- หน้าแรก
- เอกสารเผยแพร่
- บทความที่น่าสนใจ
- พลิกฟื้น คืนสู่ลมหายใจ สู่วิถีและชีวิต สองฟากฝั่งคลองอัมพวา
พลิกฟื้น คืนสู่ลมหายใจ สู่วิถีและชีวิต สองฟากฝั่งคลองอัมพวา
เรื่อง มนูญ มุกประดิษฐ์,อรอนันต์ วุฒิเสน,ภากมล รัตตเสรี
ภาพ ชิติสรรค์ ทองถาม์พรสุทธิ,ธนะ กลิ่นบางพูด
สอง ฟากฝั่งคลองอัมพวา วันนี้ หากเปรียบเป็นเช่นดอกไม้ ก็คงเป็นยามที่ไม้ดอกผลิดอกออกช่อ อวดสีสรรตระการตา ให้บรรดาผู้คนที่ได้พบเห็น รื่นเริงบันเทิงใจและมีสุข
สอง ฟากฝั่งคลองอัมพวาวันนี้ ได้รับการพลิกฟื้นคืนลมหายใจสู่วิถีแห่งชีวิต และเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นมาแล้วอย่างน่าพิศวงและน่าภาคภูมิใจเป็นที่สุด ทั้งนี้ก็ด้วยความมุ่งมั่น และการประสานความร่วมมือกันอย่างเต็มความสามารถระหว่างชาวบ้านชุมชนอัมพวา กับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งส่วนกลาง ส่วนจังหวัด ส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ก็คือ พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานมูลนิธิชัยพัฒนา ที่ได้รับพระราชทานพระราชดำริ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาเป็นแกนกลางในการดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนาให้สองฟากฝั่ง อัมพวากลับคืนสู่วิถีชีวิตดั้งเดิม ที่เรียบง่าย พอเพียง สงบสุข งดงาม ทีคุณค่า และดำรงศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง
พลิกฟื้นคืนอดีตที่ยิ่งใหญ่ของอัมพวา
สอง ฟากฝั่งคลองอัมพวา เมื่อวันวาน เคยเป็นถิ่นฐานของชุมชนริมน้ำที่สำคัญเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์พระมหา กษัตริย์และพระราชวงศ์แห่งพระราชจักรีวงศ์ของไทยหลายพระองค์มาแต่เดิม นับแต่ปลายกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา ชุมชนสองฝั่งน้ำอัมพวา หรือในอดีตเรียกว่า แขวงบางช้าง นั้นมิได้มีความสำคัญแต่เพียงเป็น อู่ข่าว อู่น้ำ ที่มีพืชพันธ์ธัญญาหารชั้นเลิศที่อุดมสมบูรณ์อย่างล้นเหลือเท่านั้น หากแต่อัมพวายังเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ชาติไทยในสมัยต้นกรุงรัตน โกสินทร์ เนื่องเพราะเป็นสถานที่พำนักของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกครั้งสมัย ยังดำรงพระยศเป็นหลวงยกกระบัตรแห่งกรุงศรีอยุธยา และเป็นสถานที่ประสูติของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย องค์เอกอัครมหาศิลปินแห่งพระราชวงศ์จักรีของไทย นั่นเอง
แขวง บางช้าง หรือ อัมพวา นั้น ไม่ต้องกล่าวถึงในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตอาหารที่มีรสชาติและคุณภาพยอดเยี่ยม ที่สุด ไม่ว่าจะเป็น ส้มโอ มะพร้าว มะปราง ลิ้นจี่ ขนุน หอม กระเทียม หมากพลู ฯลฯ พอ ๆ กับ กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ ซึ่งจะหาแหล่งที่จะผลิตได้ทั้งปริมาณและคุณภาพเหนือกว่าแขวงบางช้างนี้ได้ ยากนัก ตลาดบางช้าง จึงเป็นแหล่งที่มีของกิน ดีหลี (อร่อยมาก-ดีที่สุด) ของลุ่มน้ำกลอง
นอก ไปจากเป็นแหล่งอาหารที่ยอดเยี่ยมแล้ว แขวงบางช้าง ยังเป็นแหล่งผลิตศิลปินและช่างฝีมือต่าง ๆ ทั้งทางด้านดุริยางคศิลปไทย นาฎศิลปไทย ศิลปกรรม หัตถกรรม และสิ่งประดิษฐ์มากหลายเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวอัมพวาแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน
