logochaipat

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • ความเป็นมา
    • วัตถุประสงค์
    • แนวทางการดำเนินงาน
    • กิจกรรมหลักของมูลนิธิ
    • ตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิ
    • คณะกรรมการมูลนิธิ
  • โครงการพระราชดำริ
    • ภาคเหนือตอนบน
    • ภาคเหนือตอนล่าง
    • ภาคกลางตะวันออก
    • ภาคกลางตะวันตก
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
    • ภาคใต้
    • โครงการกิจกรรมพิเศษ
  • เผยแพร่
    • วารสาร
    • เอกสารเผยแพร่
    • มัลติมีเดีย
    • โปสเตอร์
    • แบบพระอุโบสถวัดพระราม ๙
  • ข่าว
    • ข่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    • ข่าวผู้บริหารมูลนิธิชัยพัฒนา
    • ข่าวสารทั่วไป
    • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
    • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
    • ระบบติดตามตรวจสอบย้อนกลับ Chaipattana Traceability QR Code
  • แนวคิดและทฤษฏี
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องน้ำ
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องดิน
    • น้ำดีไล่น้ำเสีย
    • ฝนหลวง
    • เครื่องดักหมอก
    • การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน
    • ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
    • ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้
    • เส้นทางเกลือ
    • การบำบัดน้ำเสียด้วยพืชน้ำกับระบบการเติมอากาศ
    • การพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกร
    • ทฤษฎีใหม่
  • กังหันน้ำชัยพัฒนา
    • กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2
    • การขอความอนุเคราะห์การติดตั้ง
    • ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
    • การติดตั้งและบำรุงรักษา
  • บริจาค
  • 30ปีมูลนิธิชัยพัฒนา
    • 30 เรื่องพิเศษ
    • 8 ผลงานนักวาดภาพประกอบ
    • แรงบันดาลใจแห่งชัยชนะ
    • ภาพยนตร์สารคดี
    • เกี่ยวกับมูลนิธิชัยพัฒนา
    • กิจกรรมในงาน
    • จากนภาผ่านภูผาสู่มหานที
    TH Thai EN English |
facebook youtube tiktok icon
logochaipat mobile
facebook  youtube
  • หน้าแรก
  • เอกสารเผยแพร่
  • บทความที่น่าสนใจ
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนาประเทศ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนาประเทศ

หน้าที่ 1 จาก 2
Imageเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ในขณะยังทรงพระเยาว์พระชนมพรรษา ๑๙ พรรษา สภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ยังคงบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประชาชนเดือดร้อน ชีวิตความเป็นอยู่แย่ลง ฐานะยากจน ดังนั้น เมื่อเสด็จฯ กลับจากการไปศึกษาที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ จึงได้พระราชทานพระราชดำริในการช่วยเหลือพสกนิกรให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น


Image พระราชดำริระยะแรก : การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า (พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๔๙๕)
พระราชดำริเริ่มแรก จึงเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ราษฎรประสบอยู่ ได้แก่ การช่วยเหลือด้านการแพทย์ สาธารณสุข และการสังคมสงเคราะห์ เพราะทรงเห็นว่าการพัฒนาสุขภาพพลานามัยของประชาชนให้พ้นจากความเจ็บป่วย ย่อมนำไปสู่การพัฒนาในทุกๆ ด้าน  

พระราชดำริระยะที่สอง : พัฒนาประเทศให้พออยู่พอกิน (พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๒๐)
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เริ่มเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในทุกภูมิภาคของประเทศ ด้วยมีพระราชประสงค์ที่จะรับทราบถึงปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนและความต้องการของราษฎร ที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

Imageทรงพบว่า ปัญหาที่ราษฎรประสบอยู่ตลอดมา คือ ความยากจน การเป็นหนี้สินที่เกิดจากกู้ยืมมาทำไร่ ทำนา แต่ต้องประสบความขาดทุน เพราะสภาพดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวย ฝนไม่ตกตามฤดูกาล เกิดอุทกภัยน้ำท่วมไร่นา พืชผลเสียหาย ผลผลิตขายไม่ได้ และยังถูกกดราคาจากตลาดและพ่อค้าคนกลาง นับเป็นวงจรแห่งความทุกข์ยากที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ทรงซักถามเรื่องราวต่างๆ ในทุกครั้งที่เสด็จฯ ไปยังพื้นที่ชนบท ทำให้ทรงรับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากราษฎรเอง และจากเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ รวมทั้งทรงสังเกตสภาพทางภูมิศาสตร์และสังคมไปพร้อมๆ กัน ได้ทรงรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ไว้ เพื่อเป็นแนวทางที่จะพระราชทานพระราชดำริในการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรเหล่านี้ให้ดีขึ้น สามารถพึ่งตนเองได้ ดำรงชีวิตอย่างมีความสุขและยั่งยืน

