- หน้าแรก
- เอกสารเผยแพร่
- บทความที่น่าสนใจ
- อาชว - อาชีวะ
อาชว - อาชีวะ
นักศึกษาสร้างชาติ กับโครงการพัฒนาของมูลนิธิชัยพัฒนา
อรอนันต์ วุฒิเสน
โครงการสร้างสรรค์คนพันธ์อา ที่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจัดขึ้น เป็นหนึ่งในโครงการที่สร้างความภูมิใจให้แก่นักเรียนอาชีวะได้แสดงความ สามารถในทางที่ถูกต้องให้รู้และเข้าใจถึงการใช้ พลังในทางที่ถูกต้อง สร้าง ทัศนคติที่ดีให้เห็นว่า นักเรียนอาชีวะไม่ใช่พวกชอบทะเลาะวิวาทเสมอไปและที่สำคัญ เป็นการเปลี่ยนมุมมองจากเด็กเกเรมาเป็นนักเรียนอาชีวะสร้างชาติ แก้ปัญหานักเรียนยกพวกตีกันให้หมดไป และกอบกู้ศักดิ์ศรีของนักเรียนอาชีวะคืนมา
...................
เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ความสูญเสียเกิดขึ้นอีกแล้ว...ครั้งนี้เป็นภัยพิบัติจากโคลนถล่ม
เริ่ม จากฝนตกหนักติดต่อกันมาหลายวัน จนดินภูเขาไม่สามารถอุ้มน้ำหนักของน้ำไว้ได้อีกต่อไป ทำให้ดินเลื่อนไหลจากยอดเขาสู่ผืนดินเบื้องล่างอย่างรวดเร็ว และระหว่างทางที่ดินเลื่อนไหลลงมานั้น เปรียบเสมือนคราดที่กวาดทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า ทั้งต้นไม้ใหญ่น้อย สวนผลไม้ หน้าดิน บ้านเรือนที่ปลูกบริเวณเชิงเขา ทั้งหมดนี้ไหลลงมาล้นทะลักเป็นทะเลโคลนเต็มพื้นที่หมู่บ้านหลายแห่งของหลาย อำเภอในจังหวัดอุตรดิตถ์
ภูเขา ลูกแล้วลูกเล่า ที่มองเห็นในระยะไกล มีร่องรอยการเลื่อนไหลของดินเป็นริ้วสีแดงเป็นแนวยาวจากยอดเขาลงมาหลายริ้ว ตัดกับความเขียวสดของต้นไม้ที่ยังคงอยู่ ในขณะที่พื้นราบด้านล่างกลายสภาพเป็นบ่อโคลนขนาดใหญ่ พร้อมเศษซากต้นไม้ทับถมบ้านเรือน เรือกสวนไร่นาเป็นบริเวณกว้างทุกครอบครัวเดือดร้อนมากน้อยแตกต่างกันไปตาม สภาพความเสียหาย หลายครอบครัวบ้านหายไปทั้งหลัง เหลือแต่ที่ดินที่มีแต่โคลนเต็มไปหมด บ้านบางหลังเสียหายแต่ก็ไม่สามารถอยู่อาศัยได้อีกต่อไป บางหลังซ่อมแซมเพียงเล็กน้อยแต่ทุกบ้านต้องหาทางกำจัดโคลน เศษซาก และขยะที่มีอยู่เต็มพื้นที่ออกไปให้หมด
...................
สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชกระแสให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาให้ความช่วยเหลือโดยเร่งด่วน ทั้งเรื่องของบ้านเรือนที่อยู่อาศัย โครงสร้างพื้นฐาน และช่วยเหลือในเรื่องอาชีพระยะสั้น เพื่อที่อย่างน้อยราษฎรจะได้มีรายได้ มีกำลังใจและฟื้นตัว ช่วยเหลือตัวเองได้เร็วขึ้น
การ ดำเนินงานตามพระราชกระแสของมูลนิธิชัยพัฒนาในครั้งนี้ ได้ใช้ประสบการณ์จากการสร้างบ้านพักถาวรให้แก่ผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์สึนามิ ในโครงการหมู่บ้านชัยพัฒนา กาชาดไทย จังหวัดพังงา มาปรับใช้ให้สามารถสร้างบ้านได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะมูลนิธิชัยพัฒนามีบ้านที่ต้องใช้ฝีมือและแรงงานในการสร้างให้ราษฎรที่ อุตรดิตถ์ถึง 253 หลัง
...................
คราว นี้ นักเรียนอาชีวะ วัยโจ๋ วัยจ๊าบ สร้างผลงานที่น่าประทับใจอีกครั้งหนึ่ง ด้วยการอาสาสร้างบ้านตามแบบแปลนของมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นบ้านใต้ถุนสูง มีห้องนอน 2 ห้อง นักเรียนเหล่านี้มาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาทางภาคเหนือหลายแห่ง เช่น วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์ วิทยาลัยการอาชีพพิชัย วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ วิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย เป็นต้น และไม่ได้มีแต่นักเรียนเท่านั้น อาจารย์และนักการได้เข้ามาช่วยกันสร้างบ้านด้วยความเต็มใจเช่นกัน
นักเรียนเหล่านี้ได้อะไรจากการสร้างบ้าน ...
