- หน้าแรก
- โครงการพระราชดำริ (จำแนกตามวัตถุประสงค์ของโครงการ)
- โครงการสงเคราะห์และสาธารณประโยชน์
- โครงการสหกรณ์การเกษตรบ้านโรงวัว จำกัด ในที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนา ต.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
โครงการสหกรณ์การเกษตรบ้านโรงวัว จำกัด ในที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนา ต.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
โครงการสหกรณ์การเกษตรบ้านโรงวัว จำกัด (ในที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนา)
ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
ความเป็นมา
พื้นที่โครงการศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ฯ (บ้านโรงวัว)ได้มีราษฎรทูลเกล้าฯ ถวาย แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นำโดยนายพิศิษฐ์ วรอุไร ประธานคณะทำงานโครงการศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นจำนวนเนื้อที่ตามสรุปรายงานถวาย จำนวน 168 ไร่
พระราชดำริ
เมื่อปี 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมกลุ่มราษฎรบ้านโรงวัว ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า “งานนี้เป็นประโยชน์ถึงประชาชนอย่างแท้จริง ให้ขยายงานให้มาก และหาคนให้มาช่วยทำงานเพิ่มขึ้น”ในปี 2528 ได้ทรงมีนโยบายให้ยกฐานะของโครงการฯขึ้น เป็นศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ หลังจากนั้นโครงการศูนย์ (บ้านโรงวัว) ได้เริ่มดำเนินการจากการปลูกไม้ดอกและปรับเปลี่ยนตามแผนงานมาเป็นการปลูกลำไยในพื้นที่และได้มีการรวมกลุ่มเพื่อดำเนินการจัดตั้งเป็น “สหกรณ์การเกษตรบ้านโรงวัว จำกัด เมื่อปี พ.ศ.2546
หน่วยงานรับผิดชอบ
สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา (บ้านดอยก้อม)
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่
การดำเนินงาน
โครงการศูนย์ฯ (บ้านโรงวัว) ได้เริ่มดำเนินการจากการปลูกไม้ดอกและปรับเปลี่ยนตามแผนงานมาเป็นการปลูกลำไย ซึ่งในปัจจุบันราษฎรในพื้นที่ก็ได้ดำเนินการประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง และได้มีการรวมกลุ่ม เพื่อดำเนินการจัดตั้งเป็น "กลุ่มสหกรณ์การเกษตรบ้านโรงวัว จำกัด" โดยได้มีการดำเนินการจัดตั้งกลุ่มโดย การดำเนินงานผ่านทางสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการดำเนินการในรูปแบบของสหกรณ์ฯ การเกษตร การจัดการในระบบสมาชิกกลุ่มชาวสวนลำไยในพื้นที่โครงการฯ เต็มรูปแบบ โดยการดำเนินการดังกล่าวได้พัฒนา และส่งผลให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถจ่ายค่าเช่าที่ดินให้กับมูลนิธิชัยพัฒนา
การดำเนินการงานในระยะต่อไป
ได้มีการจัดตั้งและรวมกลุ่มชาวบ้านเป็นสหกรณ์ และได้มีการขยายงานเพิ่มมากขึ้น โดยดำเนินการจัดทำโครงการลำไยปลอดสารพิษ และการแปรรูปลำไยนอกฤดูกาล เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกของกลุ่มเห็นความสำคัญของการปลูกลำไยไร้สาร และเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสหกรณ์ต่อไป