- หน้าแรก
- เอกสารเผยแพร่
- บทความที่น่าสนใจ
- แฆแฆ...แผ่นดินนี้ เพื่อพ่อ
แฆแฆ...แผ่นดินนี้ เพื่อพ่อ
๐ บุญณรงค์ ธานรรัตน์ ๐
ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
...การ พัฒนาพื้นที่พรุแฆแฆ..ทั้งหมดนี้..จะเป็นประโยชน์หลายอย่าง ข้างบนที่คลองแฆแฆเป็นน้ำกร่อย ถ้าทำโครงการแล้วทั้งหมดจะเป็นน้ำดี.. ใช้การได้ ... คลองที่ขุดในพื้นที่พรุ จะเป็นอ่างเก็บน้ำจือที่สำคัญ ... และบางส่วนจะช่วยไม่ให้พรุแห้ง ช่วยป้องกันไฟใหม้ ... ราษฎรจะได้ประโยชน์...
คำว่า แฆแฆ หลายท่านอาจสงสัยว่า คืออะไร ชื่อคน สัตว์ สิ่งของ หรือ สถานที่ แต่สำหรับพี่น้องใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ฟังแล้วเป็นที่คุ้นหู เพราะคงเคยได้ยินเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ พูดถึงเสมอ
แฆแฆ เป็นภาษามลายูที่ชาวไทยมุสลิมใช้พูด หรือเรียก แปลเป็นภาษาไทยว่า ลมโชย ใครที่ไม่เคยรู้จัก ไม่เคยได้ยินได้ฟัง ต่อไปนี้ทุกท่านจะได้รับรู้เรื่องราวของราษฎรบ้านแฆแฆกับความพยายามและความ มุ่งมั่นตั้งใจจริงในการประกอบอาชีพ เพื่อชีวิตใหม่ การต่อสู้กับผืนดินที่ไร้ความอุดมสมบูรณ์ ปัญหาอุปสรรคนานัปการ แต่ทุกคนได้ตั้งความหวังและพร้อมที่จะทำ เพื่อเอาชนะต่อปัญหาต่าง ๆ ให้ได้ ด้วยใบหน้าที่สดใสชุ่มชื่น เพราะว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ่อ ผู้ให้ทุกอย่าง เป็นดั่งเจ้าแห่งชีวิตที่นำพาราษฎรแฆแฆให้พ้นภัยสู่ชีวิตใหม่กับอาชีพการ เกษตรที่หล่อเลี้ยงหลายร้อยชีวิตด้วยวิถีชีวิตแบบไทย
แม้ ว่าในปัจจุบันเหตุการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงคุกรุ่นด้วยปัญหาที่ยังไม่อาจแก้ไขได้ในขณะที่ ราษฎรต้องเสี่ยงชีวิตในการเดินทางและบางรายต้องเสียชีวิต แต่ก็ยังต้องดิ้นรนทำงานกันต่อไป เพื่อหารายได้ ทั้งที่เป็นเงินและอื่น ๆ มาใช้จ่ายเพื่อความอยู่รอด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องทำ ต้องหาความรู้สิ่งใหม่ ๆ ตลอด เพื่อพัฒนาตนเองและนำมาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ
แฆแฆ..แผ่นดินนี้ เพื่อพ่อ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนา คน โดยเฉพาะคนชนบท เพราะส่วนใหญ่คือ ราษฎรที่ยึดอาชีพการเกษตรที่เป็นอาชีพหลักของคนไทย ทรงอุทิศเวลาในการเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในถิ่นทุรกันดาร ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยเพื่อทรงรับทราบถึงชีวิตความเป็นอยู่ ในพื้นที่ที่เสด็จ ไปทอดพระเนตร ทรงถามไถ่ถึงทุกข์สุขของราษฎรในด้านต่าง ๆ ประกอบอาชีพอะไร อยู่ที่ไหน มีปัญหาหรือไม่ เนื่องจากสาเหตุใด การคมนาคมสะดวกแค่ไหน เมื่อทรงได้รับคำตอบที่แท้จริงจากราษฎร จากนั้นจะทรงหาแนวทางแก้ไข เพื่อให้ราษฎรได้อยู่ดีมีสุขอย่างถ้วนหน้า
