logochaipat

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • ความเป็นมา
    • วัตถุประสงค์
    • แนวทางการดำเนินงาน
    • กิจกรรมหลักของมูลนิธิ
    • ตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิ
    • คณะกรรมการมูลนิธิ
  • โครงการพระราชดำริ
    • ภาคเหนือตอนบน
    • ภาคเหนือตอนล่าง
    • ภาคกลางตะวันออก
    • ภาคกลางตะวันตก
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
    • ภาคใต้
    • โครงการกิจกรรมพิเศษ
  • เผยแพร่
    • วารสาร
    • เอกสารเผยแพร่
    • มัลติมีเดีย
    • โปสเตอร์
    • แบบพระอุโบสถวัดพระราม ๙
  • ข่าว
    • ข่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    • ข่าวผู้บริหารมูลนิธิชัยพัฒนา
    • ข่าวสารทั่วไป
    • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
    • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
    • ระบบติดตามตรวจสอบย้อนกลับ Chaipattana Traceability QR Code
  • แนวคิดและทฤษฏี
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องน้ำ
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องดิน
    • น้ำดีไล่น้ำเสีย
    • ฝนหลวง
    • เครื่องดักหมอก
    • การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน
    • ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
    • ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้
    • เส้นทางเกลือ
    • การบำบัดน้ำเสียด้วยพืชน้ำกับระบบการเติมอากาศ
    • การพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกร
    • ทฤษฎีใหม่
  • กังหันน้ำชัยพัฒนา
    • กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2
    • การขอความอนุเคราะห์การติดตั้ง
    • ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
    • การติดตั้งและบำรุงรักษา
  • บริจาค
  • 30ปีมูลนิธิชัยพัฒนา
    • 30 เรื่องพิเศษ
    • 8 ผลงานนักวาดภาพประกอบ
    • แรงบันดาลใจแห่งชัยชนะ
    • ภาพยนตร์สารคดี
    • เกี่ยวกับมูลนิธิชัยพัฒนา
    • กิจกรรมในงาน
    • จากนภาผ่านภูผาสู่มหานที
    TH Thai EN English |
facebook youtube tiktok icon
logochaipat mobile
facebook  youtube
ข่าวมูลนิธิชัยพัฒนา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในกิจกรรมมูลนิธิชัยพัฒนา
  • ข่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • ข่าวผู้บริหารมูลนิธิชัยพัฒนา
  • ข่าวสารทั่วไป
  • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
  • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
  • ระบบติดตามตรวจสอบย้อนกลับ Chaipattana Traceability QR Code
  • หน้าแรก
  • ข่าว
  • ข่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรความก้าวหน้าการดำเนินงาน ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จังหวัดสระบุรี

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรความก้าวหน้าการดำเนินงาน ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จังหวัดสระบุรี

 

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2557

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จังหวัดสระบุรี

ในปีพุทธศักราช 2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนา ก่อตั้งศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จังหวัดเชียงราย ขึ้นเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ผักพื้นบ้านสำหรับพระราชทานราษฎรที่ประสบภัยพิบัติ ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2554 ได้ทรงมีกระแสรับสั่งกับนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการผลิตพันธุ์พืชไร่ เพื่อพระราชทานราษฎรที่ประสบภัยพิบัติ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา จึงได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จังหวัดสระบุรี ขึ้นบนที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนา ตำบลเขาดินพัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี มีพื้นที่ประมาณ 200 ไร่

ในเดือนสิงหาคม 2554 ได้ปรับพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ เพื่อปลูกถั่วเขียวผิวมัน พันธุ์กำแพงแสน 2 และพันธุ์ชัยนาท ในปีต่อมา ได้เริ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว มะละกอ ฟักทอง และผักพื้นบ้าน อาทิ บวบ ฟักแฟง น้ำเต้า พริก กระเจี๊ยบเขียว มะเขือ แคบ้านดอกขาว และทดสอบความเสถียรของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเทียนหวานอีกด้วย