อย่าง ไรก็ตามความจำเริญรุ่งเรื่องและวันวานทีสดใสของชุมชนสองฝั่งคลองอัมพวาใน อดีตเริ่มแปรเปลี่ยนไป เพราะกระแสของการพัฒนาในแนวคิดเศรษฐกิจทุนนิยมและวัตถุนิยม ที่มุ่งเน้นการแสวงหาผลกำไรจากการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ คำนึงถึงความสมดุลของสภาพแวดล้อมเริ่มถาโถมเข้าสู่ชุมชนอย่างไม่หยุดยั้ง และในหลายกรณีเป็นการทำลายศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตถกรรม สถานที่ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตที่ทรงคุณค่าของชุมชนไปอย่างน่าเสียดาย
เลือก สวน ไร่นา อันสมบูรณ์ร่มรื่นในอดีต แปรเปลี่ยนเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้างที่ไม่น่าดูและไร้รสนิยม ขัดกับสภาพแวดล้อมเดิม และก่อมลพิษทางสายตา หมู่บ้านจัดสรรมากแห่งเข้าไปแทนที่สวนผลไม้ ลำน้ำที่ใสสะอาดเริ่มเกิดมีภาวะมลพิษ ตลาดน้ำที่คึกคักมีชีวิตชีวาอันเป็นวิถีดั้งเดิมของขาวอัมพวา เริ่มเงียบเหงา ซบเซาลง จากการเปลี่ยนอาชีพของผู้คนและการตั้งถิ่นฐานที่แประเปลี่ยนไปตามกระแสโลกา ภิวัฒน์ทอดทิ้งให้คลองอัพมวาและชุมชนอัมพวามีสภาพเหมือนคนป่วยใกล้สิ้นลม หายใจ
คืนลมหายใจให้ บางช้าง สวนนอก ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ
บางช้าง สวนนอก วันนี้ เริ่มกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่งด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขณะที่ บางกอง สวนใน แปรเปลี่ยนจากสภาพสวน กลายเป็นมหานครที่วุ่นวาย สับสน แออัด เต็มไปด้วยมลพิษในทุกด้านไปอย่างหลีกเลี่ยงมิได้เสียแล้วด้วยผลพวงของ ความเป็นทันสมัย (Modernization) เช่นเดียวกับมหานครของประเทศเป็นที่กำลังพัฒนาทั้งหลายในโลกนี้
ล่องคลองอัมพาวา ย้อนอดีตสุนทรภู่ ดูแสงหิ่งห้อย ในคืนก่อนวันรับเสด็จฯ
คณะ เจ้าหน้าที่มูลนิธิชัยพัฒนาและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเตรียมรับเสด็จพระราชดำเนิน เพื่อตรวจผลความคืบหน้าในการดำเนินงานฯ ส่วนหนึ่งได้พักแรมที่ตำบลอัมพวา เมื่อคืนวันที่ 3 กุมภาพันธ์ เพื่อความสะดวกในการรับเสด็จฯ และถวายงานในบ่ายวันรุ่งขึ้นคือ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549
คืนนั้นร้อยโทพัชรโรดม อุดม สุวรรณ นายกเทศมนตรีอัมพวา ผู้ซึ่งมีส่วนอย่างมากในการช่วยพลิกฟื้นชีวิตอัมพวาขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะใน เรื่องตลาดน้ำ ได้กรุณานำคณะเจ้าหน้าที่รวมทั้งท่านเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาลอยเรือล่องไป ตามลำน้ำคลองอัมพาวา เพื่อดูแสงหิ่งห้อยบนต้นลำพูยามราตรีที่แสนสงบและสวยงาม หลายคนนึกถึงบทกวีของพระศรีสุนทรโวหาร ที่ว่า
๐ พอออกช่องสองลำแม่น้ำกว้าง บ้านบางช้างแฉกแชไปแควขวา
ข้างซ้ายตรงลงทะเลพอเวลา พระสุริยามืดมัวทั่วแผ่นดิน
ดูซ้านขาวป่าปะโลงหวายโป่งเป้ง ให้วังเวงหวั่นไหวฤทัยถวิล
เวลาเย็นเห็นนกวิหกบิน ไปหากินแล้วก็พากันมารัง
บ้างเคียงคู่ชูคอเสียงซ้อแซ้ โอ้แลแลแล้วก็ให้อาลัยหลัง
แม้นร่วมเรือนเหมือนนกที่กกรัง จะได้นั่งแนบข้างเหมือนอย่างนก
นี่กระไรไม่มีเท่ากี่ก้อย โอ้บุญน้อยนึกน่าน้ำตาตก
ต้องลมว่าวหนาวหนังเหมือนคั้งคก จะได้กกกอดใครก็ไม่มี...