โครงการพระราชดำริในการพัฒนาชนบทโครงการแรก ก็คือ การสร้างถนนเข้าไปยังบ้านห้วยมงคล อำเภอหัวหินในปี พ.ศ. ๒๔๙๕

Imageจากนั้น ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ พระราชทานพระราชดำริให้สร้างอ่างเก็บน้ำเขาเต่า อำเภอหัวหิน เพื่อบรรเทาความแห้งแล้ง นับเป็นโครงการพระราชดำริด้านการชลประทานแห่งแรกของพระองค์
ขณะเดียวกัน ประเทศไทยมีปัญหาความมั่นคงของประเทศ เศรษฐกิจไม่ดี ราษฎรยังยากจนอยู่ ดังนั้น แนวพระราชดำริในการพัฒนาประเทศ เป็นลักษณะภาพรวมของประเทศก่อน แล้วทรงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละด้านอย่างมีความเชื่อมโยงกัน มีลักษณะคล้ายการต่อภาพ Jigsaw กล่าวคือ ทรงช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในชนบทห่างไกลและทุรกันดาร โดยการเข้าไปช่วยเหลือด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่จำเป็นเบื้องต้น เช่น แหล่งน้ำ ถนน ที่ดินทำกิน

พระราชดำริในระยะนี้ จึงเป็นการให้ความช่วยเหลือในลักษณะโครงการพัฒนาด้านต่างๆ เพื่อให้ราษฎรสามารถพึ่งตนเองได้เป็นสำคัญ ซึ่งโครงการพัฒนาในระยะนี้ มีชื่อที่เรียกแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานพัฒนา คือ โครงการตามพระราชประสงค์ โครงการหลวง โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ และโครงการส่วนพระองค์

Imageเริ่มโดยการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อความมั่นคง โดยเฉพาะบริเวณชายแดนของประเทศที่มีปัญหากับประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้ราษฎรลดการอพยพโยกย้าย มีหลักแหล่งที่อยู่อาศัยที่มั่นคง สามารถประกอบอาชีพ ลืมตาอ้าปากได้ ทรงเน้นการพัฒนาการเกษตรด้านต่างๆ เช่น ดิน พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ เป็นต้น ทรงเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมโดยพื้นฐาน กระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญก้าวหน้าจะต้องพัฒนาด้านการเกษตรให้มีความมั่นคงเข้มแข็งก่อน
จากนั้นเป็นเรื่องของการคมนาคม เพื่อให้ราษฎรเดินทางสะดวกและปลอดภัยขึ้น รวมทั้งการจัดสรรที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม
ซึ่งทั้งหมดนี้ ต่างสัมพันธ์และเชื่อมโยงถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งสิ้น ที่ส่งผลให้ประเทศชาติมีความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจ

Image ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ พระราชทานแนวคิด "พออยู่พอกิน" เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
ด้วยทรงเห็นว่า แนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชา ชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอ สมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น

                        ถ้าใช้ภาษาเศรษฐศาสตร์อธิบายความหมายนี้ คือ แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป

พระราชดำริระยะที่สาม : เศรษฐกิจพอเพียง (พ.ศ. ๒๕๒๑ - ปัจจุบัน)
เมื่อทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาของรัฐ มีแนวโน้มตามกระแสโลกและระบบการค้าเสรีมากขึ้น ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลง มีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

                        สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุและสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่สิ่งเหล่านี้กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย

                        ยิ่งไปกว่านั้น กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลาง ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตกสลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไป

สิ่งสำคัญ ก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และดำเนินชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี ภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้องการต่างๆ รวมทั้งความสามารถจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฎการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี

                        ประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นระยะๆ  และเป็นผลกระทบต่อเนื่องกันมาโดยตลอด ได้แก่ ภาวะเงินเฟ้อ ค่าเงินบาทอ่อนตัว น้ำมันขาดแคลนและมีราคาแพง สินค้าการเกษตรไม่เป็นที่ยอมรับของตลาดโลก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี ๒๕๔๐ ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ฟองสบู่แตก ที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางไปทั่วโลก