ในปี 2555 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จังหวัดสระบุรี ผลิตพันธุ์ข้าวพระราชทานสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติ โดยได้พระราชทานพระราชานุมัติให้ชาวบ้านชุมชน ตำบลพุคา และตำบลหนองทรายขาว อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เข้าร่วมผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทาน ในโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์พระราชทาน ‘เพื่อนช่วยเพื่อน’ ของมูลนิธิชัยพัฒนา

มูลนิธิชัยพัฒนา ยังได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทำงานวิจัยดังนี้

ร่วมกับภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวบรวมพันธุ์ ประเมินพันธุ์ พัฒนาพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ ณ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ภายใต้โครงการวิจัยที่ชื่อว่า การปรับปรุงพันธุ์ฟักทองเพื่อสารอาหารสูง ทดสอบพันธุ์และผลิตเมล็ดพันธุ์ ณ ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ

ได้รวบรวมพันธุ์ฟักทองจำนวน 98 สายพันธุ์ ได้พัฒนาและทดสอบพันธุ์ ที่มีลักษณะที่ดี มีความสม่ำเสมอพันธุ์ที่นำมาทดสอบ ณ ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ พบว่าฟักทองที่สามารถปรับตัวได้ดีในช่วงเดือนพฤศจิกายน คือสายพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกมาจากฟักทองพื้นเมืองจังหวัดศรีษะเกษ เป็นฟักทองทรงผลแป้น ที่มีเนื้อสีเหลืองส้ม ผิวเรียบ เมื่อถึงระยะเก็บเกี่ยวจะมีผิวเปลือกสีส้มแดง มีน้ำหนัก 1.2 – 1.8 กิโลกรัม ส่วนฟักทองที่สามารถให้ผลผลิตได้ในช่วงฤดูร้อน สภาพอากาศมีอุณหภูมิสูง ในช่วงการออกดอกเดือนเมษายน คือสายพันธุ์ที่คัดเลือกมาจากพันธุ์พื้นเมืองของ  อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เป็นฟักทองที่มีพูเป็นร่องอย่างชัดเจน เนื้อเป็นสีเหลืองเข้ม ผิวเมื่อระยะเก็บเกี่ยวเป็นสีส้มแดง ขนาดผล 1.4-2  กิโลกรัม ซึ่งทั้งสองพันธุ์อยู่ระหว่างขั้นตอนการขึ้นทะเบียนพันธุ์ใหม่กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โครงการพัฒนาพันธุ์และผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอ เป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์พัฒนาพันธุ์พืช จักรพันธ์เพ็ญศิริ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2555 เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ พัฒนาพันธุ์ และผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอพันธุ์ดี สำหรับใช้เป็นเมล็ดพันธุ์พระราชทานแก่เกษตรกรและราษฎรใช้ในครัวเรือนและช่วยฟื้นฟูพื้นที่หลังเกิดภัยพิบัติต่างๆ ปัจจุบันได้รวบรวมพันธุ์ได้ 58 สายพันธุ์ มีทั้งพันธุ์บริโภคสุก แปรรูป และทำส้มตำ ทั้งเนื้อแดงและเนื้อเหลือง ปัจจุบันสามารถคัดพันธุ์ดี รสชาติหวานอร่อย ได้ 2 สายพันธุ์ ขณะนี้ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม กำลังประเมินและคัดพันธุ์ รอบที่ 3 เพื่อให้พันธุ์มีความสม่ำเสมอยิ่งขึ้น โดยคาดว่าจะขึ้นทะเบียนพันธุ์และเผยแพร่พันธุ์ได้ในปี 2558

ระหว่างปี 2555-2557 ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จังหวัดสระบุรี ผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอได้ 50 กิโลกรัม หรือประมาณ 2,500,000 เมล็ด ซึ่งสามารถนำไปแจกจ่ายแก่เกษตรกร (50 เมล็ด/ครัวเรือน) ได้ 50,000 ครัวเรือน โดยมีการทดสอบการงอกเพื่อควบคุมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์อย่างต่อเนื่อง

