ พัฒนาให้โรงเรียนวิถีอีสาน มีสถานะเป็นโครงการพัฒนาคุณภาพกาเรียนการสอนของ โรงเรียนกาฬสินธุ์ปัญญานุกูล ซึ่งรับผิดชอบดูแลนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ตั้งแต่ระดับอนุบาล-มัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์ฯ ได้ออกแบบการเรียนรู้ที่บูรณาการสาระสำคัญของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกับประเพณี วัฒนธรรมอีสาน โดยเฉพาะการปรับประยุกต์ใช้ “ฮีต 12” ให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ทุกระดับชั้น ประกอบกับการใช้หลักบุญญสิกขา เป็นแนวทางสำคัญ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเกี่ยวข้าวในแปลงนาสาธิต โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก 221 / 369 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรการดำเนินงาน ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จังหวัดสุรินทร์
  • E-mail
  • ระบบงานภายใน
  • โครงสร้างเว็บไซต์
  • English
  • ติดต่อมูลนิธิ
  • สมัครงาน
  • แบบฟอร์มขอรับทุนพระราชทาน

ลิขสิทธิ์ © 2016-2017 มูลนิธิชัยพัฒนา (The Chaipattana Foundation) สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • ความเป็นมา
    • วัตถุประสงค์
    • แนวทางการดำเนินงาน
    • กิจกรรมหลักของมูลนิธิ
      • ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
      • ด้านการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      • ด้านการพัฒนาการเกษตร
      • ด้านการพัฒนาสังคม
      • ด้านพลังงาน
      • ด้านอื่น ๆ
    • ตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิ
    • คณะกรรมการมูลนิธิ
  • โครงการพระราชดำริ
    • ภาคเหนือตอนบน
    • ภาคเหนือตอนล่าง
    • ภาคกลางตะวันออก
    • ภาคกลางตะวันตก
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
    • ภาคใต้
    • โครงการกิจกรรมพิเศษ
      • โครงการปลูกผักปลอดภัยภายใต้มาตรฐาน GAP
      • โครงการบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง
      • โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์พระราชทานเพื่อนช่วยเพื่อน
  • เผยแพร่
    • วารสาร
      • วารสารมูลนิธิชัยพัฒนา
      • วารสารป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด
      • วารสารโคกปรงพัฒนา
      • วารสารสวนป่าพฤกษพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา
      • หนังสืออื่นๆ ของมูลนิธิชัยพัฒนา
    • เอกสารเผยแพร่
      • เกร็ดความรู้
      • เศรษฐกิจพอเพียง
      • กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2
      • เครื่องกลเติมอากาศ RX-5C
      • แนะนำมูลนิธิ
      • สึนามิ
      • โครงการเยาวชนไทยร่วมใจชัยพัฒนา
      • ผลงานภาพวาดบ้านนี้มีรัก
    • มัลติมีเดีย
      • เรื่องเล่าถึงพ่อ...ผ่านบทสัมภาษณ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
      • วีดีโอแนะนำโครงการต่าง ๆ
      • นิทานจันกะผัก
    • โปสเตอร์
      • โปสเตอร์เศรษฐกิจพอเพียง
      • โปสเตอร์กังหันน้ำชัยพัฒนา
      • โปสเตอร์แนะนำมูลนิธิชัยพัฒนา
    • แบบพระอุโบสถวัดพระราม ๙
      • รายชื่อวัดที่ขอใช้แบบพระอุโบสถ วัดพระราม ๙ฯ
  • ข่าว
    • ข่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    • ข่าวผู้บริหารมูลนิธิชัยพัฒนา
    • ข่าวสารทั่วไป
    • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
    • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
      • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
      • ภาคเหนือตอนบน
      • ภาคเหนือตอนล่าง
      • ภาคกลางตอนบน
      • ภาคกลางตอนล่าง
      • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      • ภาคตะวันออก
      • ภาคใต้
      • โครงการพิเศษ
    • ระบบติดตามตรวจสอบย้อนกลับ Chaipattana Traceability QR Code
  • แนวคิดและทฤษฏี
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องน้ำ
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องดิน
    • น้ำดีไล่น้ำเสีย
    • ฝนหลวง
    • เครื่องดักหมอก
    • การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน
    • ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
    • ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้
    • เส้นทางเกลือ
    • การบำบัดน้ำเสียด้วยพืชน้ำกับระบบการเติมอากาศ
    • การพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกร
    • ทฤษฎีใหม่
  • กังหันน้ำชัยพัฒนา
    • กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2
      • เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย
      • พระราชดำริ
      • การศึกษา วิจัย และพัฒนา
      • คุณสมบัติ
      • หลักการทำงาน
      • สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย
    • การขอความอนุเคราะห์การติดตั้ง
      • หลักเกณฑ์
      • วิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติ
      • การซ่อมบำรุงดูแลรักษาเครื่อง
      • การติดตามผลการดำเนินงานโครงการ
    • ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
      • ความสำคัญของทรัพยากรน้ำ
      • การเลือกพืชบำบัดน้ำเสียและการดูแลรางพืช
      • หลักการทั่วไปของระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
      • พืชที่ไม่สามารถนำมาใช้ในงานปรับปรุงคุณภาพน้ำ
      • การดูแลระบบรางพืชกรองน้ำ (plantbed filter)
      • สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย
    • การติดตั้งและบำรุงรักษา
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศ
      • การบำรุงรักษากังหันน้ำชัยพัฒนา
      • การบำรุงรักษาเครื่องกลเติมอากาศ RX-5C
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศกรุงบรัสเซลล์
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศวัดพุทธคยา
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศวัดพุทธประทีป
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศ ปตท. สาขาหนองแต่ง สปป.ลาว
  • บริจาค
  • 30ปีมูลนิธิชัยพัฒนา
    • 30 เรื่องพิเศษ
    • 8 ผลงานนักวาดภาพประกอบ
      • ภัทรพัฒน์
      • จากธรรมชาติ สู่ธรรมชาติ
      • “Harmony of Living” เปลี่ยนสุขภาพของโลกให้ดีขึ้น กับ Bloody Hell Big Head
      • “MIRRORS" ภาพสะท้อนของการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัย
      • “สายใย ชัยพัฒนา” คุณค่าของชีวิตสู่งานศิลปะสไตล์ THE DUANG
      • “Together” ความอบอุ่นของการได้อยู่ร่วมกัน
      • “Land of Luck” ดินแดนแห่งความโชคดี ภายใต้โครงการด้านการเกษตร ในมุมมองของ SIRI
      • “GIVE” เพราะการให้เงิน ไม่เท่าการให้ความรู้ ถอดบทเรียนจากโครงการด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • แรงบันดาลใจแห่งชัยชนะ
    • ภาพยนตร์สารคดี
    • เกี่ยวกับมูลนิธิชัยพัฒนา
      • ความเป็นมาของมูลนิธิ
      • ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
      • ด้านการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      • ด้านการพัฒนาการเกษตร
      • ด้านพลังงาน
      • ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
      • ด้านการเพิ่มศักยภาพทางการตลาดให้ชุมชน (ร้านภัทรพัฒน์)
      • หลักสูตรผู้นำการพัฒนาอย่างยั่งยืน
      • โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ
      • ด้านการพัฒนาสังคม
    • กิจกรรมในงาน
    • จากนภาผ่านภูผาสู่มหานที