Image พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน "เศรษฐกิจพอเพียง" เพื่อเป็นการเตือนสติประชาชนและรัฐบาล ทรงเห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปสู่เป้าหมายของการสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจได้  เช่น โดยพื้นฐานแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม เศรษฐกิจของประเทศจึงควรเน้นที่เศรษฐกิจการเกษตร เน้นความมั่นคงทางอาหาร หากมีเหตุการณ์ไม่ปกติ เช่น สงคราม หรือภาวะขาดแคลนทั่วโลก ถึงแม้จะมีเงินทองก็หาซื้ออาหารไม่ได้  ดังนั้น การสร้างความมั่นคงทางอาหาร เป็นการสร้างความมั่นคงให้ระบบเศรษฐกิจได้ เป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดความเสี่ยง หรือความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้

ทรงเตือนสติให้ทุกคนตระหนักอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานานแล้วว่า การพัฒนาตามแนวทางสายกลางอย่างมีความสมดุลและพัฒนาอย่างมีขั้นตอน มีความพอดี พอประมาณ มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกันยามวิกฤต โดยผสมผสานความรู้ด้านต่างๆ รวมทั้งการมีสติ มีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต และมีความเพียรไม่ย่อท้อต่อปัญหาและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จะเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาประเทศไทย สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ เพราะมีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวไปตามเวลา และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้

                        เศรษฐกิจพอเพียง สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ทุกสาขา ทุกภาคของเศรษฐกิจ โดยมีหลักการที่คล้ายคลึงกันคือ เน้นการเลือกปฏิบัติอย่างพอประมาณ มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเองและสังคม
เช่น ผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรม ไม่ควรขยายการลงทุนเพิ่ม หรือเพิ่มการผลิตที่เกินตัว และนำไปสู่การเพิ่มความเสี่ยงที่ต้องพึ่งพิงผู้อื่น หรือภายนอกมากเกินไป จนขาดความสมดุลในระยะยาว แต่ควรดำเนินการด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง อย่างเป็นขั้นตอน มีการกระจายความเสี่ยงและสร้างเครือข่ายธุรกิจ เพื่อร่วมมือกันในกิจกรรมต่างๆ

  • ต่อไป
พลิกฟื้น คืนสู่ลมหายใจ สู่วิถีและชีวิต สองฟากฝั่งคลองอัมพวา 22 / 29 ความรู้สึกที่ข้าพเจ้ามีต่อพระเจ้าแผ่นดินไทย
  • E-mail
  • ระบบงานภายใน
  • โครงสร้างเว็บไซต์
  • English
  • ติดต่อมูลนิธิ
  • สมัครงาน
  • แบบฟอร์มขอรับทุนพระราชทาน