มูลนิธิชัยพัฒนายังได้ร่วมกับคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทดสอบพันธุ์สายพันธุ์ถั่วเขียวทนน้ำ เป็นการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียวเพื่อทำถั่วงอก เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เริ่มจากการผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์วิธีแบบเมล็ดต่อต้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จนกระทั่งได้สายพันธุ์แท้จำนวนหลากหลายพันธุกรรม จึงนำมาทดสอบผลผลิต เพื่อคัดหาสายพันธุ์ที่เหมาะในการทำถั่วงอก ทนทานต่อสภาวะโลกร้อนและน้ำท่วมขัง  โดยทำการปลูกทดสอบที่ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จังหวัดสระบุรี และที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ใน 3 ฤดู พบว่า ได้ถั่วเขียวที่มีผลผลิตสูง 180 – 220 กิโลกรัมต่อไร่ มีลักษณะเด่น คือขนาดเมล็ดโต ทนน้ำท่วมขังได้ 5 – 8 วัน มีอายุวันออกดอกสั้น มีอายุในการเก็บเกี่ยว 65 – 70 วัน ทนแล้งปานกลาง จึงเหมาะสำหรับปลูกในต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน แต่ถ้าปลูกในที่หนาวเย็นจะทำให้ต้นเตี้ย ข้อสั้น ไม่แตกกิ่ง ผลผลิตลดลง

นอกจากนี้ ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริและมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ยังได้ร่วมกันศึกษาประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ดินที่เป็นประโยชน์ต่อการ ปลดปล่อยธาตุอาหาร และเพิ่มสมดุลความอุดมสมบูรณ์ของดิน ในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินส่วนพระองค์บ้านวังรี จังหวัดนครนายก พบกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจน กลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายฟอสเฟต และกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถย่อยเซลลูโลส เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบปริมาณเชื้อราไมคอร์ไรซ่าอยู่ในปริมาณที่สูง ซึ่งเชื้อราไมคอร์ไรซ่านั้นถือว่ามีประโยชน์ในการนำมาใช้ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและสามารถทำให้พืชดูดใช้ธาตุอาหารที่จำเป็นได้หลายชนิด อาทิเช่น ฟอสฟอรัส ขณะนี้ กำลังคัดเลือกจุลินทรีย์ในแต่ละกลุ่มที่มีประสิทธิภาพมาเพิ่มปริมาณในรูปหัวเชื้อชนิดผง และนำกลับไปใช้ในการผลิตผักอินทรีย์ในพื้นที่

ส่วนโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินในศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จังหวัดสระบุรี ได้มีการวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งโดยภาพรวมยังถือว่าดินมีค่าความเป็นกรดด่างในระดับกลางถึงด่างอ่อน มี ปริมาณอินทรีย์วัตถุค่อนข้างต่ำ ส่วนธาตุฟอสฟอรัสและกลุ่มจุลธาตุ เช่น เหล็ก แมงกานีส และสังกะสี อยู่ในระดับที่ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช และได้คัดแยกจุลินทรีย์กลุ่มไรโซเบียมที่ได้จากถั่วเขียวแต่ละสายพันธุ์ในพื้นที่ของศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จังหวัดสระบุรี มาเพิ่มปริมาณและคัดเลือกเชื้อไรโซเบียมดังกล่าวให้เหมาะสมต่อสายพันธุ์ของถั่วเขียว และนำมาผลิตเป็นหัวเชื้อไรโซเบียมเพื่อใช้กับการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวในฤดูกาลถัดไป ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยเคมีให้น้อยลง

