- หน้าแรก
- เอกสารเผยแพร่
- บทความที่น่าสนใจ
- เกาน้อยที่สุดขอบโลก
เกาน้อยที่สุดขอบโลก
โครงการใหม่ของมูลนิธิชัยพัฒนา
ในการส่งเสริมทางสังคม วัฒนธรรม และการดำรงชีวิตของชาวเล
ภาณุ วงศ์ชุอุ่ม
หลังจากที่คลื่นยักษ์สึนามิพัดเข้าทำลายชายฝั่งของหกจังหวัดภาคใต้ในเดือนธันวาคม 2547 หนึ่งในผู้ประสบภัยคือ ชาวเล ชนเผ่า มอแกน ที่อาศัยอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเลหมู่เกาะสุรินทร์ ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งจังหวัดพังงาไป 60 กิโลเมตร ชาวมอแกนเรียกเกาะที่พวกเขาอาศัยอยู่ ซึ่งเป็นเกาะหนึ่งในหมู่เกาะสุรินทร์ว่า เกาะน้อยที่สุดขอบโลก ปัจจุบันบนเกาะน้อยแห่งนี้ ที่ชุมชนชาวเลอาศัยอยู่ 56 ครัวเรือน ในขณะที่ชาวประชากรชาวมอแกนทั้งหมดในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 400 คน อย่างไรก็ตาม จำนวนที่แท้จริงของมอแกนเป็นข้อมูลที่ไม่แน่นอน เพราะวิถีชีวิตการเร่ร่อนระหว่างชายแดนของประเทศเมียนมาร์และประเทศไทย ทำให้การเก็บข้อมูลเป็นไปอย่างยากลำบากและไม่ชัดเจน โดยเฉพาะจำนวนประชากรมอแกนในประเทศเมียนมาณ์ แต่ได้ประมาณการว่ามีประชากรมอแกนอยู่ทั้งหมด 2,000-3,000 คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมียนมาร์เป็นระยะเวลาหนึ่งของแต่ละปีทั้งนี้ชาวมอแกน ยังคงมีวิถีชีวิตการเร่ร่อนมากกว่าชาวเลกลุ่มอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตาม ความเป็นจริงแล้ว คลื่นยักษ์สึนามิทำลายชีวิตชุมชนชาวมอแกนบนหมู่เกาะสุรินทร์น้อยมาก เพราะมีคนตายเพียงคนเดียว แต่ผลกระทบที่รุนแรง คือ การบังคับให้ต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว ซึ่งผลกระทบประเด็นนี้ เป็นภัยที่ไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงอย่างเป็นรูปธรรม แต่เป็นผลกระทบที่มีความเสียหายทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวมอแกน เช่น ผลกระทบทางจิตวิทยากับเด็กชาวมอแกนที่ทำให้เกิดความกลัวทะเล ทำให้วิถีชีวิตการเร่ร่อนในทะเลมีน้อยลง และมีความต้องการที่จะเปลี่ยนไปใช้ชีวิตที่มีแสง สี เสียงบนชายฝั่งแทน แม้แต่นายซาละม่า กล้าทะเล ผู้ใหญ่บ้านของชุมชนมอแกนบนเกาะสุรินทร์ ก็มีความคิดที่จะเลิกใช้เรือ
ก่าบาง ที่เปรียบเสมือนบ้านของพวกเขา และหันไปใช้เรือหัวโทงที่เป็นที่นิยมของชาวประมงชายฝั่งทั่วไป
สาเหตุ ของความต้องการการเปลี่ยนแปลงของชุมชนมอแกน บนเกาะสุรินทร์นี้ สะท้อนถึงปัญหาหลักที่ชาวเลกลุ่มต่าง ๆ ในชายฝั่งทะเลอันดามันประสบมานานแล้ว นั้นคือ การขาดการยอมรับ การให้ความสำคัญและสิทธิต่าง ๆ จากภาครัฐ เพราะชีวิตที่เร่ร่อนและไร้สัญชาติทำให้หน่วยงานของรัฐไม่สามารถให้โอกาสได้ เต็มที่ ชาวมอแกนจึงไม่ได้รับความช่วยเหลือในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ ละทิ้งวัฒนธรรมเดิม ในขณะเดียวกัน การพัฒนาการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมีผลกระทบต่อชีวิตของชาวเลการ เป็นชาวเลนั้น ถึงแม้จะมีความเป็นเอกลักษณ์และความยืดหยุ่น ก็จะถูกบังคับโดยปริยายให้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมให้เข้ากับสังคม ไทย หรือมิฉะนั้นก็จะโดนกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมมากที่สุด ชาวเลมอแกนได้พยายามที่จะทั้งยอมรับและขัดขืนความกดดันจากสังคมไทย แต่ไม่ว่าหนทางใด วิถีการดำรงชีวิตของพวกเขามิได้ดีขึ้นมากนักและขณะเดียวกัน ความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของพวกเขาก็ค่อย ๆ เลือนหายไป
หลัง จากธรณีพิบัติภัย มีการแสดงให้เห็นถึงปัญหาของการขาดการยอมรับและการให้ความสำคัญแก่ชาวเลมาก ขึ้นเห็นได้จากการที่ผู้คนและหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนเงินช่วยเหลือต่าง ๆ ซึ่งทำให้ชาวเลมีการเปลี่ยนวิถีชีวิตมากขึ้นแต่ไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการ พัฒนาชุมชนมอแกนแบบยั่งยืน ทำให้สมรรถภาพของชุมชนอ่อนแอ เพราะเป็นการสร้างความต้องการอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงภูมิคุ้มกันและทำให้ ชุมชนมอแกนต้องพึ่งพาบุคคลภายนอกมากขึ้น