ลิขสิทธิ์ © 2016-2017 มูลนิธิชัยพัฒนา (The Chaipattana Foundation) สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • ความเป็นมา
    • วัตถุประสงค์
    • แนวทางการดำเนินงาน
    • กิจกรรมหลักของมูลนิธิ
      • ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
      • ด้านการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      • ด้านการพัฒนาการเกษตร
      • ด้านการพัฒนาสังคม
      • ด้านพลังงาน
      • ด้านอื่น ๆ
    • ตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิ
    • คณะกรรมการมูลนิธิ
  • โครงการพระราชดำริ
    • ภาคเหนือตอนบน
    • ภาคเหนือตอนล่าง
    • ภาคกลางตะวันออก
    • ภาคกลางตะวันตก
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
    • ภาคใต้
    • โครงการกิจกรรมพิเศษ
      • โครงการปลูกผักปลอดภัยภายใต้มาตรฐาน GAP
      • โครงการบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง
      • โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์พระราชทานเพื่อนช่วยเพื่อน
  • เผยแพร่
    • วารสาร
      • วารสารมูลนิธิชัยพัฒนา
      • วารสารป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด
      • วารสารโคกปรงพัฒนา
      • วารสารสวนป่าพฤกษพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา
      • หนังสืออื่นๆ ของมูลนิธิชัยพัฒนา
    • เอกสารเผยแพร่
      • เกร็ดความรู้
      • เศรษฐกิจพอเพียง
      • กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2
      • เครื่องกลเติมอากาศ RX-5C
      • แนะนำมูลนิธิ
      • สึนามิ
      • โครงการเยาวชนไทยร่วมใจชัยพัฒนา
      • ผลงานภาพวาดบ้านนี้มีรัก
    • มัลติมีเดีย
      • เรื่องเล่าถึงพ่อ...ผ่านบทสัมภาษณ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
      • วีดีโอแนะนำโครงการต่าง ๆ
      • นิทานจันกะผัก
    • โปสเตอร์
      • โปสเตอร์เศรษฐกิจพอเพียง
      • โปสเตอร์กังหันน้ำชัยพัฒนา
      • โปสเตอร์แนะนำมูลนิธิชัยพัฒนา
    • แบบพระอุโบสถวัดพระราม ๙
      • รายชื่อวัดที่ขอใช้แบบพระอุโบสถ วัดพระราม ๙ฯ
  • ข่าว
    • ข่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    • ข่าวผู้บริหารมูลนิธิชัยพัฒนา
    • ข่าวสารทั่วไป
    • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
    • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
      • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
      • ภาคเหนือตอนบน
      • ภาคเหนือตอนล่าง
      • ภาคกลางตอนบน
      • ภาคกลางตอนล่าง
      • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      • ภาคตะวันออก
      • ภาคใต้
      • โครงการพิเศษ
    • ระบบติดตามตรวจสอบย้อนกลับ Chaipattana Traceability QR Code
  • แนวคิดและทฤษฏี
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องน้ำ
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องดิน
    • น้ำดีไล่น้ำเสีย
    • ฝนหลวง
    • เครื่องดักหมอก
    • การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน
    • ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
    • ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้
    • เส้นทางเกลือ
    • การบำบัดน้ำเสียด้วยพืชน้ำกับระบบการเติมอากาศ
    • การพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกร
    • ทฤษฎีใหม่
  • กังหันน้ำชัยพัฒนา
    • กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2
      • เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย
      • พระราชดำริ
      • การศึกษา วิจัย และพัฒนา
      • คุณสมบัติ
      • หลักการทำงาน
      • สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย
    • การขอความอนุเคราะห์การติดตั้ง
      • หลักเกณฑ์
      • วิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติ
      • การซ่อมบำรุงดูแลรักษาเครื่อง
      • การติดตามผลการดำเนินงานโครงการ
    • ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
      • ความสำคัญของทรัพยากรน้ำ
      • การเลือกพืชบำบัดน้ำเสียและการดูแลรางพืช
      • หลักการทั่วไปของระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
      • พืชที่ไม่สามารถนำมาใช้ในงานปรับปรุงคุณภาพน้ำ
      • การดูแลระบบรางพืชกรองน้ำ (plantbed filter)
      • สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย
    • การติดตั้งและบำรุงรักษา
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศ
      • การบำรุงรักษากังหันน้ำชัยพัฒนา
      • การบำรุงรักษาเครื่องกลเติมอากาศ RX-5C
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศกรุงบรัสเซลล์
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศวัดพุทธคยา
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศวัดพุทธประทีป
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศ ปตท. สาขาหนองแต่ง สปป.ลาว
  • บริจาค
  • 30ปีมูลนิธิชัยพัฒนา
    • 30 เรื่องพิเศษ
    • 8 ผลงานนักวาดภาพประกอบ
      • ภัทรพัฒน์
      • จากธรรมชาติ สู่ธรรมชาติ
      • “Harmony of Living” เปลี่ยนสุขภาพของโลกให้ดีขึ้น กับ Bloody Hell Big Head
      • “MIRRORS" ภาพสะท้อนของการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัย
      • “สายใย ชัยพัฒนา” คุณค่าของชีวิตสู่งานศิลปะสไตล์ THE DUANG
      • “Together” ความอบอุ่นของการได้อยู่ร่วมกัน
      • “Land of Luck” ดินแดนแห่งความโชคดี ภายใต้โครงการด้านการเกษตร ในมุมมองของ SIRI
      • “GIVE” เพราะการให้เงิน ไม่เท่าการให้ความรู้ ถอดบทเรียนจากโครงการด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • แรงบันดาลใจแห่งชัยชนะ
    • ภาพยนตร์สารคดี
    • เกี่ยวกับมูลนิธิชัยพัฒนา
      • ความเป็นมาของมูลนิธิ
      • ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
      • ด้านการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      • ด้านการพัฒนาการเกษตร
      • ด้านพลังงาน
      • ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
      • ด้านการเพิ่มศักยภาพทางการตลาดให้ชุมชน (ร้านภัทรพัฒน์)
      • หลักสูตรผู้นำการพัฒนาอย่างยั่งยืน
      • โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ
      • ด้านการพัฒนาสังคม
    • กิจกรรมในงาน
    • จากนภาผ่านภูผาสู่มหานที