- หน้าแรก
- โครงการพระราชดำริ (จำแนกตามวัตถุประสงค์ของโครงการ)
- โครงการสงเคราะห์และสาธารณประโยชน์
- โครงการพัฒนาที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านบึงแวง ต.ศรีภิรมย์ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก
โครงการพัฒนาที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านบึงแวง ต.ศรีภิรมย์ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก
โครงการพัฒนาที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนา (สหกรณ์การเกษตรและข้าว) บ้านบึงแวง
ตำบลศรีภิรมย์ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
ความคความเป็นมา
นางวิจิตร โง้ววัฒนา และครอบครัว ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 ตำบลศรีภิรมย์ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เนื้อที่รวม
พระราชดำริ
สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับสำนักงาน กปร. ได้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวตามแนวทางที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริไว้คือ "ให้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทั้งหมด โดยให้เป็นพื้นที่ปลูกข้าวและทำกิจกรรมสหกรณ์ผู้ทำนา สำหรับราษฎรที่อยู่ในพื้นที่เดิม ให้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับมูลนิธิชัยพัฒนา โดยให้มีพื้นที่และขนาดที่ดินเท่ากับที่ทำกินอยู่เดิม" ต่อมา ในปี 2549 สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ร่วมกับคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการเข้ามาสำรวจพื้นที่โครงการฯ พร้อมกับได้ดำเนินการจัดทำแผนงานโครงการเป็นโครงการแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่แบบผสมผสานตามแนวพระราชดำริ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ในการทำการเกษตรในพื้นที่ และเป็นโครงการบริการวิชาการทางด้านการเกษตรแก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจทั่วไป
หน่วยงานรับผิดชอบ
สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก
ผลการดำเนินงาน
สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ประสานกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ในการดำเนินการพัฒนาที่ดินแปลงดังกล่าว โดยในปี2551 ได้จัดทำแผนพัฒนาปรับปรุงดูแลรักษาพื้นที่ โดยมี 3 กิจกรรมที่ปฏิบัติ ดังนี้
1. กิจกรรมการปลูกไม้ผล ได้แก่
- แปลงเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตและขยายพันธุ์ส้มโอ ได้ดำเนินการ ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ตามความเหมาะสมกับความต้องการของส้มโอ ดูแลด้านวัชพืชต่าง ๆ รอบโคนต้น และเตรียมต้นกล้าเพื่อรอการขยายพันธุ์ส้มโอ ทั้ง 4 พันธุ์ เพื่อขยายผลให้กับชาวบ้านได้ปลูกกันในพื้นที่และจำหน่ายให้แก่เกษตรกรที่สนใจต่อไป
- แปลงเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตและขยายพันธุ์มะนาวนอกฤดู ในวงบ่อซีเมนต์ ได้บังคับให้มะนาวออกฤดู จำนวน 50 ต้น ในช่วงเดือนเมษายน ได้ผลผลิตจำนวน 100 - 120 ลูกต่อต้น ซึ่งได้จำหน่ายไปบ้างและคงสภาพเดิมไว้ให้เกษตรกรดูเป็นตัวอย่างในแปลง เป็นต้น หลังจากที่เก็บผลผลิตมะนาวบางส่วน ได้ดำเนินการขยายพันธุ์โดยวิธีการตอนกิ่ง ประมาณ 500 กิ่ง เพื่อจำหน่ายและขยายผลให้เกษตรกรในพื้นที่ที่สนใจต่อไป
- แปลงเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตและขยายพันธุ์ไม้ผลผสมผสาน การจัดการดูแล แปลงเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตและขยายพันธุ์ไม้ผลผสมผสาน เช่น ต้นมะปราง ต้นฝรั่ง ต้นน้อยหน่า ต้นมะม่วง ต้นมะละกอ เป็นต้น ให้เหมาะสมกับความต้องการของพืชแต่และชนิด และปลูกมันเทศเป็นพืชแซมระหว่างแถว เพื่อใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- แปลงเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตและการขยายพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม ได้ดำเนินการจัดการด้านวัชพืชตามโคนต้น ให้น้ำให้ปุ๋ย ตามความเหมาะสม เพื่อให้ต้นมะพร้าวน้ำหอมสามารถให้ผลผลิตในปีต่อ ๆ ไปได้
2. กิจกรรมปลูกพืชล้มลุก โดยได้ปลูกผักเพื่อเพิ่มความหลากหลายของชนิดผักต่าง ๆ ในแปลงเพื่อมีผลผลิตมากมายออกจำหน่าย ส่วนแปลงปลูกพืชล้มลุก มีการปลูกพืชหมุนเวียน เช่น มันเทศ ข้าวโพดหวาน ถั่วต่าง ๆ เป็นต้น ผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ขยายให้เกษตรกรในพื้นที่ และนำไปจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้ของโครงการฯ ที่เหลือก็นำมาบริโภคภายในโครงการ ฯ
3. แปลงเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพ เพื่อใช้ในแปลงปลูกพืชต่าง ๆ ภายในโครงการฯ โดยจะใช้สลับกับสารเคมีเป็นการลดการใช้สารเคมี เป็นการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีในการปราบแมลง-ศัตรูพืช
4. การทดสอบผลิตเห็ดในโรงเรือน ได้เริ่มจากการซื้อก้อนเห็ดที่สำเร็จรูปมาแล้ว มาทดสอบผลิตในโรงเพาะชำก่อน หลังจากนั้น จึงเริ่มเรียนรู้กระบวนการผลิตที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การดูแลรักษาเห็ด ตลอดจนการเก็บเกี่ยว และการจำหน่าย เพื่อเป็นทางเลือกให้กับชาวบ้านที่สนใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้
5. โครงการเลี้ยงหมูหลุม โครงการเลี้ยงไก่พื้นเมือง โครงการเลี้ยงปลาในกระชัง ได้มีการทดสอบการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางเลือกสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน ที่สนใจ เพื่อนำไปปฏิบัติตามได้
สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ได้ดำเนินงานการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีในแปลงเกษตรกร จำนวน 10 ราย รายละ
การดำเนินงานในระยะต่อไป
จะดำเนินการพัฒนากิจกรรมเดิมในโครงการ ฯ ตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ และเพิ่มเติมโครงการเพื่อเป็นทางเลือกให้กับชุมชน ดังนี้
1. โครงการผลิตน้ำส้มควันไม้เพื่อลดการใช้สารเคมี น้ำส้มควันไม้ เป็นผลิตภัณฑ์อีกชนิดหนึ่งที่สามารถขับไล่แมลง ศัตรูพืชได้ดีระดับหนึ่ง ซึ่งมีกรรมวิธีการผลิตที่ไม่ยุ่งยาก และสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีของเกษตรกร ซึ่งในพื้นที่ของโครงการฯ ได้นำมาใช้กับแปลงผลิตมะนาวและไม้ผลอื่น ๆ เพื่อเป็นการสาธิตการพึ่งพาตนในพื้นที่ของโครงการฯ
2. งานบริการวิชาการแก่ชุมชน จะแบ่งลักษณะของงาน ออกเป็น 3 ลักษณะ คือ การฝึกอบรม การสาธิตและนิทรรศการ และการให้คำปรึกษาด้านการเกษตร เป็นต้น
ศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดพิษณุโลก จะได้ทำการขยายผลการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีในแปลงเกษตรกรข้างเคียงที่สนใจต่อไป