นอก จากนี้ การที่ไม่มีแบบแผนการพัฒนาการดำรงชีวิตของชาวมอแกนให้สองคล้องกับสภาพของ สังคมปัจจุบันทำให้สังคมชาวมอแกนแตกแยก เพราะวิถีชีวิตการเคลื่อนตัวไปมาหาสู่ระหว่างชุมชนต่าง ๆ มีน้อยลง และมีการจัดตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยบนบกเป็นกิจจะลักษณะตามเกาะต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้แต่ละชุมชนมีความต้องการที่จะพึ่งพาองค์กรบริหารท้องถิ่นมากขึ้น โดยไม่คำนึงถึงการสร้างตัวเองให้เป็นชุมชนเข้มแข็งตามวิถีชีวิตมอแกน การบริหารหมู่บ้านของชาวมอแกนบนหมู่เกาะสุรินทร์เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็น ถึงการบังคับการเปลี่ยนวิถี่ชีวิต เพราะชาวมอแกนไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกฎกติกาต่าง ๆ ในชุมชนตนเอง
สภาพ ความเป็นอยู่ที่ขาดโอกาสและขาดการมีส่วนร่วมของชาวมอแกน เป็นสภาพที่ชาวเลกลุ่มอื่น ๆ ต้องเผชิญเช่นเดียวกัน ซึ่งต่างกับการบริหารและการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยภูเขาในภาคเหนือ หรืออุทยานแห่งชาติชนเผ่าพื้นเมืองอะบอริจินน์ในประเทศออสเตรเลียที่มีการ ให้ความสำคัญในระดับหนึ่ง การที่ไม่มีนโยบายในการอนุรักษ์สังคมวัฒนธรรม และการดำรงชีวิตของชาวเลโดยปล่อยให้การดูแลขั้นพื้นฐานเป็นหน้าที่ของ องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น มีส่วนทำให้ชาวเลขาดมาตรฐานที่เหมาะสมและสิ่งที่ควรมีในการดำรงชีวิต
ประเด็น เหล่านี้ คือ โจทย์ที่สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้ช่วยประสานและหาทางออก โดยเริ่มจากชุมชนมอแกนของหมู่เกาะสุรินทร์เป็นจุดเริ่มต้น
การ รวบรวมความรู้ การประสานงานและการสร้างโอกาสให้ชาวมอแกนมีส่วนร่วมในระดับนโยบายนั้นไม่ใช่ เรื่องใหม่องค์กรหลายแห่งได้สังเกตและพิจารณาปัญหาแบบองค์รวมของชาวมอแกนมา ก่อนสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา แสดงให้เห็นว่าสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาไม่ได้ดำเนินงานเพียงหน่วยงานเดียว แต่มีหลายฝ่ายที่มีความสนใจตรงกัน เช่น เมื่อปี 2540 โครงการนำร่องอันดามันหมู่เกาะสุรินทร์ได้เกิดขึ้นจากการแนะนำของ ดร.นฤมล หิญชีระนันทร์ อรุโณทัย จากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และความร่วมมือระหว่างองค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมป่าไม้ หน่วยงานระดับอำเภอ และองค์กรอิสระต่าง ๆ ในพื้นที่
โครงการ นำร่องอันดามัน หมู่เกาะสุรินทร์นี้ ถึงแม้จะเป็นเพียงโครงการระดมความคิด แต่คณะทำงานของ ดร.นฤมล และสถาบันวิจัยสังคมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ลงมือสร้างผลงานที่ดีให้แก่ ชุมชนมอแกนบนหมู่เกาะสุรินทร์มานานแล้วจนถึงปัจจุบันทั้งนี้ ดร.นฤมล และคณะทำงาน ได้ให้ความสนใจ และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือรวมทั้งคำแนะนำแก่สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาใน การก่อตั้งโครงการพัฒนาและอนุรักษ์วัฒนธรรม ตลอดจนการดำรงชีวิตของชาวเลในระยะยาว
...แต่ ว่า โครงการดังกล่าว คืออะไร... ซึ่งสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา มีความเห็นว่าควรที่จะมีการพิจารณาถึงปัญหาแนวทางการพัฒนาและอนุรักษ์ชาวเล แบบองค์รวม และในเมื่อชุมชนชาวเลมอแกนบนหมู่เกาะสุรินทร์นั้น ได้มีโครงการนำร่องอันดามันดำเนินการอยู่แล้ว
หมู่เกาะสุรินทร์ จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดในการริเริ่มโครงการสำหรับชาวเลทั้งหมดใน อนาคต การทำให้สวนรวมตระหนักถึงปัญหา การมีสิทธิ การมีส่วนร่วมและอนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีชีวิตของชาวมอแกน ในขณะที่จะต้องคำนึงถึงการรักษาสภาพแวดล้อมของอุทยานแห่งชาติด้วย ซึ่งปัญหารายละเอียดเฉพาะหน้านั้น เราจะทำอย่างไรได้บ้างในเบื้องต้น
