- หน้าแรก
- โครงการพระราชดำริ (จำแนกตามวัตถุประสงค์ของโครงการ)
- โครงการศูนย์สาธิต
- โครงการสาธิตการพัฒนาพื้นที่ บ้านยามกาน้อย อ. เพ็ญ จ.อุดรธานี
โครงการสาธิตการพัฒนาพื้นที่ บ้านยามกาน้อย อ. เพ็ญ จ.อุดรธานี
โครงการสาธิตการพัฒนาพื้นที่บ้านยามกาน้อย
ตำบลบ้านธาตุ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
ความเป็นมา
นายโสภาค เพ็งสว่าง ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน ที่บ้านยามกาน้อย ตำบลบ้านธาตุ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี เนื้อที่รวม 11 ไร่ 40 ตารางวา เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์
พระราชดำริ
เมื่อ วันที่ 13 มิถุนายน 2544 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริให้ "จัด ทำแปลงสาธิตตัวอย่าง" โดยกำหนดแนวทางการพัฒนาที่ดินในลักษณะดินตื้นปนลูกรัง เพื่อเป็นแนวทางเลือกแก่เกษตรกร บริเวณใกล้เคียงนำไปประยุกต์ใช้
หน่วยงานรับผิดชอบ
สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุดรธานี
ผลการดำเนินงาน
- ผลการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม
- กิจกรรม 1 แปลงสาธิตระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานในสภาพดินตื้นมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและใช้ น้ำฝน ไม้ผลหลัก ได้แก่ มะขามเปรี้ยว ส้มโอพันธุ์ขาวทองดี มะม่วงสายพันธุ์ต่าง ๆ ไม้ผลรอง ได้แก่ การปลูกฝรั่งแซมระหว่างมะขามเปรี้ยว การปลูกแก้วมังกรแซมระหว่างส้มโอ นอกจากนี้ ได้ปลูกไผ่เลี้ยง ผักหวานบ้าน และจัดทำกิจกรรมเพาะเห็ด ได้แก่ เห็ดนางรม เห็นขอนขาว และเห็ดฮังการี
- กิจกรรม 2 หมูหลุม เลี้ยงหมูพันธุ์ภูพานจำนวน 3 ตัว เป็นพ่อพันธุ์ 1 ตัว แม่พันธุ์ 2 ตัว เพื่อเป็นแหล่งผลิต ปุ๋ยหมักที่ได้จากมูลสัตว์ โดยปุ๋ยที่ได้สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมด้านพืช
- กิจกรรม 3 เป็ดเทศ-ไก่พื้นเมือง เลี้ยงเป็ดเทศ จำนวน 25 ตัว เป็นพ่อพันธุ์ 3 ตัว แม่พันธุ์ 2 ตัว เป็ดรุ่น 10 ตัว ลูกเป็ด 10 ตัว และเลี้ยงไก่พื้นเมืองจำนวน 75 ตัว เป็นพ่อพันธุ์ 5 ตัว แม่พันธุ์ 10 ตัว ไก่รุ่น 20 ตัว ไก่เล็ก 40 ตัว
- กิจกรรม 4 ด้านประมง เลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ จำนวน 2 บ่อ บ่อละ 600 ตัว เลี้ยงเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2553 สามารถจำหน่ายได้ประมาณเดือนธันวาคม -มกราคม 2553 โดยเลี้ยงรุ่นละ 90 วัน
2. การขยายผล ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรในเขตเทศบาลบ้านธาตุ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานีและผู้สนใจทั่วไป ในด้านการขยายพันธุ์ไม้ผล การตอนกิ่ง การติดตา และการต่อกิ่ง
การดำเนินงานในระยะต่อไป
จะทำการศึกษา ทดลอง หาพันธุ์พืชชนิดใหม่ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่มาปลูกในพื้นที่โครงการ และนำผลการปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จขยายผลออกสู่ราษฎรและเกษตรกรโดยรอบ โครงการ นอกจากนี้จะทำการคัดเลือกชาวบ้านหรือเกษตรกรที่มีความขยันแต่ขาดแคลนทุน ทรัพย์เข้ามาดำเนินการโครงการเกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่โครงการ โดยจะทำการแบ่งพื้นที่บางส่วนให้เกษตรกรเข้ามาทำกิน ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตร ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายของโครงการบางส่วนด้วย