...ภูมิใจครับ ที่ได้ช่วย... เป็นคำตอบแรกที่ได้รับจากนักเรียน
เมื่อนักเรียนเริ่มคุ้นเคย เลิกอาย ก็ได้รับคำตอบเพิ่มขึ้น
...ได้เรียนรู้จากการทำจริง ต้องรู้วิธีการคำนวณ...
..ได้รู้ว่าจะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างไร... เป็นคำตอบที่ชัดเจนเฉพาะสภาพปัญหาที่นักเรียนต้องเจอเกือบทุกวัน คือ ถ้าไม่ฝนตก ก็แดดออก สลับกันไป ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ชีวิตจริงจากการทำงาน ต้องปรับแผนงานกันอย่างไรถึงจะสร้างบ้านให้เสร็จทันกำหนด
บ้าน หลังแรกที่สร้างเสร็จอยู่ที่บ้านด่านห้วยใต้ ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล หนึ่งในหมู่บ้านที่เดือดร้อนมากที่สุด เป็นผลงานของนักเรียนเทคนิคอาชีพพิชัย สาขาช่างยนต์ ซึ่งเป็นสาขาที่ไม่น่าจะสร้างบ้านได้ แต่นักเรียนหลายคนเคยช่วยผู้ปกครองก่อสร้างมาบ้างแล้ว ใช้เวลาในการสร้างบ้านเพียง 18 วัน โดยเจ้าของบ้าน คือ นายช่วยกับนางเล็ก แสนกันดี สองสามีภรรยา มาร่วมลงแรงด้วย
บ้าน จำนวนมากมายที่นักเรียนต้องสร้างให้เสร็จสมบูรณ์ตามแบบ มั่นคงแข็งแรง พร้อมอยู่อาศัย อยู่ที่บ้านแม่เฉย บ้านม่อนทุ่งช้าง และบ้านม่อนหัวฝาย ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง สำหรับอำเภอท่าปลา จะอยู่ที่บ้านกิ่วเคียน บ้านน้ำต๊ะ บ้านน้ำลี และบ้านทรายงาม ส่วนที่อำเภอลับแล จะอยู่ที่ตำบลแม่พูล ตำบลฝายหลวง และเทศบาลตำบลศรีพนมมาศ เป็นต้น
ผลงานการสร้างบ้านของ ช่างอาชีวะ เป็นที่ประจักษ์และพอใจเป็นอย่างมากแก่เจ้าของบ้าน ที่สำคัญคือ เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงติดตามความก้าวหน้าในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของมูลนิธิชัยพัฒนาในหลาย พื้นที่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ทอดพระเนตรบ้านฝีมือ ช่างอาชีวะ ที่ สร้างเสร็จแล้วหลายหลังทรงพอพระทัยในความพยายามและความตั้งใจในการทำงานของ นักเรียน พระราชทานพระเมตตาฉายพระรูปร่วมกับนักเรียนอาชีวะที่เป็นกำลังหลักที่สำคัญ ในการสร้างบ้านให้แก่ผู้ที่เดือดร้อนจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วย
...................
แนว คิดของการให้นักเรียนเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่จริงเป็นแนวคิดที่มูลนิธิชัย พัฒนาและสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเคยร่วมกันจัดทำมาแล้ว และประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งเมื่อครั้งสร้างบ้าน 170 หลัง ในหมู่บ้านชัยพัฒนา กาชาดไทย บ้านทุ่งรัก ที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ตามโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์สึนามิ ในครั้งนั้นได้ใช้แรงงานนักเรียนอาชีวะ ทั้งชายและหญิงที่อาสาสมัครมาจากทั่วประเทศสลับผลัดเปลี่ยนกันมา ภายใต้การกำกับดูแลของกรมการช่างทหาร
แผน การส่งเสริมการศึกษาในรูปแบบใหม่นี้ ทำให้นักเรียนอาชีวศึกษาได้ความรู้ มีความเข้าใจ มีความชำนาญในวิชาชีพที่ได้จากการลงมือทำจริง ๆ ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกัน การช่วยเหลือกัน เป็นประสบการณ์ที่ดี และดีกว่าที่นักเรียนจะนั่งเรียนแต่ทฤษฎีภายในห้องเรียนและไม่นานก็คงจะลืม กันหมด
...................
นักเรียนอาชีวะกลุ่มนี้ ทำให้ผู้คนรอบข้างมีมุมมองนักเรียนอาชีวะที่ดีขึ้น สังคมมองเห็น เข้าใจ กลับมายอมรับและ รักเด็กอาชีวะมากยิ่งขึ้น
นี่คือ คนพันธ์อา
ที่เต็มไปด้วยศักดิ์ศรีของชาวอาชีวะอย่างแท้จริง