logochaipat

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • ความเป็นมา
    • วัตถุประสงค์
    • แนวทางการดำเนินงาน
    • กิจกรรมหลักของมูลนิธิ
    • ตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิ
    • คณะกรรมการมูลนิธิ
  • โครงการพระราชดำริ
    • ภาคเหนือตอนบน
    • ภาคเหนือตอนล่าง
    • ภาคกลางตะวันออก
    • ภาคกลางตะวันตก
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
    • ภาคใต้
    • โครงการกิจกรรมพิเศษ
  • เผยแพร่
    • วารสาร
    • เอกสารเผยแพร่
    • มัลติมีเดีย
    • โปสเตอร์
    • แบบพระอุโบสถวัดพระราม ๙
  • ข่าว
    • ข่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    • ข่าวผู้บริหารมูลนิธิชัยพัฒนา
    • ข่าวสารทั่วไป
    • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
    • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
    • ระบบติดตามตรวจสอบย้อนกลับ Chaipattana Traceability QR Code
  • แนวคิดและทฤษฏี
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องน้ำ
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องดิน
    • น้ำดีไล่น้ำเสีย
    • ฝนหลวง
    • เครื่องดักหมอก
    • การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน
    • ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
    • ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้
    • เส้นทางเกลือ
    • การบำบัดน้ำเสียด้วยพืชน้ำกับระบบการเติมอากาศ
    • การพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกร
    • ทฤษฎีใหม่
  • กังหันน้ำชัยพัฒนา
    • กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2
    • การขอความอนุเคราะห์การติดตั้ง
    • ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
    • การติดตั้งและบำรุงรักษา
  • บริจาค
  • 30ปีมูลนิธิชัยพัฒนา
    • 30 เรื่องพิเศษ
    • 8 ผลงานนักวาดภาพประกอบ
    • แรงบันดาลใจแห่งชัยชนะ
    • ภาพยนตร์สารคดี
    • เกี่ยวกับมูลนิธิชัยพัฒนา
    • กิจกรรมในงาน
    • จากนภาผ่านภูผาสู่มหานที
    TH Thai EN English |
facebook youtube tiktok icon
logochaipat mobile
facebook  youtube
  • หน้าแรก
  • เอกสารเผยแพร่
  • บทความที่น่าสนใจ
  • บทความพิเศษ เกี่ยวเนื่องด้วย สบู่ดำ

บทความพิเศษ เกี่ยวเนื่องด้วย สบู่ดำ

ข้อมูลจากงานวิจัยของ Hecker ปี 2520

เมื่อ เร็ว ๆ นี้ ได้มีข่าวเกรียวกราวเกี่ยวกับต้นสบู่ดำว่า น้ำมันจากเมล็ดของพืชนี้สามารถที่จะนำไปใช้ทดแทนน้ำมันที่ใช้กับเครื่องยนต์ ได้ และอาจจะมีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกสบู่ดำ เพื่อบีบน้ำมันใช้ภายในไร่แทนน้ำมันเครื่องยนต์อื่นๆ ในฐานะที่ผู้เขียนได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับสารเคมีในพืชตระกูลนี้จึงใครขอเสนอ ข้อมูลเกี่ยวกับต้นสบู่ดำที่รวบรวมได้จากเอกสารวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อให้เกษตรกรและท่านผู้สนใจได้ทราบไว้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาน้ำมัน จากเมล็ดสบู่ดำเพื่อใช้ทดแทนน้ำมันเครื่องยนต์ต่อไป

สบู่ดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jatropha curcas เป็นพืชในตระกูล Euphorbiaceas ใน เมล็ดมีน้ำมันซึ่งติดไฟได้ประกอบอยู่ ในสมัยก่อนเด็ก ๆ จะเสียบเมล็ดสบู่ดำติดปลายไม้เจาะรูแล้วจุดไฟใช้เป็นคบไฟในยามค่ำคืน การวิเคราะห์ปริมาณน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำนั้นมีกันมานานแล้ว เมื่อ 60 ปีที่แล้ว มีผู้พบว่าเมล็ดสบู่ดำมีน้ำมันอยู่ถึงร้อยละ 34-37 โดยน้ำหนักแต่พบว่าน้ำมันนี้ไม่เหมาะสมในการใช้หล่อลื่นเครื่องยนต์ (Chemical Abstracts 16, 2038, 1922)