เมือ วันที่ 30 กันยายน 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรสภาพพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำคลองน้ำจืด คลองแฆแฆ ณ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นพื้นที่พรุเสื่อมโทรมและมีน้ำท่วมขังเกือบทั้งปี ราษฎรไม่สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้ ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้งานชลประทาน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ พิจารณาวางโครงการก่อสร้างขุดคลองระบายน้ำและอาคารบังคับน้ำเพื่อช่วยระบาย น้ำที่ท่วมขังออกจากพื้นที่และเก็บกักน้ำจืดไว้ให้เกษตรใช้ในการเพราะปลูก รวมทั้งใช้อุปโภคบริโภคได้ตลอดทั้งปี ดังพระราชดำรัส ความว่า
...การ พัฒนาพื้นที่พรุแฆแฆ...ทั้งหมดนี้... จะเป็นประโยชน์หลายอย่าง ข้างบนที่คลองแฆแฆเป็นน้ำกร่อยถ้าทำโครงการแล้วทั้งหมดจะเป็นน้ำดี ... ใช้การได้ ... คลองที่ขุดในพื้นที่พรุ จะเป็นอ่างเก็บน้ำจืดที่สำคัญ ... และบางส่วนจะช่วยไม่ให้พรุแห้งช่วยป้องกันไฟไหม้ ง... ราษฎรจะได้ประโยชน์...
วันที่ 30 กันยายน 2535
...การ พัฒนาพื้นที่พรุแฆแฆ เมื่อชลประทานพัฒนาแล้ว ให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ดูแลการเตรียมดินแลการพัฒนาการเกษตร และการปรับพื้นที่ให้ใช้แรงงานในท้องถิ่น...
วันที่ 3 ตุลาคม 2535
โครงการ พัฒนาพื้นที่พรุแฆแฆอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 บ้านแฆแฆ ตำบลน้ำบ่อ อำเภอปะนาแระ จังหวัดปัตตานี พื้นที่ประมาณ 11,000 ไร่ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม และบางส่วนเป็นพรุน้ำท่วมขัง มีลักษณะพื้นที่ลาดเทจากแนวเทือกเขาทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกสู่ฝั่ง ทะเลอ่าวไทย มีคลองธรรมชาติหลายสายที่ รับน้ำจากพื้นที่ราบสูงสู่ทะเล มีคลองสายสำคัญ 2 สาย คือ คลองน้ำจืดและคลองแฆแฆ ทำหน้าที่เป็นทั้งคลองระบายน้ำในช่วงฤดูฝนและเก็บกักน้ำไว้ในลำน้ำช่วงฤดู แล้ง
สำหรับ การดำเนินงาน ด้านชลประทานเริ่มดำเนินการในปี 2536 ได้ก่อสร้างระบบระบายน้ำและระบบส่งน้ำประกอบด้วย คลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบ ขุดลอกคลอง และสร้างถนนเลียบคลอง พร้อมอาคารประกอบ ปรับปรุงอาคารบังคับน้ำ สร้างสถานสูบน้ำรวมทั้งสร้างระบบส่งน้ำ เพื่อช่วยระบายน้ำที่ท่วมขังออกจากพื้นที่และเก็บน้ำจืดไว้ใช้ และป้องกันน้ำเค็มไม่ให้ไหลเข้าสู่พื้นที่ทำการเกษตร
เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรการดำเนินงานการก่อสร้างขุดคลองระบายน้ำพระแฆแฆ
ทำได้...แล้วขยายผล
ใน ปี 2537 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ โดยงานพัฒนาที่ดินได้ทดลองปรับพื้นที่ ขุดยกร่องพื้นที่ลุ่มที่ขนานกับแนวคลอง ขุดลอกระบายน้ำเพื่อปลูกพืช พื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ทีดินบนพื้นที่ดอนในสวนมะพร้าวเพื่อปลูกพืช ผักและพืชไร่ เช่น ถั่วหรั่ง แตงกวา ถั่วฝักยาว พริกหยวก ข้าวโพดหวาน แตงโม ซึ่งได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะถั่วหรั่งได้ผลผลิต 136 กิโลกรัม/ไร่ จากนั้นในปี 2540 ได้นำวิธีการจากผลการศึกษา ทดลองวิจัยโครงการแกล้งดินที่ศึกษาจนประสบความสำเร็จไปใช้ในพื้นที่พระแฆแฆ ซึ่งได้คัดเลือกพื้นที่ 50 ไร่ ที่บ้านบางเก่า หมู่ที่ 4 ตำบลบางเก่า อำเภอสายบุรี โดยไถบุกเบิกพื้นที่ป่าพรุเสื่อมโทรมแล้วปรับปรุงดินเปรี้ยวด้วยหินปูนฝุ่น เพื่อปลูกข้าวเป็นพื้นที่ตัวอย่าง