และ
ด้วยมืดค่ำสำคัญที่นั่นแน่ เรียกแสมตายห่าพฤกษาโกร๋น
ลำพูรายชายเลนดูเอนโอน วายุโยนยอดระย้าริมสาคร
หิ่งห้อยจับวับวามอร่ามเหลือง ดูรุ่งเรืองรายจำรัสประภัสสร
เหมือนแหวนก้อยพลอยพรายเมื่อกรายกร ยังอาวรณ์แหวนประดับด้วยลับตา ๐
จากนิราศเมืองเพชร พระศรีสุนทรโวหาร (ภู่)
คณะ ทำงานทุกคนกลับเข้าสู่ที่พักด้วยความตื่นตาตื่นใจกับแสงหิ่งห้อยตามต้นลำพู ที่ชายน้ำที่พลายแสงแข่งกับดาวบนท้องฟ้าเมื่อใกล้เวลาค่อนคืน เพื่อเตรียมงานสำคัญในวันรุ่งขึ้นทุกคนดีใจที่ได้พบหิ่งห้อย แม้จำนวนน้อยกว่าเดิม เพราะนั่นย่อมหมายความว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติยังมีโอกาสที่จะเยียวยาได้
บ่าย ของวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 นับเป็นอีกวาระหนึ่งที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯที่เรือนไม้แถวริมคลองอัมพวา ที่เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนหนึ่งในที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนา ที่นางสาวประยงค์ นา คะวรังค์ คหบดีชาวอัมพวา ได้น้อมเกล้าฯ ถวายไว้ เพื่อเป็นศูนย์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและศิลปกรรมของชุมชนอัมพวาและเพื่อ ประโยชน์อื่นของมูลนิธิฯ
เมื่อ เสด็จฯ มาถึง ชาวชุมชนคลองอัมพวาทั้งสองฟากฝั่ง และบริเวณใกล้เคียง ต่างพากันเข้ามาชมพระบารมีกันแน่นขนัด ส่วนในลำคลองก็แออัดไปด้วยเรือพายขายสินค้า และอาหารการกินต่าง ๆ เหมือนภาพจำลองชีวิตในอดีต หากแต่เป็นความจริงที่อัมพวาพลิกฟื้น คืนลมหายใจ กลับมีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ
หลัง จากทอดพระเนตรผลงานการก่อสร้างปรับปรุงเรือนแถวไม้ริมคลองของมูลนิธิชัย พัฒนา และแผนงานอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมตำบลอัมพวาแล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมชมร้านค้าหัตถกรรมพื้นบ้าน และทรงอุดหนุนร้านกาแฟโบราณในพื้นที่ห้องแถวไม้ริมน้ำของมูลนิธิชัยพัฒนา
ที่ สำคัญและมีสีสันมากที่สุดและนับเป็นศิริมงคลอย่างยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้ของ การเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมเยียนสองฝั่งคลองอัมพวาในครั้งนี้ ก็คือ การเสด็จลงไปที่ท่าน้ำหน้าห้องแถวไม้และซื้อของเสวยนานาชาติด้วยพระองค์เอง จากแม่ค้า พ่อค้า เรือพายหลากหลาย ที่พายเรือทยอยเข้าขายสินค้าของตน และส่งของให้กับพระหัตถ์ เป็นที่ปลาบปลื้มปิติยินดีกันถ้วนหน้าใบหน้าที่เบิกบานเปี่ยมสุขของผู้คนยาม นี้เปรียบเสมือนดอกไม้บานสะพรั่งทั่วสองฝั่งคลองอัมพวานั่นทีเดียว
วันนี้ นับว่าเป็นวันเริ่มพลิกฟื้นคืนลมหายใจ
สู่วิถีและชีวิต
สองฟากฝั่งอัมพวาอย่างแท้จริง
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณขององค์ประธานมูลนิธิชัยพัฒนา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ขอพระองค์ทรงเพระเจริญ
สัมภาษณ์แม่ค้าที่มาขายของที่ตลาดน้ำริมคลองอัมพวา
ในวันรับเสด็จพระราชดำเนิน
