- หน้าแรก
- แบบพระอุโบสถวัดพระราม ๙
- วัดที่ขอใช้แบบพระอุโบสถวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
- วัดชัยมงคล ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
วัดชัยมงคล ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
วัดชัยมงคล
ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
วันที่ได้รับพระราชานุมัติ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
เรื่องเดิม
พระครูจารุธรรมโมภาส เจ้าคณะตำบลบ้านกู่ เจ้าอาวาสวัดชัยมงคล ได้มีหนังสือแจ้งมายังสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ขออนุญาตนำแบบพระอุโบสถวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานคร นำไปใช้เป็นต้นแบบในการก่อสร้างอุโบสถที่วัดชัยมงคล ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการประกอบศาสนพิธีของวัด
ข้อเท็จจริง
สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นของวัดชัยมงคล ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม โดยได้ไปพบกับพระครูจารุธรรโมภาส เจ้าคณะตำบลบ้านกู่ เจ้าอาวาสวัดชัยมงคล เพื่อรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ประวัติความเป็นมา
วัดชัยมงคล ตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างวัดเมื่อปี พ.ศ. 2448 โดยนายสงค์คราม-นางคาม ไชยโก ชาวบ้านหนองชำและดงบัง ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านกู่ เมื่อปี พ.ศ. 2430 เดิมเป็นป่าดงดิบ เหตุที่ชื่อบ้านกู่เนื่องจากมีกู่ซึ่งบรรจุพระพุทธรูปนาคปรกอยู่บริเวณนั้น ซึ่งกู่ดังกล่าวน่าจะสร้างขึ้นในสมัยขอม เมื่อชาวบ้านอพยพมาอยู่มากขึ้น จึงได้ช่วยกันสร้างวัดขึ้นประจำหมู่บ้าน และเรียกชื่อวัดตามชื่อตำบลว่า “วัดบ้านกู่” นายสงค์ครามได้บริจาคไม้เพื่อสร้างเสนาสนะ ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดชัยมงคล” ซึ่งน่าจะผันมาจากนามสกุลของนายสงค์คราม ไชยโก
ต่อมา สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดมหาสารคาม ได้มีหนังสือรับรองสภาพวัด ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ณ วันที่ 11 มกราคม 2555
2. สถานที่ตั้งและเนื้อที่วัด
วัดชัยมงคล มีสภาพเป็นสวนป่า มีความเป็นธรรมชาติ สงบ ร่มรื่น มีเนื้อที่รวม 19 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา ตามเอกสารโฉนดที่ดินเลขที่ 17017 เล่ม 171 หน้า 17 ระวาง 5640 III 0432-1 เลขที่ดิน 57 หน้าสำรวจ 1757 อาณาเขตทิศเหนือประมาณ 3 เส้น19 วา 1 ศอก จดถนนสาธารณะและที่ดินของชาวบ้าน ทิศใต้ประมาณ 2 เส้น 17 วา 2 ศอก จดเขตของหมู่บ้านกู่ ทิศตะวันออกประมาณ 7 เส้น 5 วา 2 ศอก จดถนนสาธารณะและที่ดินสวนของชาวบ้าน ทิศตะวันตกประมาณ 7 เส้น 13 วา จดถนนสาธารณะ
3. เจ้าอาวาสและพระสงฆ์
วัดชัยมงคล มีพระภิกษุจำพรรษาประจำ 4 รูป โดยพระครูจารุธรรโมภาส ฉายา เตชวโร อายุ 53 ปี พรรษา 31 ปี เป็นเจ้าอาวาส ได้รับการแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 21 ปี ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบล เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2554 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 5 ปี
มีทำเนียบเจ้าอาวาส นับตั้งแต่ พ.ศ. 2527 จนถึงปัจจุบัน รวม 11 รูป ดังนี้
รูปที่ 1 พระสิงห์ รูปที่ 7 พระทน
รูปที่ 2 พระสอน รูปที่ 8 พระถาวร
รูปที่ 3 พระสา รูปที่ 9 พระโส
รูปที่ 4 พระหนู รูปที่ 10 พระสมศรี
รูปที่ 5 พระที รูปที่ 11 ปัจจุบัน พระครูจารุโรรมโมภาส (ทองพูล เตชวโร)
รูปที่ 6 พระน้อย
- สิ่งก่อสร้างภายในวัด
ภายในวัดชัยมงคลมีเสนาสนะ อันได้แก่ ศาลาการเปรียญ ศาลาอเนกประสงค์ วิหาร ปูชนียวัตถุโบราณ กุฏิพระสงฆ์ จำนวน 7 หลัง และศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มีรายละเอียด ดังนี้
5. อุโบสถ
วัดชัยมงคลเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน หมู่ 1 และหมู่ 9 ซึ่งมีชุมชนประมาณ 247 หลังคาเรือนในตำบลบ้านกู่ เป็นที่จัดกิจกรรมของชุมชนดังกล่าว ได้แก่ กิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กิจกรรมตักบาตร ทอดกฐิน ถือศีลในวันพระ เป็นสถานที่ทำวัตรปฏิบัติธรรมในช่วงวันพระ บวชชีพราหมณ์ บวชสามเณรฤดูร้อน นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่จัดกิจกรรมของชุมชนร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่ งานกีฬาประจำชุมชน และงานประเพณีประจำท้องถิ่น “งานบุญสรงกู่” ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 20-21 เมษายน 2559 ตามจันทรคติ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5
ปัจจุบันยังขาดอุโบสถในการประกอบพิธีสังฆกรรมตามพระวินัย สวดปาฏิโมกข์ และประกอบศาสนกิจอื่นๆ จึงจำเป็นต้องใช้อุโบสถของวัดในชุมชนบ้านโนนรัง หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช ซึ่งห่างจากวัดชัยมงคลประมาณ 1 กิโลเมตร ในการประกอบพิธีสังฆกรรม ในการนี้ เจ้าอาวาสและกรรมการวัดมีความเห็นร่วมกันในการที่จะดำเนินการก่อสร้างอุโบสถตามแบบของพระอุโบสถวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก โดยได้จัดเตรียมสถานที่บริเวณส่วนกลางของวัดไว้สำหรับการก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในชุมชนมีความพร้อมที่จะช่วยกันร่วมทำบุญในการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ในครั้งนี้ จนกว่าจะแล้วเสร็จ