- หน้าแรก
- เอกสารเผยแพร่
- บทความที่น่าสนใจ
- มุมมองที่เปลี่ยนไปของเด็กอาชีวะ
มุมมองที่เปลี่ยนไปของเด็กอาชีวะ
ศุลีพร บุญบงการ
ศักดิ์ศรี ความรักสถาบัน การรัก พวกพ้อง จนเกินขอบเขต อาจเป็นเพราะมีทัศนคติในการแสดงออกที่ผิดจนนำไปสู่ปัญหาการตีกันของเด็กนัก เรียนเหตุการณ์เหล่านี้เป็นข่าวทางสังคมที่สามารถพบเห็นจนชินตา และกลายเป็นภาพพจน์ของนักเรียนอาชีวะ ที่มีข่าวบ่อยครั้งนั้นก็เพราะการตีกันนำไปสู่การบาดเจ็บ ล้มตาย ซึ่งมักจะเกิดกับผู้ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย แต่อาจมีส่วนเกี่ยวเนื่องแค่อยู่ในที่เกิดเหตุ หรือ เป็นแค่นักเรียนโรงเรียนใสเครื่องแบบเดียวกัน ส่งผลกระทบทางจิตใจต่อพ่อ แม่ ญาติ ของผู้เสียหายและพวกเราที่อยู่ในสังคม
นักเรียนอาชีวะเป็นอย่างนี้ทั้งหมดหรือไม่ หรืออาจจะเป็นปลาเน่าเพียงไม่กี่ตัวเพราะจากหลาย ๆ เหตุการณ์ ตั้งแต่ สมัยของช่างกลตีกัน จนปิดสถาบันไปหลายที่ ก็พบว่านักเรียนที่สร้างปัญหาเป็นเพียงประชากรส่วนน้อย แต่กลับทำให้นักเรียนส่วนใหญ่รวมไปถึงสถาบันการศึกษาเสียชื่อเสียง ทำไมนักเรียนที่เหลือถึงไม่ออกมาปกป้องสถาบันของตัวเองกันบ้าง แสดงออกในทางที่ถูกที่ควรว่าการรักสถาบันที่แท้จริงต้องปฏิบัติเช่นไร
เรื่องราวน่าเล่าสู่กันฟัง
แต่เรื่องราวที่เปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อคำว่า เด็กอาชีวะ จน อยากที่จะนำมาเล่าสู่สังคม เพื่อเปิดมุมมองใหม่กับเด็กอาชีวะ ก็คือ สำนักงานอาชีวศึกษา ที่ได้เสนอแนวการเรียนการสอนแบบใหม่ โดยนักเรียนอาชีวะที่จะลงเรียนรายวิชาก่อสร้าง ให้เปลี่ยนจากที่จะเรียนภาคทฤษฎีในห้องเรียนมาลงมือปฏิบัติจริงในโครงการ ความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิชัยพัฒนาสภากาชาดไทย โดยมีเป้าหมายของโครงการคือสร้างบ้านถาวรให้แก่ผู้ประสบภัย จำนวน 170 หลังคาเรือน และต่อเรือประมงไฟเบอร์กลาสเพื่อแจกจ่ายให้ชาวประมงผู้ประสบภัยอีกจำนวน 500 ลำ
เด็ก นักเรียนทั้ง 600 คนนี้มาจากวิทยาลัยอาชีวะทั้ง 27 แห่งทั่วประเทศ เริ่มทำงานสร้างบ้านกันตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2548 โดยแบ่งเด็กออกเป็น 7 กลุ่ม ทำงานกันตั้งแต่แปดโมงครึ่งถึงสี่ทุ่มทุกวัน
พวก เด็กนักเรียนทำงานกันอย่างหนักคล่องแคล่วว่องไว ทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างรวดเร็ว ภายในเดือนเดียวบ้าน 80 หลังที่พวกเขารับผิดชอบในการก่อสร้าง ซึ่งเสร็จไปแล้วกว่า
