สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงติดตามการดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนา ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 18 และ 20 กุมภาพันธ์ 2552
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552
เสด็จพระราชดำเนินถึงโครงการศึกษาและพัฒนาการปลูกชาน้ำมัน ของมูลนิธิชัยพัฒนา ณ บ้านปางมะหัน และบ้านปูนะ ตำบลเทิดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โครงการศึกษาและพัฒนาการปลูกชาน้ำมันของมูลนิธิชัยพัฒนา เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2547 ปัจจุบันมีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 3,683 ไร่ อยู่ในพื้นที่บริเวณเนินปางมะหัน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย พื้นที่ในโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย พื้นที่บริเวณแม้หม้อ ปูนะ จะตี จังหวัดเชียงราย พื้นที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (โป่งน้อย) อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่แปลงชาน้ำมัน บ้านโปง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา และพื้นที่บริเวณสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ฯ เป็นต้น
หลังจากนั้นโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหารและระดับหัวหน้างาน พร้อมทั้งผู้บริหาร อบต.แม่ฟ้าหลวง เทศบาลตำบลห้วยไคร้ และผู้บริหารโครงการเปิดทองหลังพระเข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับการกำจัดขยะด้วยกล่องคอนกรีต ณ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสียการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสียตามแนวพระราชดำริ ภาคเหนือ จังหวัดอุตรดิตถ์ และภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี พร้อมทั้งมีการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมแบบเข้มข้นให้แก่เจ้าหน้าที่ดังกล่าว เพื่อระดมความคิดในการวางแผนการจัดการขยะและน้ำเสียบนพื้นที่ ดอยตุง ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม ถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2551 และในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ได้ติดตามผลการทดลองกำจัดขยะด้วยกล่องคอนกรีตในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ บริเวณกิโลเมตรที่ 15 ซึ่งเป็นการประยุกต์การหมักขยะจากเศษอาหารของร้านอาหารในพื้นที่โครงการฯ การประยุกต์การหมักเปลือกกาแฟให้เป็นปุ๋ยหมักที่บริเวณโรงกาแฟ และการกำจัดขยะจากตลาดสดซึ่งเป็นขยะอินทรีย์ด้วยกล่องคอนกรีตที่ตลาดห้วยน้ำขุ่น
ด้านการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกชาน้ำมัน ที่ผ่านมาได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลศึกษาพฤติกรรมการเจริญเติบโตและศักยภาพการให้ผลผลิตของชาน้ำมันในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงสำรวจรวบรวมและศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชสกุลชา (Camellia L.) ในประเทศไทย และวิจัยน้ำมันจากเมล็ดชา เพื่อประโยชน์ทางด้านอื่นๆ เช่น นำมาพัฒนาเป็นเครื่องสำอาง เป็นต้น การดำเนินงานในปี 2552 มูลนิธิชัยพัฒนาจะร่วมกับโครงการพัฒนาดอยตุงฯ และผู้เชี่ยวชาญจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เน้นการศึกษาในเรื่องประมาณการผลผลิตชาน้ำมัน และศึกษาการตั้งโรงงานผลิตชาน้ำมันที่เหมาะสม รวมถึงศึกษาการใช้ประโยชน์สูงสุดของโรงงานชาน้ำมันโดยการศึกษาพันธุ์พืชที่ให้น้ำมันชนิดอื่นๆ เช่น ฟักทอง ผักน้ำมัน มะรุม มะเยา หรือ แมกคาเดเมีย เป็นต้น นอกจากนี้ยังศึกษาและวิจัยประโยชน์อื่นๆของชาน้ำมัน เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เช่นเครื่องสำอาง ยารักษาโรค และหาวิธีป้องกันศัตรูของชาน้ำมันและโรคต่างๆ อันเป็นสาเหตุของการเจริญเติบโตของต้นชา ผลที่ได้รับจากการจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ผลผลิตที่ได้จากเมล็ดชาเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพสูงเทียบเท่าน้ำมันมะกอก