จากการศึกษาน้ำมันนี้เพิ่มเติมในระยะต่อมา จึงได้พบว่า น้ำมันนี้มีองค์ประกอบที่เป็นโปรตีนอยู่ (ซึ่งเรียกว่า toxalbumin หรือ curcin) ซึ่งเมื่อนำไปทดสอบความเป็นพิษโดยกรรมวิธีทดลองที่ใช้กันทั่วไปแล้วพบว่าหนูที่ใช้ทดลองตายหมดภายใน 96 ชั่วโมง(Chemical Abstracts 56, 10579f, 1962)

ใน ระหว่างทศวรรษทีแล้ว ราคาน้ำมันเริ่มสูงขึ้น ทำให้มีการหันมาสนใจศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการใช้น้ำมันจากเมล็ดสบู่ ดำนี้แทนน้ำมันเครื่องยนต์ และได้มีการศึกษาถึงองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันนี้อย่างละเอียดก่อนที่จะนำ ไปทดลองใช้ต่อไป จึงได้พบว่าน้ำมันนี้มีสารประเภทฟอร์บอลเอสเตอร์ (phorbol ester) ประกอบด้วย (Hecker, 1977) สารประเภทนี้เป็นสารพิษที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองบนผิวหนังและจากการทดลอง แต้มสารนี้บนผิวหนังของหนูหลาย ๆ ครั้ง ซ้ำ ๆ กันเป็นระยะเวลาหนึ่ง จะทำให้เกิดเนื้องอกที่เป็นมะเร็งขึ้น (Hecker, 1977) ผู้เขียนเองได้มีโอกาสเห็นหนูทดลองเหล่านี้ด้วยตาตนเอง เมื่อปี พ.ศ. 2524 ที่สถาบันวิจัยมะเร็งในประเทศเยอรมัน ภาพหนูที่เป็นมะเร็งจากการถูกแต้มด้วยสารประเภทนี้ ยังเป็นภาพที่ติดตาผู้เขียนอยู่จนทุกวันนี้

เป็นที่น่าสังเกตว่า มีผู้เรียกน้ำมันนี้ว่า Hell oil ซึ่งแปลเป็นไทยตรง ๆ ได้ว่า น้ำมันนรก (Burkil 1935, Watt and Breyer- brandwijk 1962)

ส่วน อื่น ๆ ของพืชนี้ก็มีอันตรายไม่น้อยเช่นกันและเพราะคงจะเป็นเพราะเหตุนี้กระมังจึง มีผู้ปลูกสบู่ดำไว้ตามหลุมฝังศพ หรือไว้เป็นรั้วกันวัวควายไม่ให้เข้าใกล้บ้าน (Barrett 1956, Irvine 1961) เมล็ดจากแต่ละต้นสบู่ดำจะมีพิษมากน้อยไม่เท่ากันขนของผลนั้นแข็งและสามารถ แทงผ่านผิวหนังได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดมากนานเกินกว่า 24 ชั่วโมง บางครั้งก็จะมีไข้ตามมาด้วย (Watt and Breyer- brandwijk 1962 ) น้ำยางเมื่อถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังอักเสบ (Huret 1942, Morton 1998, Watt and Breyer- brandwijk 1962) และน้ำจากใบเมื่อเข้าตาจะทำให้เกิดอาการอักเสบได้ (Irvine 1961)

สำหรับ การพัฒนาน้ำมันจากต้นสบู่ดำให้เป็นประโยชน์ไม่ว่าใช้เป็นน้ำมันเครื่องยนต์ หรือในการอื่น ๆนั้นยังเป็นสิ่งที่น่าจะกระทำกันต่อไป แต่ก่อนที่จะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบทั่วกันนั้น จำเป็นจะต้องแน่ใจเสียก่อนว่าจะไม่มีพิษตกค้างหรือเป็นโทษในภายหลัง โดยอาจจะค้นหากรรมวิธีทำลายหรือแยกสารพิษฟอร์บอลเอสเตอร์ออกเสียก่อนที่จะนำ ไปใช้งาน ในขณะเดียวกัน ก็ควรจะมีการศึกษาการผสมพันธุ์ของต้นสบู่ดำเพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีสารเหล่า นี้น้อยที่สุดและมีผลผลิตของน้ำมันเมล็ดมากที่สุด

