- หน้าแรก
- แบบพระอุโบสถวัดพระราม ๙
- วัดที่ขอใช้แบบพระอุโบสถวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
- วัดไหล่ดุม ตำบลสังเม็ก อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
วัดไหล่ดุม ตำบลสังเม็ก อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
วัดไหล่ดุม ตำบลสังเม็ก อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
วันที่ได้รับพระราชนุมัติ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๙
เรื่องเดิม
พระมหาอาคม กิตฺติญาโณ เจ้าอาวาสวัดไหล่ดุม ได้มีหนังสือแจ้งมายังสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ขออนุญาตนำแบบพระอุโบสถวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานคร นำไปใช้เป็นต้นแบบในการก่อสร้างอุโบสถที่วัดไหล่ดุม ตำบลสังเม็ก อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการประกอบศาสนพิธีของวัด
ข้อเท็จจริง
สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นของวัดไหล่ดุม ตำบลสังเม็ก อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยได้ไปพบกับพระมหาอาคม กิตฺติญาโณ เจ้าอาวาสวัด พร้อมด้วยคณะกรรมการวัด เพื่อรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ประวัติความเป็นมา
วัดไหล่ดุม ตั้งอยู่เลขที่ 206 หมู่ที่ 2 ตำบลสังเม็ก อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เดิมเป็นสำนักสงฆ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 โดยนายณัฐพล ปราบภัย เป็นผู้สร้างวัด ได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนา ตามข้อ 3 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2541 ต่อมากระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศตั้งเป็นวัด ตามข้อ 4 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ณ วันที่ 14 กรกฎาคม 2553
2. สถานที่ตั้งและเนื้อที่วัด
วัดไหล่ดุม มีเนื้อที่รวมประมาณ 33 ไร่ 1 งาน 13 ตารางวา พื้นที่วัดแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ พื้นที่สาธารณประโยชน์ จำนวน 26 ไร่ 1 งาน 64 ตารางวา ตามเอกสารหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ ศก 0849 ที่ดินเลขที่ 275 ระวาง 5938 III 6824 ออก ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2536 และพื้นที่โฉนดวัด จำนวน 6 ไร่ 3 งาน49 ตารางวา ตามเอกสารโฉนดที่ดินเลขที่ 30195 เล่ม 302 หน้า 95 ระวาง 5938 III 6824 เลขที่ดิน 226 หน้าสำรวจ 4573
การเดินทางไปยังวัดไหล่ดุม ใช้ถนนหมายเลข 2085 เส้นทางกุดปลาขาว – บ้านไหล่ดุม ห่างจากอบต. สังเม็ก ประมาณ 10 กิโลเมตร ห่างจากชุมชนประมาณ 400 เมตร พื้นที่การเกษตรโดยรอบทำนา
3. เจ้าอาวาสและพระสงฆ์
วัดไหล่ดุม มีพระภิกษุจำพรรษาประจำ 8 รูป โดยพระมหาอาคม ฉายา กิตฺติญาโณ อายุ 30 ปี พรรษา 10 ปี วิทยฐานะ น.ธ.เอก เป็นเจ้าอาวาส ได้รับการแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2554 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 4 ปี 7 เดือน
- สิ่งก่อสร้างภายในวัด
ภายในวัดไหล่ดุมมีเสนาสนะ อันได้แก่ ศาลาหอฉัน ศาลาปฏิบัติธรรม ศาลาพักผ่อน เรือนห้องน้ำ กุฏิพระสงฆ์ พระใหญ่ ศาลาตะเคียนทอง โรงครัว และเมรุ มีรายละเอียด ดังนี้
4. อุโบสถ
วัดไหล่ดุมเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านตำบลสังเม็ก จำนวน 230 หลังคาเรือน มีประชากรกว่า 1,050 คน เป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมของชุมชน ได้แก่ กิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กิจกรรมตักบาตร ทอดกฐิน ถือศีลในวันพระ เป็นสถานที่ทำวัตรปฏิบัติธรรมในช่วงวันพระ มีอาคารปฏิบัติธรรม สามารถรองรับผู้มาปฏิบัติธรรมได้เป็นจำนวนมาก องค์การบริหารส่วนตำบลใช้เป็นสถานที่ในการจัดงานสวดมนต์ในวันสำคัญทางศาสนา บวชชีพราหมณ์ จัดอบรมความรู้ให้แก่เยาวชน และอนาคตจะทำเป็นศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
ปัจจุบัน วัดไหล่ดุม ยังขาดอุโบสถในการประกอบพิธีสังฆกรรมตามพระวินัย สวดปาฏิโมกข์ และประกอบศาสนกิจอื่นๆ ในการนี้ เจ้าอาวาส กรรมการวัด และพุทธศาสนิกชนในพื้นที่ได้พิจารณาเห็นสมควรที่จะดำเนินการก่อสร้างอุโบสถขึ้นตามแบบของพระอุโบสถวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก เพื่อใช้เป็นที่บำเพ็ญศาสนกิจที่เหมาะสมและสง่างาม เนื่องจากปัจจุบันต้องเดินทางไปยังอำเภอเมืองเพื่อทำสังฆกรรม ทั้งนี้ วัดไหล่ดุมได้จัดเตรียมสถานที่ไว้เรียบร้อยแล้วสำหรับการก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในชุมชนมีความพร้อมที่จะช่วยกันร่วมทำบุญในการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ในครั้งนี้ จนกว่าจะแล้วเสร็จ