- หน้าแรก
- โครงการพระราชดำริ (จำแนกตามวัตถุประสงค์ของโครงการ)
- โครงการสงเคราะห์และสาธารณประโยชน์
- โครงการอนุรักษ์และพัฒนาวิถีชีวิตชุมชนอัมพวา อ.อัมพวา จ. สมุทรสงคราม
โครงการอนุรักษ์และพัฒนาวิถีชีวิตชุมชนอัมพวา อ.อัมพวา จ. สมุทรสงคราม
โครงการอนุรักษ์และพัฒนาวิถีชีวิตชุมชนอัมพวา
ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ความเป็นมา
นางสาวประยงค์ นาคะวะรังค์ ข้าราชการบำนาญโรงพยาบาลทรวงอก กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจำนวน 5 แปลง พื้นที่รวม
พระราชดำริ
1. พัฒนาและอนุรักษ์ศิลปกรรม วิถีชีวิต และวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของชุมชนอัมพวาทั้งในด้านกายภาพ และการดำเนินชีวิตของผู้อาศัยในพื้นที่และชุมชน โดยการเข้ามามีส่วนร่วมในการประกอบอาชีพ และประกอบกิจกรรมภายในพื้นที่
2. พัฒนาพื้นที่ให้เกิดศักยภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เชื่อมโยงกับอุทยาน ร.2 และแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ของจังหวัดสมุทรสงคราม รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้พื้นเมือง การรักษาระบบนิเวศน์ของสวนผลไม้ และแหล่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชนอัมพวา
3. สร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ให้กับชุมชนจากการจำหน่ายผลผลิต ผลิตภัณฑ์แปรรูป และค่าตอบแทนจากการให้บริการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
4. ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาแบบบูรณาการ โดยสร้างโอกาสให้ชุมชน องค์กรท้องถิ่น และองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการบริหารจัดการพื้นที่ เพื่อให้เกิดความสมดุลในการพัฒนา และการพึ่งพาตนเองของชุมชนตามแนวคิดระบบเศรษฐกิจพอเพียง
หน่วยงานรับผิดชอบ
สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา และกรมวิชาการเกษตร
ผลการดำเนินงาน
1. กิจกรรมสวนชัยพัฒนานุรักษ์ ดำเนินการบำรุงพืชพื้นเมืองในสวนและพันธุ์พืชที่มีอยู่ในโครงการให้มีความสมบูรณ์และสวยงาม จัดทำป้ายบอกชื่อพันธุ์ไม้ในสวน แปลงเพาะชำเพื่อนำมาประดับตกแต่งภายในโครงการ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และผู้เข้าชมโครงการที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. ห้องนิทรรศการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ เป็นการจัดนิทรรศการ และกิจกรรมเรื่องต่างๆ หมุนเวียนให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดงานเทศกาล และกิจกรรมของโครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ ได้แก่ การจัดนิทรรศการวิถีชีวิตอัมพวา และนิทรรศการอาหารไทยในอัมพวา เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม และเผยแพร่ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชนอัมพวาให้กับชุมชน และผู้สนใจ เน้นการให้ความรู้แก่ในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการจัดกิจกรรม และการให้ผู้เข้าชมมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดการเข้าใจ ทั้งการนำต้นไม้ กล้วย มะพร้าว เครื่องใช้ของโบราณ หรือแม้กระทั้งนำขนมจริงมาให้ผู้สนใจชิม และลองทำได้จริง ทั้งนี้ยังมีป้ายแสดงข้อมูล แผ่นผับ และมัคคุเทศน์น้อยคอยให้ข้อมูลเพื่อเพิ่มความสนใจให้แก่นิทรรศการอีกด้วย
3. ลานวัฒนธรรมนาคะวะรังค์และลานสวนชัยพัฒนานุรักษ์ จัดพื้นที่ลาดโล่งระหว่างเรือนแถวริมน้ำ และสวนสำหรับจัดกิจรรมของโครงการ และเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามาจัดตั้งร้านค้า ทั้งนี้ ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2551 ได้ปรับปรุงพื้นที่และภูมิทัศน์ เพื่อจัดระเบียบร้านค้า และจัดพื้นที่พักผ่อน และเปิดโอกาสให้ชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานท้องถิ่นเข้ามาจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรม และวิถีชีวิตให้ชุมชน และนักท่องเที่ยวผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เช่นการเสวนาทางวิชาการ จัดการประกวดลูกทุ่ง การแสดงหุ่นกระบอก และการแสดงดนตรีไทยของนักเรียน เป็นต้น
4. ร้านชานชาลา และการส่งเสริมเรือจำหน่ายอาหารและสินค้าริมน้ำ เป็นจุดเชื่อมโยงพื้นที่ริมน้ำไปสู่พื้นที่ลาน และสวน จัดให้เป็นสถานที่พักผ่อน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการจำหน่ายเครื่องดื่ม ของว่าง และของที่ระลึกจากชุมชน ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมโครงการสามารถ นำอาหารและเครื่องดื่ม จากเรือหรือจากลานวัฒนธรรมเข้ามานั่งรับประทานอาหารภายในร้านได้ นอกจากนี้ ได้ดำเนินการซ่อมแซมเรือไม้เก่าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้น้อมเกล้าฯ ถวาย เพื่อใช้ชาวบ้านเช่าสำหรับพายจำหน่ายสินค้า และอาหารในบริเวณคลอง
อัมพวา เป็นการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของกิจกรรมริมน้ำ และสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพให้กับชุมชน
5. เครือข่ายวิชาการ เครือข่ายเกษตรกร และเครือข่ายทางวัฒนธรรม เพื่อเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งแก่นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจในด้าน ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมท้องถิ่น การบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แนวคิดการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนฯ เพื่อให้ผู้รู้ผู้สนใจเหล่านี้สามารถเข้าถึงและเผยแพร่ข้อมูลที่ตนเองมีอยู่ ลดข้อจำกัดของบุคคลภายนอกในด้านการเดินทาง โดยมีโครงการฯเป็นศูนย์กลางข้อมูลชุมชนและนักวิชาการ อีกทั้งเป็นการทำให้ทางโครงการฯได้รับข้อมูลเพื่อประกอบการพัฒนาดำเนินการปรับปรุงโครงการฯ ในระยะต่อไป
การดำเนินงานในระยะต่อไป
1. วางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ในสวนให้เป็นพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิต และวัฒนธรรมชุมชนอัมพวาที่มีชีวิต มีการจำลองสภาพสวน และการดำรงชีวิตในสวนของอัมพวา จัดกิจกรรมสาธิต การฝึกอบรม และจัดศูนย์ข้อมูลชาวสวน อาจจัดให้มีที่พัก เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้ามาศึกษาวัฒนธรรม และวิถีชีวิตได้อย่างเป็นรูปธรรม
2. จัดระบบการบริหาร และการให้บริการเช่าพื้นที่ในโครงการเพื่อจัดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมทางการท่องเที่ยว การประชุมเสวนา การประกวดกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม และกิจกรรมนันทนาการต่างๆ เพื่อให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสร้างรายได้สนับสนุนการดำเนินงานด้านอื่นๆ ของโครงการ
3. พัฒนาพื้นที่โครงการฯให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว กิจกรรมสาธิตและแสดงต่างๆ แก่ผู้สนใจให้สามารถติดต่อสอบถามได้ที่โครงการฯ