นางนิภา จา รุพพัฒน์ อายุ 53 ปี แม่ค้าขายขนมจีนแกงต่าง ๆ เช่น แกงไก่ยอดมะพร้าว แกงเขียวหวานหมู แกงเขียวหวาน ลูกชิ้นปลากราย ไข่พะโล้ กุนเชียงทอด แกงส้มผักรวม ไข่เค็ม
ใน วันสำคัญวันนี้ พี่นิภาได้พายเรือขายข้าวแกง ขนมจีน ใส่กระทงใบตอง สนราคากระทงละ 10 บาท ทรงซื้อขนมจีน แกงเขียวหวานไก่ยอดมะพร้าว ไข่เค็ม มีรับสั่งว่า อร่อยมาก โดยเฉพาะไข่เค็ม พี่นิภาบอกว่า ปลาบปลื้มที่สุดในชีวิตที่ได้เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด และตอนนี้ร้านพี่นิภาได้กลายเป็นร้านทรงชิมอีกร้านที่คนเข้าคิดซื้อขนมจีน กันยาวเหยียดโดยไม่ต้องโฆษณาเลย
นางหมุยเกียง แซ่ เอี้ยว อายุ 73 ปี อาชีพค้าขาย เป็นผู้เช่าห้องแถวมูลนิธิชัยพัฒนา มีอาชีพค้าขายทางเรือและขับเรือหางยาวส่งของตามร้านค้าในคลองอัมพวาทุกวัน เช่น ขนมขบเคี้ยว
ดีใจ มากที่มูลนิธิชัยพัฒนาเข้ามาพัฒนาพื้นที่ให้มีความน่าอยู่มากกว่าเดิม และปรับปรุงซ่อมแซมเรียนแถวที่เคยชำรุดทรุดโทรมให้อยู่ในสภาพทีใหม่และน่า อยู่มากขึ้น ผู้คนเริ่มตื่นตัวดูแลอนรักษ์บ้านเรือนของตน เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชม และที่สำคัญป้าบอกว่า เกิดมาไม่เคยได้เข้าเฝ้าฯ เจ้าฟ้าแผ่นดินใกล้ชิดขนาดนี้ รู้สึกว่ามีบุญมากเหลือเกินฯ และไม่ใช่เฉพาะป้าเท่านั้น คนในคลองอัมพวา โดยฉพาะคนที่อยู่ในพื้นที่ของมูลนิธิฯ ต่างรู้สึกเช่นเดียวกันไม่ต่างจากป้าหมุยเกียงเลย
นายประทีป เอี้ยว พันธ์ อายุ 49 ปี เป็นทนายความท้องถิ่น เป็นผู้เช่าบ้านอีกรายหนึ่งของมูลนิธิฯ และดูแลเรื่องเก็บค่าเช่า ดูแลทรัพย์สิน เรือนแถวไม้ของมูลนิธิชัยพัฒนา กำลังจัดทำบ้านให้เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
ในวันนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ผ่านห้องแถวของคุณประทีป มีรับสั่วว่า มีของเก่าเก็บเยอะดี น่าสนใจ รู้สึกดีใจมากที่ได้เข้าเฝ้าฯ ใกล้ชิด แต่เสียดายที่พระองค์ไม่ได้เสด็จฯ เข้าไปทอดพระเนตรภายใน เพราะในวันนั้นญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงมารอเฝ้าฯ อยู่ในบ้านจนเต็มไปหมด เพราะต่างรักและชื่นชมพระองค์กันมากทุกคน
นายบรรเลง ยิ้ม บุญณะ อายุ 53 ปี ทำงานศิลปะทีเกี่ยวกับกะลา เป็นผู้เช่าบ้านของมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อเป็นที่จัดแสดงสินค้าและขายสินค้าที่เกี่ยวกับกะลา มีร้านชื่อว่า กะลาบันเลง
ในวันที่มีโอกาสรับเสด็จฯ มีความภูมิใจมาก เพราะมีรับสั่งว่าทรงสนพระทัยงานศิลปะมาก และรับสั่งถามว่า ทำมานานหรือยัง พร้อมกันนี้ ได้มีโอกาสทูลเกล้าฯ ถวายตุ๊กตาสวัสดีที่ทำจากกะลามะพร้าว และที่น่าปลาบปลื้มใจกว่านั้น คือ ร้านกาแฟโบราณจำลองที่มูลนิธิฯ จัดทำขึ้น และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้เสด็จฯ เข้าไปในร้านนั้น แก้วกาแฟที่ใช้เป็นวัสดุจากกะลาฝีมือคุณบรรเลงทั้งสิ้น คุณบรรเลงดีใจมากที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในคางการพัฒนาทีดินของมูลนิธิฯ และตั้งใจที่จะเผยแพร่งานกะลาให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น พร้อมทั้งยินดีที่จะถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ที่สนใจด้วย