การวิจัยในแนวนี้ได้กระทำกันอยู่หลายประเทศในปัจจุบันนี้โครงการหนึ่งที่น่าจะกล่าวถึงในที่นี้ก็คือโครงการพัฒนาน้ำมันจากต้น Euphorbia Catyiris ในมหาวิทยาลัยคาลิฟฟอร์เนีย ที่เมืองเบอร์คลี ในประเทศอเมริกา โดยศาสตราจารย์ Malvin calvin โครงการ วิจัยนี้สามารถผลิตน้ำมันที่ใช้กับเครื่องยนต์ได้ในราคาประมาณ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล ซึ่งแพงกว่าน้ำมันดิบที่ใชกันอยู่ในปัจจุบันที่มีราคาเพียง 34 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล แต่ศาสตราจารย์ Calvin เชื่อ ว่าเมื่อสามารถผสมพันธุ์จนสามารถได้พันธุ์ที่ผลิตน้ำมันได้มากขึ้นและเมื่อ ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นในอนาคตแล้วก็จะสามารถนำน้ำมันจากพืชดังกล่าวใช้แทน น้ำมันได้คุ้มค่ากับต้นทุนการผลิต

ผู้ เขียนหวังว่า ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาน้ำมันจากสบู่ดำให้เป็นประโยชน์ และทำให้เกษตรกรเพิ่มความระมัดระวัง เมื่อจะปลูกต้นสบู่ดำ และถ้าจะบีบน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำ ที่ขึ้นอยู่ในไร่ไปใช้ก็ควรพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำมันเมล็ดสบู่ดำให้ มากที่สุด แม้ว่าเนื้องอกจะไม่เกิดขึ้นทันทีที่สัมผัสน้ำมันเมล็ดสบู่ดำก็ตาม แต่อาจจะเกิดขึ้นได้เมื่อสัมผัส หลาย ๆ ครั้ง ซ้ำ ๆ กัน

ท่านจะรู้ว่า มีเนื้องอกบนผิวหนังของท่านก็ต่อเมื่อมันงอกขึ้นมาแล้วเท่านั้น มารักษากันตอนนั้นคงจะไม่เหมาะสมแน่

โครงการศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จังหวัดนครนายก 7 / 29 มุมมองที่เปลี่ยนไปของเด็กอาชีวะ
  • E-mail
  • ระบบงานภายใน
  • โครงสร้างเว็บไซต์
  • English
  • ติดต่อมูลนิธิ
  • สมัครงาน
  • แบบฟอร์มขอรับทุนพระราชทาน