เนื่องจากมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงและมีสัดส่วนของกรดไขมันชนิดต่างๆ ใกล้เคียงกัน หรือดีกว่าน้ำมันมะกอกเล็กน้อย ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริให้มูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการศึกษาวิจัยการสกัดน้ำมันจากเมล็ดชาน้ำมันเพื่อใช้ในการประกอบอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ของประเทศไทยเพราะยังไม่มีหน่วยงานใดทำการวิจัยมาก่อน มีเพียงการนำเข้าน้ำมันชาสำเร็จรูปมาจำหน่ายในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งนี้การวิจัยและพัฒนาการปลูกชาน้ำมันนอกจากจะสามารถนำเมล็ดชามาสกัดเป็นน้ำมันคุณภาพดีได้แล้ว พื้นที่เพาะปลูกยังช่วยลดการเกิดไฟป่าและเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่พร้อมทั้งดูแลป่าและดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับป่าได้ ทั้งนี้ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 หลังจากนั้นคณะผู้บริหารและนักวิจัยของโครงการแหลมผักเบี้ยฯ จึงได้เดินทางไปยังโครงการพัฒนาดอยตุงฯ เพื่อศึกษาพื้นที่เบื้องต้นสำหรับวางแผนในการจัดการขยะและน้ำเสียด้วยวิธีธรรมชาติช่วยธรรมชาติอันเป็นหลักการสำคัญ ในการดำเนินงานของโครงการแหลมผักเบี้ยฯ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการจัดการขยะในพื้นที่ดอยตุง ผลการทดลองในการประยุกต์เทคโนโลยีดังกล่าวปรากฏว่า มีข้อจำกัดในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกล่องคอนกรีตกำจัดขยะ อาทิ อากาศมีอุณหภูมิต่ำมากในช่วงฤดูหนาว ขนาดของกล่องคอนกรีตไม่เหมาะสมกับปริมาณขยะ การเลือกใช้ดินที่นำมาหมักขยะยังไม่ถูกต้อง ตลอดจนข้อจำกัดที่เกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์และปริมาณจุลินทรีย์เริ่มต้นของระบบมีจำนวนน้อย คณะนักวิจัยของโครงการแหลมผักเบี้ยฯ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของโครงการพัฒนาดอยตุงฯ จึงได้ดำเนินงานวิจัยเพื่อปรับใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคม และศึกษาพฤติกรรมการทิ้งขยะและวิถีชีวิตชุมชนควบคู่ไปกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงกับพื้นที่สูงที่มีข้อจำกัดดังกล่าว และจะดำเนินการเผยแพร่ให้แก่ชุมชนหรือภูมิสังคมที่ใกล้เคียงต่อไป ------------------------------------------------ สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ของกรมธนารักษ์ บริเวณบ้านน้ำจำ และบริเวณสี่แยกทางขึ้นบ้านห้วยน้ำริน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เพื่อทอดพระเนตรสถานที่ที่จะใช้ในการจัดสร้างศูนย์พัฒนาพืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ และโรงงานชาน้ำมันและพืชน้ำมันอื่นๆ ของมูลนิธิฯ
เสด็จพระราชดำเนินไปยังโครงการบำบัดขยะและบำบัดน้ำเสียในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ซึ่งสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา โดยโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ได้ร่วมกับโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ดำเนินการบำบัดน้ำเสียและขยะในโครงการฯ ทั้งนี้ สืบเนื่องจากโครงการเปิดทองหลังพระ ท่องเที่ยวสืบสานโครงการพระราชดำริ โดย ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล ได้นำคณะผู้บริหารของโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ผู้บริหารของ อบต.แม่ฟ้าหลวง และผู้บริหารโครงการเปิดทองหลังพระฯ เข้าศึกษาดูงาน ณ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2551 ทำให้เกิดแนวความคิดเพื่อจะนำเทคโนโลยีการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีธรรมชาติ ตามแนวพระราชดำริ ของโครงการแหลมผักเบี้ยฯ ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการขยะและน้ำเสียในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