วัน ที่ 15 กันยายน 2540 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการฯ ทอดพระเนตรการปลูกถั่วหรั่งของเกษตรกรซึ่งเป็นพื้นที่ดอนและเป็นดินทราย มีพระราชกระแสว่า ...ในการทำแปลงผักให้ทดลองให้แฝกปลูกรอบร่องผักเพื่อป้องกันดินพัง... และ การปลูกถั่วหรั่งในพื้นที่โครงการพัฒนาพรุแฆแฆที่เป็นดินร่วนปนทรายปลูกถั่วหรั่งพันธุ์หาดใหญ่ได้ผลดีให้ขยายให้ชาวบ้านปลูกมากขึ้น...
ขณะ เดียวกันหน่วยราชการต่าง ๆ ของจังหวัดปัตตานีได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานมากขึ้น จังหวัดปัตตานีจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการและคณะทำงานโครงการ พัฒนาอาชีพการเกษตรพื้นที่พรุแฆแฆอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อเดือนมิถุนายน 2541 โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีว่าฝ่ายเศรษฐกิจเป็นประธานกรรมการบริหาร เกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานีเป็นเลขานุการ และมีการปรับปรุงคณะกรรมการ และคณะทำงาน เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับภาระกิจ โดยให้หน่วยงานต่าง ๆ รายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ ไปที่เกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานี เพื่อรวบรวมและรายงานผลการดำเนินงานต่อไป
ในปี 2541 2543 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ขุดยกร่องเป็นพื้นที่ทำนาปลูกข้าว ช่วงแรกของการดำเนินงานในพื้นที่ 150 ไร่ มีราษฎรในพื้นที่เข้าร่วมโครงการ 80 รายมีการปรับปรุงคุณภาพดินที่เป็นกรด โดยใช้หินปูนฝุ่น 1 ตัน/ไร่ ปลูกข้าวพันธุ์ชัยนาทและแก่นจันทร์ ได้ผลผลิต 35 40 ถัง/ไร่ หลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าว เกษตรกรปลูกพืชผักพืชไร่เพื่อบริโภค ส่วนที่เหลือนำไปจำหน่าย ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีงานทำตลอดทั้งปี
ในปี 2544 2546 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ขยายพื้นที่เพิ่มเติม โดยจัดรูปแปลงนาพร้อมทั้งปรับปรุงบำรุงดิน 500 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่บ้านบางเก่า หมู่ที่ 4 และบ้านบาเลาะ หมู่ที่ 5 ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 60 ราย ส่งเสริมการปลูกพืชปุ๋ยสด ปรับปรุงบำรุงดินแล้วปลูกข้าวพันธุ์เฉี้ยงพัทลุง ได้ผลผลิต 579.06 กิโลกรัม/ไร่ และข้าวพันธุ์หอมสุพรรณบุรีได้ผลผลิต 563.76 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนหลังฤดูเก็บเกี่ยว