- หน้าแรก
- โครงการพระราชดำริ (จำแนกตามวัตถุประสงค์ของโครงการ)
- โครงการศูนย์สาธิต
- โครงการอนุรักษ์และพัฒนาวิถีชีวิตชุมชนอัมพวา ตำบล อัมพวา อำเภอ อัมพวา จังหวัด สมุทรสงคราม
โครงการอนุรักษ์และพัฒนาวิถีชีวิตชุมชนอัมพวา ตำบล อัมพวา อำเภอ อัมพวา จังหวัด สมุทรสงคราม
ความเป็นมา นางสาวประยงค์ นาคะวะรังค์ ข้าราชการบำนาญโรงพยาบาลทรวงอก กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจำนวน 5 แปลง พื้นที่รวม 21 ไร่ 12 ตารางวา ในตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจกรรมของมูลนิธิชัยพัฒนา โดยมูลนิธิชัยพัฒนาได้รับโอนเป็นกรรมสิทธิ์ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2545 | |
พระราชดำริ | |
การดำเนินงานตามพระราชดำริ | |
การดำเนินงาน 1. โดยสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ในปี 2549 สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้ดำเนินการตามแผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาวิถีชีวิตชุมชนอัมพวา ระยะที่ 2 ซึ่งจะเป็นการเตรียมความพร้อมด้านกายภาพบริเวณลานอเนกประสงค์ และสวนผลไม้ เพื่อรองรับการเชื่อมโยงทางกายภาพ และกิจกรรมของชุมชน การเชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิตชุมชน และกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยมีงานที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ได้แก่ การก่อสร้างเรือนแถวเช่า 16 ห้อง บริเวณสวนผลไม้ 2 ไร่ เพื่อย้ายผู้เช่าบริเวณลานอเนกประสงค์ การก่อสร้างเรือนไม้อนุรักษ์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมบริเวณลานอเนกประสงค์ ปัจจุบัน มีงานที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ งานปรับปรุงภูมิทัศน์ลานอเนกประสงค์ งานระบบไฟฟ้า งานก่อสร้างห้องน้ำ การจัดทำทางเดินในสวน การจัดสร้างเรือนเพาะชำ โรงปุ๋ยหมัก และการปรับปรุงพื้นที่ในสวน รวมทั้งระบบระบายน้ำในพื้นที่ โดยจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2549 นอกจากนี้ ยังได้รับพระราชทานพระราชานุมัติงบประมาณในการดำเนินการตามแผนแม่บท ระยะที่ 3 ประกอบด้วยการจัดสร้างโรงสาธิตการทำอาหารและขนมพื้นบ้าน และงานก่อสร้างปรับปรุงเรือนแถวไม้ริมน้ำส่วนที่เหลือ 18 ห้อง โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2550 2. โดยกรมวิชาการเกษตร (สวนผลไม้) กรมวิชาการเกษตร รับผิดชอบการปรับปรุงดูแลสวนผลไม้ รวมทั้งการจัดหาพันธุ์ไม้ต่างๆ เพื่อให้เป็นแหล่งความรู้แก่เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป โดยในปี 2549 ได้ดำเนินการจัดทำทะเบียนประวัติ รวมทั้งจัดทำข้อมูลต้นไม้ และการวัดอัตราการเจริญเติบโตพืชที่ปลูกใหม่ ได้แก่ ชมพู่ทับทิมจันทร์ ชมพู่น้ำดอกไม้ มะนาว มะพูด มะปราง มะลัง มะตาด มะขามป้อม มะตูม ส้มโอ ตะลิงปลิง ชำมะเลียง ละมุด สีดา ละมุดกรอบ น้อยโหน่ง หว้า ยอ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยการปลูกไม้ดอกไม้ประดับหน้าแปลง และขุดลอกร่องสวนขนัดที่ 2-5 สำหรับด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้จัดทำบอร์ดนิทรรศการ และฝึกอบรมกระบวนการผลิตพืชปลอดภัยให้กับชมรมชาวสวนอัมพวา จำนวน 30 คน | |
การดำเนินงานในระยะต่อไป ในปี 2550 จะสามารถเริ่มเปิดให้บริการรองรับกิจกรรมในพื้นที่ลานอเนกประสงค์ พื้นที่ริมน้ำ และพื้นที่สวนผลไม้ ตามแนวพระราชดำริ โดยจะมีการจัดทำแผนการเชื่อมโยงวิถีชีวิตชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น กับกิจกรรมชุมชน และกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยว ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้ประโยชน์จากพื้นที่เรือนแถวไม้ริมน้ำ ลานอเนกประสงค์ และสวนผลไม้ และมีการจัดตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจากชุมชน องค์กรท้องถิ่น และผู้ทรงคุณวุฒิ ทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงาน รวมทั้งว่าจ้างผู้จัดการโครงการที่มีความรู้ความเข้าใจในวิถีชีวิตชุมชน และมีความสามารถในเชิงธุรกิจ เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการโครงการในพื้นที่ ในส่วนของสวนผลไม้ และการให้บริการด้านวิชาการเกษตรสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา จะได้ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร หน่วยงานส่วนท้องถิ่น และกลุ่มเกษตรกรภายในพื้นที่จัดทำกรอบแผนการดำเนินการพัฒนาสวนผลไม้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเป็นแหล่งศึกษาเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้พื้นเมือง การรักษาระบบนิเวศน์ของสวนผลไม้ และการบริการด้านวิชาการเกษตรของท้องถิ่น และชุมชนใกล้เคียง |
โครงการสาธิตการผลิตข้าวพันธุ์ดี อ. ศรีมหาโพธิ์ จ. ปราจีนบุรี
43 / 43
Next item