มูลนิธิชัยพัฒนา ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชอาหารที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีพในชีวิตประจำวันที่มีคุณภาพดีรวบรวมและสะสมเพื่อให้เกษตรกรมีพันธุ์พืชที่ดี  แม้ไม่ใช่พันธุ์ที่ดีที่สุดในเชิงเศรษฐกิจ แต่จะเป็นพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพเพียงพอ ที่สามารถสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพให้กับครัวเรือน สร้างความแข็งแรงมั่นคงให้เกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน ดังพระราชดำรัสที่รับสั่ง ณ วังสระปทุม เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2552 ความว่า

“ปัจจัยสำคัญของการเกษตร นอกจากจะเป็นเรื่องน้ำและดินแล้ว การมีพันธุ์พืชที่ดีให้เกษตรกรปลูก เป็นเรื่องที่สำคัญมาก อีกอย่างหนึ่งก็คือ การที่ทำเองจัดเองทำให้เราได้ศึกษาวิธีการว่า พันธุ์ต่างๆนอกจากจะทำให้มีปริมาณมากขึ้นแล้ว คุณภาพที่จะเหมาะสมในแต่ละแห่งจะทำอย่างไร เพราะถ้าเราทำเองจะทราบว่าตรงไหนต้องทำอย่างไร เป็นความรู้ของพวกเราทุกคนด้วย”

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงนำคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ เยี่ยมชมโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ จังหวัดสระแก้ว 224 / 369 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานการสรุปและปิดการประชุมสัมมนาโครงการของสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ปี 2557
  • E-mail
  • ระบบงานภายใน
  • โครงสร้างเว็บไซต์
  • English
  • ติดต่อมูลนิธิ
  • สมัครงาน
  • แบบฟอร์มขอรับทุนพระราชทาน

