- หน้าแรก
- แบบพระอุโบสถวัดพระราม ๙
- วัดที่ขอใช้แบบพระอุโบสถวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
- วัดศรีอุดมพร ตำบลเฝ้าไร่ อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย
วัดศรีอุดมพร ตำบลเฝ้าไร่ อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย
วัดศรีอุดมพร ตำบลเฝ้าไร่ อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย
วันที่ได้รับพระราชานุมัติ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๙
เรื่องเดิม
พระบุญสิงห์ สิริปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดศรีอุดมพร ได้มีหนังสือแจ้งมายังสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ขออนุญาตนำแบบพระอุโบสถวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานคร นำไปใช้เป็นต้นแบบในการก่อสร้างอุโบสถที่วัดศรีอุดมพร ตำบลเฝ้าไร่ อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการประกอบศาสนพิธีของวัด
ข้อเท็จจริง
สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นของวัดศรีอุดมพร ตำบลเฝ้าไร่ อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย โดยได้ไปพบกับพระบุญสิงห์ สิริปญฺโญ และกำนันตำบล พร้อมด้วยคณะกรรมการวัด เพื่อรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ประวัติความเป็นมา
วัดศรีอุดมพร ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลเฝ้าไร่ อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย โดยนายตัน – นางคำ เป็นผู้บริจาคที่ดิน ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2481 โดยนายโง่น พิมพันธ์ ผู้ใหญ่บ้าน นายหอม บุญวิฐาน และนางเทา ทองอ่อน พร้อมด้วยราษฎรช่วยกันสร้างเป็นสำนักสงฆ์ ต่อมาสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดหนองคาย ได้มีหนังสือรับรองสภาพวัดให้เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีชื่ออยู่ในทะเบียนวัดของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ณ วันที่ 5 กันยายน 2548
2. สถานที่ตั้งและเนื้อที่วัด
วัดศรีอุดมพร มีเนื้อที่รวม 5 ไร่ 3 งาน 99 ตารางวา ตามเอกสารโฉนดที่ดินเลขที่ 1672 เล่ม 17 หน้า 72 ระวาง 5644 I 2088 เลขที่ดิน 11 หน้าสำรวจ 66 อาณาเขตทิศเหนือประมาณ 2 เส้น 4 วา 2 ศอก จดถนนสายนาฮำ-บ้านแพง ทิศใต้ประมาณ 2 เส้น 11 วา 2 ศอก จดถนนสาธารณะ ทิศตะวันออกประมาณ 2 เส้น 5 วา 2 ศอก จดถนนสายนาฮำ-บ้านเซิม ทิศตะวันตกประมาณ 2 เส้น 2 วา จดทางสาธารณะ
การเดินทางไปยังวัดศรีอุดมพร ใช้เส้นทางหมายเลข 2230 อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเผ้าไร่ประมาณ 4 กิโลเมตร พื้นที่โดยรอบทำการเกษตร ปลูกข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และอ้อย
3. เจ้าอาวาสและพระสงฆ์
วัดศรีอุดมพร มีพระภิกษุจำพรรษาประจำ 4 รูป โดยพระบุญสิงห์ ฉายา สิริปญฺโญ อายุ 45 ปี พรรษา 20 ปี เป็นเจ้าอาวาส ได้รับการแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 10 ปี
มีทำเนียบเจ้าอาวาส นับตั้งแต่ พ.ศ. 2481 จนถึงปัจจุบัน รวม 16 รูป ดังนี้
รูปที่ 1 พระสิน อภิชาโต พ.ศ. 2481 – 2485
รูปที่ 2 พระกอง อภินนฺโท พ.ศ. 2486 – 2489
รูปที่ 3 พระมั่น ธมฺมิโก พ.ศ. 2490 – 2491
รูปที่ 4 พระแก้ว จิตฺตกาโร พ.ศ. 2482 - 2494
รูปที่ 5 พระคำแดง จตฺตภโย พ.ศ. 2495 – 2499
รูปที่ 6 พระสำราญ จารุวณฺโณ พ.ศ. 2500 – 2504
รูปที่ 7 พระหงส์ สิริปุญฺโญ พ.ศ. 2505 – 2508
รูปที่ 8 พระวิเชียร ทีฆายุโก พ.ศ. 2509 – 2514
รูปที่ 9 พระวิชัย ญาณุตฺตโม พ.ศ. 2515 – 2516
รูปที่ 10 พระประหยัด ฐิตธมฺโม พ.ศ. 2517 – 2519
รูปที่ 11 พระประเวท ฐานุตฺตโม พ.ศ. 2520 – 2522
รูปที่ 12 พระสมัค ถิรจิตฺโต พ.ศ. 2523 - 2525
รูปที่ 13 พระประสิทธิ์ ธมฺมทินฺโน พ.ศ. 2526 – 2527
รูปที่ 14 พระวิสุทธิ์ นนฺทโก พ.ศ. 2528 – 2530
รุปที่ 15 พระวิชัย จารณธมฺโม พ.ศ. 2531 – 2534
รูปที่ 16 พระบุญสิงห์ สิริปุญฺโญ พ.ศ. 2534 – ปัจจุบัน
- สิ่งก่อสร้างภายในวัด
ภายในวัดศรีอุดมพรมีเสนาสนะ อันได้แก่ ศาลาการเปรียญ หอระฆัง กุฏิพระสงฆ์ จำนวน 6 หลัง ห้องเก็บของ มีรายละเอียด ดังนี้
5. อุโบสถ
วัดศรีอุดมพรเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน หมู่ 1 ซึ่งมีชุมชน 5 หมู่บ้าน ประมาณ 1,000 หลังคาเรือน เป็นที่จัดกิจกรรมของชุมชนดังกล่าว ได้แก่ กิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กิจกรรมตักบาตร ทอดกฐิน ถือศีลในวันพระ เป็นสถานที่ทำวัตรปฏิบัติธรรมในช่วงวันพระ เวียนเทียนรอบศาลาการเปรียญ เป็นสถานที่ประชุมของหมู่บ้าน
ปัจจุบันยังขาดอุโบสถในการประกอบพิธีสังฆกรรมตามพระวินัย สวดปาฏิโมกข์ และประกอบศาสนกิจอื่นๆ จึงจำเป็นต้องใช้อุโบสถของวัดโนนยาง ตำบลนาดี อำเภอเผ้าไร่ ซึ่งห่างจากวัดศรีอุดมพร ประมาณ 10 กิโลเมตรในการประกอบพิธีสังฆกรรม ในการนี้ เจ้าอาวาสและกรรมการวัดมีความเห็นร่วมกันในการที่จะดำเนินการก่อสร้างอุโบสถตามแบบของพระอุโบสถวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก โดยได้จัดเตรียมสถานที่บริเวณหน้าวัดไว้สำหรับการก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในชุมชนมีความพร้อมที่จะช่วยกันร่วมทำบุญในการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ในครั้งนี้ จนกว่าจะแล้วเสร็จ