ลิขสิทธิ์ © 2016-2017 มูลนิธิชัยพัฒนา (The Chaipattana Foundation) สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • ความเป็นมา
    • วัตถุประสงค์
    • แนวทางการดำเนินงาน
    • กิจกรรมหลักของมูลนิธิ
      • ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
      • ด้านการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      • ด้านการพัฒนาการเกษตร
      • ด้านการพัฒนาสังคม
      • ด้านพลังงาน
      • ด้านอื่น ๆ
    • ตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิ
    • คณะกรรมการมูลนิธิ
  • โครงการพระราชดำริ
    • ภาคเหนือตอนบน
    • ภาคเหนือตอนล่าง
    • ภาคกลางตะวันออก
    • ภาคกลางตะวันตก
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
    • ภาคใต้
    • โครงการกิจกรรมพิเศษ
      • โครงการปลูกผักปลอดภัยภายใต้มาตรฐาน GAP
      • โครงการบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง
      • โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์พระราชทานเพื่อนช่วยเพื่อน
  • เผยแพร่
    • วารสาร
      • วารสารมูลนิธิชัยพัฒนา
      • วารสารป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด
      • วารสารโคกปรงพัฒนา
      • วารสารสวนป่าพฤกษพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา
      • หนังสืออื่นๆ ของมูลนิธิชัยพัฒนา
    • เอกสารเผยแพร่
      • เกร็ดความรู้
      • เศรษฐกิจพอเพียง
      • กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2
      • เครื่องกลเติมอากาศ RX-5C
      • แนะนำมูลนิธิ
      • สึนามิ
      • โครงการเยาวชนไทยร่วมใจชัยพัฒนา
      • ผลงานภาพวาดบ้านนี้มีรัก
    • มัลติมีเดีย
      • เรื่องเล่าถึงพ่อ...ผ่านบทสัมภาษณ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
      • วีดีโอแนะนำโครงการต่าง ๆ
      • นิทานจันกะผัก
    • โปสเตอร์
      • โปสเตอร์เศรษฐกิจพอเพียง
      • โปสเตอร์กังหันน้ำชัยพัฒนา
      • โปสเตอร์แนะนำมูลนิธิชัยพัฒนา
    • แบบพระอุโบสถวัดพระราม ๙
      • รายชื่อวัดที่ขอใช้แบบพระอุโบสถ วัดพระราม ๙ฯ
  • ข่าว
    • ข่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    • ข่าวผู้บริหารมูลนิธิชัยพัฒนา
    • ข่าวสารทั่วไป
    • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
    • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
      • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
      • ภาคเหนือตอนบน
      • ภาคเหนือตอนล่าง
      • ภาคกลางตอนบน
      • ภาคกลางตอนล่าง
      • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      • ภาคตะวันออก
      • ภาคใต้
      • โครงการพิเศษ
    • ระบบติดตามตรวจสอบย้อนกลับ Chaipattana Traceability QR Code
  • แนวคิดและทฤษฏี
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องน้ำ
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องดิน
    • น้ำดีไล่น้ำเสีย
    • ฝนหลวง
    • เครื่องดักหมอก
    • การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน
    • ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
    • ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้
    • เส้นทางเกลือ
    • การบำบัดน้ำเสียด้วยพืชน้ำกับระบบการเติมอากาศ
    • การพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกร
    • ทฤษฎีใหม่
  • กังหันน้ำชัยพัฒนา
    • กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2
      • เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย
      • พระราชดำริ
      • การศึกษา วิจัย และพัฒนา
      • คุณสมบัติ
      • หลักการทำงาน
      • สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย
    • การขอความอนุเคราะห์การติดตั้ง
      • หลักเกณฑ์
      • วิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติ
      • การซ่อมบำรุงดูแลรักษาเครื่อง
      • การติดตามผลการดำเนินงานโครงการ
    • ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
      • ความสำคัญของทรัพยากรน้ำ
      • การเลือกพืชบำบัดน้ำเสียและการดูแลรางพืช
      • หลักการทั่วไปของระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
      • พืชที่ไม่สามารถนำมาใช้ในงานปรับปรุงคุณภาพน้ำ
      • การดูแลระบบรางพืชกรองน้ำ (plantbed filter)
      • สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย
    • การติดตั้งและบำรุงรักษา
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศ
      • การบำรุงรักษากังหันน้ำชัยพัฒนา
      • การบำรุงรักษาเครื่องกลเติมอากาศ RX-5C
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศกรุงบรัสเซลล์
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศวัดพุทธคยา
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศวัดพุทธประทีป
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศ ปตท. สาขาหนองแต่ง สปป.ลาว
  • บริจาค
  • 30ปีมูลนิธิชัยพัฒนา
    • 30 เรื่องพิเศษ
    • 8 ผลงานนักวาดภาพประกอบ
      • ภัทรพัฒน์
      • จากธรรมชาติ สู่ธรรมชาติ
      • “Harmony of Living” เปลี่ยนสุขภาพของโลกให้ดีขึ้น กับ Bloody Hell Big Head
      • “MIRRORS" ภาพสะท้อนของการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัย
      • “สายใย ชัยพัฒนา” คุณค่าของชีวิตสู่งานศิลปะสไตล์ THE DUANG
      • “Together” ความอบอุ่นของการได้อยู่ร่วมกัน
      • “Land of Luck” ดินแดนแห่งความโชคดี ภายใต้โครงการด้านการเกษตร ในมุมมองของ SIRI
      • “GIVE” เพราะการให้เงิน ไม่เท่าการให้ความรู้ ถอดบทเรียนจากโครงการด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • แรงบันดาลใจแห่งชัยชนะ
    • ภาพยนตร์สารคดี
    • เกี่ยวกับมูลนิธิชัยพัฒนา
      • ความเป็นมาของมูลนิธิ
      • ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
      • ด้านการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      • ด้านการพัฒนาการเกษตร
      • ด้านพลังงาน
      • ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
      • ด้านการเพิ่มศักยภาพทางการตลาดให้ชุมชน (ร้านภัทรพัฒน์)
      • หลักสูตรผู้นำการพัฒนาอย่างยั่งยืน
      • โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ
      • ด้านการพัฒนาสังคม
    • กิจกรรมในงาน
    • จากนภาผ่านภูผาสู่มหานที