การยึดหลัก เศรษฐกิจพอเพียงและทางสายกลาง ทำให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาจะพิจารณาจัดตั้ง ศูนย์ดำเนินการโครงการพัฒนาเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตของชาวเล ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ ดังนี้
ประการ แรก คือ เพื่อให้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ค้นคว้าวิจัยและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชาวเล โดยมีเงื่อนไขในการให้ชุมชนชาวเลมีส่วนร่วมให้มากที่สุด การศึกษาวิจัยดังกล่าวจะช่วยในการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาวเล โดยการทำกิจกรรมอาทิ สนับสนุนกิจกรรมที่เพิ่มการมีส่วนร่วมของเด็กนักเรียนท้องถิ่นให้ตระหนักถึง ความสำคัญของวัฒนธรรม ได้แก่ การดำรงชีวิต และภาษาท้องถิ่นชาวเล นอกจากนี้ การสนับสนุนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างชาวเลและชุมชนท้องถิ่นจะทำให้เกิด การพัฒนาอย่างยั่งยืนระหว่างความเข้มแข็งของวัฒนธรรมชาวเลและการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม
ประการ ที่สอง เพื่อเป็นศูนย์อำนวยการด้านสาธารณสุข อนามัย และการศึกษา เช่น สถานรักษาพยาบาล ในส่วนการศึกษา มีทั้งการอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนและการฝึกอบรมอาชีพแก่ชาวเลอย่างมีมาตรฐาน การอำนวยการดังกล่าวข้างต้น ไม่ใช่เพียงการให้การยอมรับ การให้ความสำคัญ และสิทธิแก่ชาวเล แต่ยังเป็นช่องทางในการสร้างโอกาสในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้สอดคล้องกับ การดำรงชีวิตแบบดั้งเดิม
การ เปลี่ยนแปลงนี้ หมายความว่า ชาวเลจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองได้ โดยไม่ต้องละทิ้งวัฒนธรรมเดิมของตนเอง ซึ่งสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาคาดว่า การจัดตั้งศูนย์ดำเนินการโครงการพัฒนาเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมและการดำรงชีวิต ของชาวเล โดยการร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและหน่วยราชการทั้งหลายจะเป็นแรงผลักดันให้ เกิดการจัดทำแผนแม่บทองค์รวม เพี่อพัฒนาและอนุรักษ์วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนของชาวเลในอนาคตได้
นอก จากนี้ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาจะจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น การสร้างที่อยู่อาศัย ห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งได้คัดเลือกชุมชนชาวเลที่อยู่บนเกาะเหลา จังหวัดระนอง และหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา โดยชาวมอแกนบนหมู่เกาะสุรินทร์จะเป็นชุมชนนำร่องที่สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา จะทำงานร่วมอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ศูนย์ดำเนินการโครงการพัฒนาเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตของชาวเลจะ จัดตั้งอยู่ในพื้นที่โครงการฟื้นฟูผู้ประสบภัยสึนามิของมูลนิธิชัยพัฒนาสภา กาชาดไทย หมู่บ้านทุ่งรัก อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
โครงการ นี้เริ่มต้นจากชุมชนเล็ก ๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เป้าหมายของสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา คือ การดำเนินโครงการดังกล่าวให้คลอบคลุมในทุกชุมชนชาวเลทั่วภาคใต้
โครงการ พัฒนาเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตของชาวเลที่กำลังจะเริ่มขึ้นนี้ เป็นโครงการที่สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้ให้น้ำหนักและเน้นถึงความสำคัญของ การพัฒนาด้านสังคมเป็นหลักโดยได้รับความร่วมมือจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ การร่วมมือนี้จะทำให้เกิดความสนใจในหมู่บุคคลทั่วไป สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาหวังว่าเราและผู้ร่วมดำเนินโครงการนี้ จะสามารถสร้างฐานที่เข็มแข็งในการพัฒนาและอนุรักษ์ชุมชนมอแกนบนหมู่เกาะ สุรินทร์ ได้อย่างราบรื่นสืบไป
งานของเราจะเริ่มขึ้นที่นี่ ... เกาะน้อยที่สุดขอบโลก ๐