เจ้าหน้าที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต 8 ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชผัก พืชไร่ตั้งแต่ปี 2544-2546 เพื่อเพิ่มรายได้และมีงานทำตลอดปี มีการจัดระบบการปลูกพืชแบบมีข้าวเป็นพืชหลัก และปลูกพืชอื่น ๆ หลังเก็บเกี่ยวข้าว เช่น ถั่วฝักยาว แตงกวา แตงร้าน ข้าวโพดฝักอ่อน ถั่วเขียว ซึ่งแต่ละปีผลผลิตจะเพิ่มขึ้น สำหรับพื้นที่ดอนได้มีการพัฒนาและส่งเสริมการปลูกพืชแซมในสวนมะพร้าวซึ่งให้ ผลผลิตดี ได้แก่ ถั่วหรั่ง ถั่วลิสง สับปะรด พร้อมทั้งส่งเสริมการปลูกผลไม้ผล ได้แก่ ขนุน กระท้อน มะพร้าวน้ำหอม
รู้จัก...พึ่งตนเอง
ปี 2547 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้งบประมาณสนับสนุนต่อเนื่องจากสำนักงาน กปร. ได้ไถปรับพื้นที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชปุ๋ยสด เพื่อปรับปรุงบำรุงดินแล้วปลูกข้าวในพื้นที่ 500 ไร่ มีเกษตรกรเข้าร่วม 169 ราย ศูนย์ศึกษาพัฒนาพิกุลทองฯ ได้ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของพื้นที่อย่างสูงสุดและต่อเนื่อง โดยดำเนินการต่อจนถึงปี 2548 ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์ดี คือ ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 หอมสุพรรณบุรี และพันธุ์เฉี้ยงพัทลุง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 580 กิโลกรัม/ไร่ นอกจากนี้ ได้ส่งเสริมการปลูกพืชปุ๋ยสดหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อปรับปรุงบำรุงดินเกษตรกรมีความสนใจและต้องการปลูกพืชผักไว้บริโภคและ จำหน่ายเป็นบางส่วนสำหรับผลผลิตข้าวที่ได้ เกษตรกรนำไปสีกับเครื่องสีข้าวของกลุ่มทำนาบ้านแฆแฆ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานเครื่องสีข้าวขนาดเล็กให้เกษตรกรในโครงการพัฒนาพื้นที่พรุแฆแฆ ไว้ใช้ เครื่องสีข้าวดังกล่าวสามารถสีข้าวเปลือกเป็นข้าวสารในอัตรา 12
กิโลกรัม/ชั่วโมง มีเกษตรกรใช้ประโยชน์จำนวน 6 ครัวเรือน
ใน ปัจจุบัน จังหวัดปัตตานีได้สนับสนุนงบประมาณ จำนวน 1,200,000 บาท ในการจัดตั้งโรงสีข้าวบริเวณพรุแฆแฆ บ้านป่าทุ่ง หมู่ที่ 4 ตำบลบางเก่า อำเภอสายบุรี เพื่อบริการสีข้าวให้เกษตรกรในพื้นที่โครงการและพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อลดค่า ใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารโรงสีข้าวขนาด 7x10 เมตร และจัดหาเครื่องนวดข้าวขนาด 1,000 กิโลกรัม/ชั่วโมง พร้อมมอเตอร์ขนาด 3-5 แรงม้า ปริมาณการสีข้าวเปลือก 350-400กิโลกรัม/ชั่วโมง
จาก ความขยันและตั้งใจจริง ตลอดจนการเรียนรู้พึ่งตนเองของชาวบ้านบริเวณพรุแฆแฆ ทำให้ผืนดินที่เสื่อมโทรมที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์อะไรได้เลย แปรเปลี่ยนเป็นท้องทุ่งนา ที่เต็มไปด้วยรวงข้าวอันเหลือสะพรั่งดูอย่างดารดาษ ซึ่งเป็นที่ปลาบปลื้มของเกษตรกรชาวบ้านลมโชยเป็นยิ่งนัก
ทั้งนี้ เพราะพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยแท้ ๐