ชาน้ำมัน
โครงการใหม่ของ มูลนิธิชัยพัฒนา
ขวัญจิรา ชีวานนท์
เส้นทางของต้นชาน้ำมันเริ่มต้นเมื่อประมาณเดือนตุลาคม 2546 โดย รศ.ดร.นลิน นิล อุบล สถาบันเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำความกราบบังคมทูล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง ประโยชน์จากเมล็ดชา และเสนอให้มีการส่งเสริมการปลูกชาชนิด Camellia Oleifera จากนั้นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องชาน้ำมันด้วยพระองค์เอง และได้มีการรับสั่งกับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาว่าทรงสนพระทัยในการนำชาน้ำมันมาปลูกในประเทศไทย นับเป็นความโชคดีที่ ดร.สุเมธ ตันติ เวชกุล มีภารกิจที่จะเดินทางไปยังเมืองคุณหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ในเดือนมิถุนายน 2547 และสืบทราบมาว่ามีโรงงานชาน้ำมันอยู่ในเมืองคุณหมิงด้วย จึงได้ขอเข้าชมโรงงานชาน้ำมันโรงหนึ่งในเมืองคุณหมิง และได้ซื้อน้ำมันชากลับมาทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวนหนึ่ง หลังจากนั้นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีรับสั่งกับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ว่าได้ทรงนำน้ำมันชาไปประกอบอาหารแล้ว น้ำมันดีมาก
เดือน กันยายน 2547 สำนักราชเลขาธิการมีหนังสือแจ้งถึงมูลนิธิชัยพัฒนาว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชกระแสให้มูลนิธิชัยพัฒนาติดต่อ และทดลองปลูกชา Camellia Oleifera เพื่อผลิตชาน้ำมันจากนั้นสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา เริ่มดำเนินการสนองพระราชดำริ โดยติดต่อกับสถาบันพฤกษศาสตร์มณฑลยูนนาน เพื่อขอเมล็ดพันธุ์ และต้นอ่อนชาน้ำมันมาทดลองปลูกในประเทศไทย ในเดือนพฤศจิกายน 2547 สถาบันพฤกษศาสตร์มณฑลยูนนาน ส่งเมล็ดพันธุ์ประเภท ดอกสีแดง และสีขาว รวม 10 กิโลกรัม และต้นอ่อนชาน้ำมันประเภท ดอกสีแดง และสีขาว รวม 61 ต้น เพื่อนำมาทดลองปลูกในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ 3 หน่วยงาน คือ กรมวิชาการเกษตร โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และมหาวิทยาลัยแม้โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
หลัง จากปลูกชาน้ำมันไประยะหนึ่งก็เริ่มมั่นใจว่าชาน้ำมันที่เดินทางข้ามน้ำข้าม ทะเลมาจากประเทศจีนสามารถเจริญเติบโตได้ดีในภูมิอากาศทางภาคเหนือของประเทศ ไทย และต้องเริ่มศึกษาเรื่องชาน้ำมันให้ละเอียดขึ้น เพื่อสนองพระราชดำริให้ทดลองปลูกชาน้ำมันในพื้นทีประมาณ 3,000 ไร่ จากนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชานุมัติแต่งตั้ง หม่อมราชวงศ์ ดิศนัดดา ดิศกุล ให้เป็นผู้อำนวยการโครงการศึกษาและพัฒนาการปลูกชาน้ำมันของมูลนิธิชัยพัฒนา
คณะ ตามล่าหาชาน้ำมันเริ่มปฏิบัติการเมื่อเดือนกันยายน 2548 โดยมี ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เป็นหัวหน้าคณะ พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วม 9 ท่านเดินทางไปศึกษาชนิดและพันธ์ของชาน้ำมัน วิธีการปลูกชาน้ำมัน ชมแปลงปลูกชาน้ำมันและเยี่ยมโรงงานผลิตชาน้ำมันในเมืองคุณหมิง และหนานหนิง
เดือนตุลาคม 2548 สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาเชิญคณะผู้เชี่ยวชาญด้านชาน้ำมันจากสถาบันวิจัยป่าไม้กวางสี (Guangxi Forestry Research Institute) มณฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 4 ท่าน เดินทางมาประเทศไทยเพื่อถ่ายทอดความรู้ และศึกษาพื้นที่และสภาพภูมิประเทศในภาคเหนือของประเทศไทย รวมทั้งแนะนำสายพันธุ์ใหม่ของชาน้ำมัน ซึ่งให้ผลผลิตน้ำมันมากกว่าพันธุ์ดั้งเดิม โดยจัดให้คณะผู้เชี่ยวชาญชาวจีนได้ศึกษาดูงานและร่วมประชุมกับคณะทำงาน โครงการชาน้ำมันที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย
เดือน พฤศจิกายน 2548 คณะทำงานฝ่ายไทยจำนวน 7 ท่าน ได้เดินทางไปสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นครั้งที่ 2 เพื่อศึกษาเพิ่มเติม และจัดหาเมล็ดพร้อมต้นอ่อนชาน้ำมันพันธ์ดีที่เหมาะสมกับภูมิอากาศในประเทศ ไทย โดยคณะทำงานได้นำเมล็ดพันธ์ประมาณ 200 กิโลกรัม รวมทั้งต้นอ่อนประมาณ 200,000 ต้น จากเมืองหูหนาน เพื่อดำเนินการทดลองปลูกและขยายพันธุ์ชาน้ำมันในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย และพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน 3,000 ไร่
เมื่อ วันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการศึกษาและพัฒนา ชาน้ำมันของมูลนิธิชัยพัฒนา ที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย โดยมีเอกอัครราชฑูตประจำประเทศไทย รองอธิบดีกรมป่าไม้มณฑลกวางสี และคณะร่วมรับเสด็จฯ และน้อมเกล้าฯ ถวายเมล็ดพันธุ์ 2,500 กิโลกรัม รวมทั้งต้นกล้าชาน้ำมัน 40,000 ต้น จากเมืองกวางสีเพื่อนำมาเพาะปลูกและขยายพันธ์ในโครงการฯ ต่อไป
โครงการ ศึกษาและพัฒนาการปลูกชาน้ำมันของมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นโครงการที่ดำเนินงานสนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีวัตถุประสงค์ในการปลูกชาน้ำมันเพื่อแก้ไขปัญหาป่าเสื่อมโทรมและสร้าง รายได้เพี่อแก้ไขความยากจนโดยจ้างปลูกและดูแลในระยะเริ่มต้น เก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่าในระยะยาว อีกทั้งเป็นการป้องกันการกัดเซาะพังทลายของหน้าดินบริเวณเชิงเขาได้เป็น อย่างดี และในอนาคตเมื่อโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวย งามได้อีกทางหนึ่งด้วย