ลิขสิทธิ์ © 2016-2017 มูลนิธิชัยพัฒนา (The Chaipattana Foundation) สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • ความเป็นมา
    • วัตถุประสงค์
    • แนวทางการดำเนินงาน
    • กิจกรรมหลักของมูลนิธิ
      • ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
      • ด้านการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      • ด้านการพัฒนาการเกษตร
      • ด้านการพัฒนาสังคม
      • ด้านพลังงาน
      • ด้านอื่น ๆ
    • ตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิ
    • คณะกรรมการมูลนิธิ
  • โครงการพระราชดำริ
    • ภาคเหนือตอนบน
    • ภาคเหนือตอนล่าง
    • ภาคกลางตะวันออก
    • ภาคกลางตะวันตก
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
    • ภาคใต้
    • โครงการกิจกรรมพิเศษ
      • โครงการปลูกผักปลอดภัยภายใต้มาตรฐาน GAP
      • โครงการบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง
      • โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์พระราชทานเพื่อนช่วยเพื่อน
  • เผยแพร่
    • วารสาร
      • วารสารมูลนิธิชัยพัฒนา
      • วารสารป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด
      • วารสารโคกปรงพัฒนา
      • วารสารสวนป่าพฤกษพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา
      • หนังสืออื่นๆ ของมูลนิธิชัยพัฒนา
    • เอกสารเผยแพร่
      • เกร็ดความรู้
      • เศรษฐกิจพอเพียง
      • กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2
      • เครื่องกลเติมอากาศ RX-5C
      • แนะนำมูลนิธิ
      • สึนามิ
      • โครงการเยาวชนไทยร่วมใจชัยพัฒนา
      • ผลงานภาพวาดบ้านนี้มีรัก
    • มัลติมีเดีย
      • เรื่องเล่าถึงพ่อ...ผ่านบทสัมภาษณ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
      • วีดีโอแนะนำโครงการต่าง ๆ
      • นิทานจันกะผัก
    • โปสเตอร์
      • โปสเตอร์เศรษฐกิจพอเพียง
      • โปสเตอร์กังหันน้ำชัยพัฒนา
      • โปสเตอร์แนะนำมูลนิธิชัยพัฒนา
    • แบบพระอุโบสถวัดพระราม ๙
      • รายชื่อวัดที่ขอใช้แบบพระอุโบสถ วัดพระราม ๙ฯ
  • ข่าว
    • ข่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    • ข่าวผู้บริหารมูลนิธิชัยพัฒนา
    • ข่าวสารทั่วไป
    • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
    • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
      • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
      • ภาคเหนือตอนบน
      • ภาคเหนือตอนล่าง
      • ภาคกลางตอนบน
      • ภาคกลางตอนล่าง
      • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      • ภาคตะวันออก
      • ภาคใต้
      • โครงการพิเศษ
    • ระบบติดตามตรวจสอบย้อนกลับ Chaipattana Traceability QR Code
  • แนวคิดและทฤษฏี
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องน้ำ
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องดิน
    • น้ำดีไล่น้ำเสีย
    • ฝนหลวง
    • เครื่องดักหมอก
    • การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน
    • ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
    • ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้
    • เส้นทางเกลือ
    • การบำบัดน้ำเสียด้วยพืชน้ำกับระบบการเติมอากาศ
    • การพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกร
    • ทฤษฎีใหม่
  • กังหันน้ำชัยพัฒนา
    • กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2
      • เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย
      • พระราชดำริ
      • การศึกษา วิจัย และพัฒนา
      • คุณสมบัติ
      • หลักการทำงาน
      • สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย
    • การขอความอนุเคราะห์การติดตั้ง
      • หลักเกณฑ์
      • วิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติ
      • การซ่อมบำรุงดูแลรักษาเครื่อง
      • การติดตามผลการดำเนินงานโครงการ
    • ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
      • ความสำคัญของทรัพยากรน้ำ
      • การเลือกพืชบำบัดน้ำเสียและการดูแลรางพืช
      • หลักการทั่วไปของระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
      • พืชที่ไม่สามารถนำมาใช้ในงานปรับปรุงคุณภาพน้ำ
      • การดูแลระบบรางพืชกรองน้ำ (plantbed filter)
      • สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย
    • การติดตั้งและบำรุงรักษา
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศ
      • การบำรุงรักษากังหันน้ำชัยพัฒนา
      • การบำรุงรักษาเครื่องกลเติมอากาศ RX-5C
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศกรุงบรัสเซลล์
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศวัดพุทธคยา
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศวัดพุทธประทีป
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศ ปตท. สาขาหนองแต่ง สปป.ลาว
  • บริจาค
  • 30ปีมูลนิธิชัยพัฒนา
    • 30 เรื่องพิเศษ
    • 8 ผลงานนักวาดภาพประกอบ
      • ภัทรพัฒน์
      • จากธรรมชาติ สู่ธรรมชาติ
      • “Harmony of Living” เปลี่ยนสุขภาพของโลกให้ดีขึ้น กับ Bloody Hell Big Head
      • “MIRRORS" ภาพสะท้อนของการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัย
      • “สายใย ชัยพัฒนา” คุณค่าของชีวิตสู่งานศิลปะสไตล์ THE DUANG
      • “Together” ความอบอุ่นของการได้อยู่ร่วมกัน
      • “Land of Luck” ดินแดนแห่งความโชคดี ภายใต้โครงการด้านการเกษตร ในมุมมองของ SIRI
      • “GIVE” เพราะการให้เงิน ไม่เท่าการให้ความรู้ ถอดบทเรียนจากโครงการด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • แรงบันดาลใจแห่งชัยชนะ
    • ภาพยนตร์สารคดี
    • เกี่ยวกับมูลนิธิชัยพัฒนา
      • ความเป็นมาของมูลนิธิ
      • ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
      • ด้านการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      • ด้านการพัฒนาการเกษตร
      • ด้านพลังงาน
      • ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
      • ด้านการเพิ่มศักยภาพทางการตลาดให้ชุมชน (ร้านภัทรพัฒน์)
      • หลักสูตรผู้นำการพัฒนาอย่างยั่งยืน
      • โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ
      • ด้านการพัฒนาสังคม
    • กิจกรรมในงาน
    • จากนภาผ่านภูผาสู่มหานที