- หน้าแรก
- เอกสารเผยแพร่
- บทความที่น่าสนใจ
- ปลูกฝังเยาวชน...ด้วยเทคโนโลยีตามแนวพระราชดำริ
ปลูกฝังเยาวชน...ด้วยเทคโนโลยีตามแนวพระราชดำริ
๐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พนิตา โสต้อง ๐
โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โครงการฝึกอบราผู้นำเยาวชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วิทยา ศาสตร์ขยะและน้ำเสีย ระหว่างวันที่ 22-23 มกราคม 2548 คือ อีกบริบทหนึ่งของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีหน้าที่เผยแพร่องค์ความรู้ด้านการบำบัดน้ำเสียด้วยพืชและการกำจัดขยะ ด้วยกล่องคอนกรีตตามแนวพระราชดำริ ไปสู่กลุ่มเป้าหมาย ๆ ต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อพัฒนาพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องให้แก่ชุมชน และนี่คือ ภารกิจที่สำคัญของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยฯ ที่ต้องดำเนินต่อไป
โปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา...วิทยาศาสตร์ขยะและน้ำเสีย
วัน ที่ 22-23 มกราคม 2548 เป็นวันที่สำคัญวันหนึ่งของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผัก เบี้ยฯ ที่ได้จัดทำโครงการฝึกอบรมผู้นำเยาวชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ขยะและน้ำเสีย ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นเยาวชน จากโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร จำนวน 73 คน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 15 คนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 15 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 43 คน โครงการศึกษาและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยฯ ได้ใช้โปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นกลไกลในกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ การวางแผน การดำเนินการและการประเมินผล
ก้าวแรก..........การวางแผน
การ วางแผนโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา เป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย องค์ความรู้ที่ถ่ายทอด วิธีการถ่ายทอด เพื่อมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ สถานที่ฝึกปฏิบัติการฯ ฯลฯ การจัดทำโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา จะต้องเป็นกระบวนการที่มีการวางแผนเป็นระบบ ชัดเจและต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของผลลัพธ์
ก้าวที่สอง..........การปฏิบัติการ
วันแรก...ช่วงเช้า
เจ้า หน้าที่โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยฯ จำนวน 20 คน ประกอบด้วย นักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัยและเจ้าหน้าที่สนับสนุน ซึ่งมีฐานะเป็นพี่เลี้ยงน้อง ๆ ชาวค่ายได้ต้อนรับเยาวชนและอาจารย์จากโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช บางขุนเทียน ณ ค่ายพระรามหก อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ดำเนินกิจกรรมลาะลายพฤติกรรม โดยมีการแบ่งกลุ่มทั้ง 3 ระดับชั้นให้อยู่ร่วมกัน เพื่อสร้างความพร้อมทางจิตใจในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
วันแรก...ช่วงบ่าย
บรรยากาศราบรื่น เป็นการประสานใจทั้งพี่เลี้ยงและน้องด้วยกิจกรรม ค้นคว้า...หากดาว ดาวในที่นี้ หมายถึง องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขยะและน้ำเสียของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่ง แวดล้อมแหลมผักเบี้ย ฯ เพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ของเยาวชน โดยการร่วมกลุ่มตามฐานความรู้เดิม จับกลุ่มผูกเป็นเรื่องราวและนำเสนอออกมาในรูปแบบขององค์ความรู้ที่แตกต่าง กัน ซึ่งน้อง ๆ ได้นำเสนอในมุมมองวิชาการที่สมาชิกในกลุ่มถนัดและน่าสนใจ มีเรื่องราวทั้งหมด 3 เรื่อง ได้แก่ การบำบัดน้ำเสีย การกำจัดขยะ และระบบนิเวศป่าชายเลน
วันที่สอง...ปฏิบัติการ ณ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย
กิจกรรม ยามเช้า...พี่เลี้ยงประจำกลุ่มได้พาน้อง ๆ เยี่ยมชมโครงการฯ เป็นฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้แก่ ฐานที่ 1 การสำรวจคุณภาพน้ำ ฐานที่ 2 พืชบำบัดน้ำเสีย ฐานที่ 3 การทำปุ๋ยหมักจากขยะ ฐานที่ 4 ป่าชายเลนและการกัดเซาะชายฝั่ง
กิจกรรมยามบ่าย... บทบาทของเยาวชนต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงประจำกลุ่มพูดคุยกับน้อง ๆ เพื่อร่วมระดมความคิดในประเด็นที่ว่า น้อง ๆ จะนำเทคโนโลยีตามแนวพระราชดำริไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนได้อย่างไร บรรยากาศการระดมสมองระหว่างพี่น้องแต่ละกลุ่มเป็นไปอย่างราบรื่น แสดงถึงความมีพลังและมุ่งมั่น ประสานประโยชน์ร่าวมกัน ซึ่งมีทั้งหมด 8 โครงการ คือ 1) โครงการขยะเพื่อประโยชน์ 2) โครงการน้ำใสด้วยมือเรา 3)โครงการปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร 4)โครงการธนาคารขยะ (MODERN JUNK) 5) โครงการทิ้งขยะให้ถูกถัง 6) โครงการ GODEN JUNK 7) โครงการกำจัดขยะ และ 8) โครงการวิทยาศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อม
ก้าวที่สาม...........การประเมินผล
การ ประเมินผลเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญยิ่ง เป็นการตรวจสอบผลลัพธ์ของโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา ซึ่งดำเนินการ 2 รูปแบบ คือ การใช้แบบสอบถามความคิดเห็น และการสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สอดแทรกในโปรแกรม ผลปรากฎว่า สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ กล่าวคือ นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดทัศนคติด้านวิทยาศาสตร์เชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (วิทยาศาสตร์ขยะและน้ำเสีย) ของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ ผ่านกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพิ่มขึ้น
จาก การประเมินผลสรุปได้ว่า เยาวชนรู้จักโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมา จากพระราชดำริ ร้อยละ 61.64 รู้จักผ่านสื่อโทรทัศน์ ร้อยละ 46.49 และรู้จากหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 42.22 ส่วนความคิดเห็นของเยาวชนต่อการดำเนินโครงการฯ ด้านสถานที่ การดำเนินกิจกรรม วิทยากรพี่เลี้ยง อาหารและเครื่องดื่ม ระยะเวลาในการฝึกอบรม ยานพาหนะในการเดินทาง และการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะ ตามแนวพระราชดำริ พบว่า เยาวชนมีความพึงพอใจในโครงการฝึกอบรมค่ายผู้นำเยาวชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม : วิทยาศาสตร์ขยะและน้ำเสียพอสมควร
ก้าวที่สี่..........ร่วมกันเผยแพร่
บทบาทของผู้นำเยาวชนของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช บางขุนเทียน ได้ปรากฎขึ้นในงาน รสท.นิทรรศการ 47 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2548 ณ โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช บางขุนเทียน เป็นการนำเสนอผลงานทางวิชาการของโรงเรียนและการเสนอแนะแนวทางการศึกษาของภาค รัฐและภาคเอกชน ประการสำคัญ คือ การเผยแพร่การศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระ ราชดำริ โดยผู้นำเยาวชนได้นำเทคโนโลยีของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลม ฝักเบี้ยฯ ไปเผยแพร่แก่ผู้เข้าเยี่ยมชมงนในรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งสร้างความพึงพอใจให้คณะพี่เลี้ยงเป็นอย่างยิ่ง ด้วยความหวังที่ว่า เยาวชนที่ผ่านการฝึกอบรมโครงการฝึกอบรมผู้นำเยาวชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ขยะและน้ำเสีย จะเป็นผู้นำที่สามารถเผยแพร่เทคโนโลยีตามแนวพระราชดำริของโครงการศึกษาวิจัย และพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยฯ ไปสู่ชุมชนและสังคมต่อไปในอนาคต ๐
ร่วมกัน สรรค์สร้าง พลังเยาวชน เพื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีในอนาคต