- หน้าแรก
- รายงานความก้าวหน้าโครงการเขตภาคเหนือตอนบน
- โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน จ.เชียงราย (7 ตุลาคม 2561)
โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน จ.เชียงราย (7 ตุลาคม 2561)
วันที่ 1-2 ตุลาคม 2561 เจ้าหน้าที่งานวิจันสู่แปลงปลูกและประสานงานวิจัย เดินทางไปทดลองและรับเครื่องต้นแบบ สำหรับนำมาวัดความชื้นเมล็ดชาน้ำมัน ณ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม
วันที่ 1-2 ตุลาคม 2561 เจ้าหน้าที่งานวิจันสู่แปลงปลูกและประสานงานวิจัย เดินทางไปทดลองและรับเครื่องต้นแบบ สำหรับนำมาวัดความชื้นเมล็ดชาน้ำมัน ณ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม
วันที่ 1-2 ตุลาคม 2561 เจ้าหน้าที่โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันส่วนงานวิจัยแปลงปลูก, ประสานงานวิจัย ร่วมด้วย เจ้าหน้าที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมทำการรับเมล็ดชาน้ำมันจากชาวบ้านเขตพื้นที่แปลงปลูกเขตปางมะหัน จำนวน 6,536.2 กิโลกรัม
วันที่ 30 กันยายน 2561 โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน ทำการต้อนรับคณะมหาวิทยาลัยพะเยาวิทยาเขตเชียงราย (ภาคพิเศษ) จำนวน 27 ท่าน เข้ามาเยี่ยมชมโครงการฯฟังบรรยายสรุปประวัติความเป็นมา ประโยชน์ต่างๆที่ได้การปลูกวิจัยพัฒนาชาน้ำมันและเลือกสนับสนุนผลิตภัณฑ์โครงการฯ
วันที่ 29 กันยายน 2561 เจ้าหน้าที่ช่างซ่อมบำรุงได้ดำเนินการย้ายป้ายธงญี่ปุ่นจากบริเวณ ขวามือป้ายชื่อโครงการฯ นำมาติดตั้งบริเวณด้านพื้นที่ระหว่างทางเข้าโครงการฯประตู 3และประตู 4 เพื่อการประชาสัมพันธ์ที่เห็นได้ชัดเจน
วันที่ 17-21 กันยายน 2561 เจ้าหน้าที่งานวิจัยสู่แปลงปลูก, ประสานงานวิจัยและช่างซ่อมบำรุงได้เข้าร่วมอบรมเชิงวิชาการ เรื่อง "เตาพลังานชีวมวล" ณ อ. เวียงสา จ.น่าน
วันที่ 17-21 เจ้าหน้าที่งานวิจัยสู่แปลงปลูก, ประสานงานวิจัยและช่างซ่อมบำรุงได้เข้าร่วมอบรมเชิงวิชาการ เรื่อง "เตาพลังานชีวมวล" ณ อ. เวียงสา จ.น่าน
วันที่ 26-27 กันยายน 2561 เจ้าหน้าที่โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันส่วนงานวิจัยแปลงปลูก, ประสานงานวิจัยและจัดซื้อ ร่วมด้วย เจ้าหน้าที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมทำการรับเมล็ดชาน้ำมัน เขตพื้นที่แปลงปลูก เขตปูนะ จำนวน 13,532 กิโลกรัม
วันที่ 29 กันยายน 2561 ส่วนช่างซ่อมบำรุงโรงาน ได้ดำเนินการประสานช่างภายนอก เข้ามาดำเนินการติดตั้งเต็นท์อุโมงค์แบบพับเก็บ โดยได้ทำการติดตั้ง 3 จุด ณ บริเวณโรงงานผลิต มีรายละเอียดดังนี้ จุดที่ 1. บริเวณหน้าโรงอบไซโล จุดที่ 2. บริเวณหน้าห้องเย็นขนาด โดยทั้ง 2 จุด เต็นท์มีขนาด 6×11.5×3.5 เมตร ติดล้อไนล่อนล็อกได้ ขนาด 4 นิ้ว จำนวน 18 ล้อ จุดที่ 3. บริเวณข้างอาคารเก็บสินค้าทางทิศเหนือ ขนาด 6×10×5.6 เมตร ลักษณะแบบโค้งเป็นเสายึดติดพื้นปูนมีประตูแบบม่านรูด 2ด้านซ้ายขวา
รายงานโดย : โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน จ.เชียงราย
ผู้รายงาน: สำนักสารสนเทศ