80 % สร้างความตื่นเต้นให้แก่ทีมงานของสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาที่เดินทางไปให้ ขวัญและกำลังใจและติดตามผล จากสองเดือนที่แล้วยังเป็นพื้นที่ว่างเปล่า มีเสาขึ้นอยู่ไม่กี่ต้น แต่เพียงเดือนเดียวผ่านไป ที่ว่างเปล่าที่เคยเห็นนั้น ได้ขึ้นเป็นโครงสร้างของบ้านสวยงามเป็นร้อยหลัง และคาดว่าจะเสร็จก่อนกำหนด 1 เดือน
เบื้องหลังความสำเร็จ
บ้าน สร้างเสร็จได้อย่างรวดเร็ว ออกมาสดสวยงดงาม แต่ใครจะรู้ว่าเบื้องหลังความสำเร็จที่สวยงามนี้ ความลำบาก ความเหนื่อยยากที่ต้องแลกมานั้น มีมากแค่ไหน เด็กเหล่านี้ไม่ได้แค่มาจากต่างพื้นเพ ต่างพ่อต่างแม่ ต่างสถาบันเท่านั้น แต่เคยมีประวัติรุนแรงมาก่อน แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะจัดการเด็กเหล่านี้ให้เป็นระเบียบ ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ปัญหาเกิดขึ้นอยู่เสมอ แต่ที่สำคัญปัญหาเหล่านั้นได้รับการแก้ไขอย่างไรและจากใคร
ประเด็น ที่กล่าวไปนั้น ต้องยกประโยชน์ให้ทหารช่าง จากกรมการทหารช่างซึ่งได้รับความไว้วางใจจากสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาให้ดูแล การสร้างบ้านพักถาวรให้แก่ผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นงานที่พวกเขาถนัด และงานที่ไม่ถนัดก็คือการเป็นครูสอน และอบรมเด็กอาชีวะที่มาช่วยสร้างบ้าน ดังนั้นความอดทน ทุ่มเทแรงกายแรงใจ และความเสียสละนั้นย่อมต้องมีไม่ใช่น้อยเหล่าทหารช่างได้ฝึกสอนนักเรียนโดย เริ่มจากการมีระเบียบวินัย และทหารเชื่อว่า ถ้าคนเรามีระเบียบวินัยเป็นพื้นฐานแล้ว จะทำอะไรก็ราบรื่น จึงทำให้นักเรียนต้องตื่นเช้ามาเข้าแถวเคารพธงชาติพร้อมกัน และรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเคร่งครัด
นอก จากนี้ ยังได้สอนให้เด็ก ๆ ทำงานร่วมกันอย่างไม่มีพรรคแบ่งพวก โดยพยายามให้เขารู้สึกเป็นพวกเดียวกันเป็นเด็กอาชีวะเหมือนกัน ต้องทำงานร่วมกัน สามัคคีกัน เหมือนดังในหลัก
รู้รัก สามัคคี ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อรวมใจเด็กเหล่านี้ให้เป็นหนึ่งเดียว เมื่อพวกเขารู้ว่าจะได้ทำงานถวายพระเจ้าแผ่นดิน และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่างทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจให้แก่งานนี้อย่างเต็มที่
และ ถ้าจะเอ่ยถึงคุณภาพและความรวดเร็วในการทำงาน ก็ต้องยกให้ความดีให้เหล่าทหารช่างอีกเช่นกัน เพราะทหารช่างได้จัดกลุ่มให้เด็กสร้างบ้านโดยให้เด็กที่อยู่ภาคเดียวกัน จังหวัดเดียวกัน โรงเรียนเดียวกัน สร้างบ้านหลังเดียวกัน และตั้งชื่อกลุ่มภูมิลำเนา เช่น กลุ่มทวาราวดี กลุ่มนครไชยา หรือกลุ่มสุรนารี ความรักพวกพ้อง รักกลุ่ม ทำให้นักเรียนแข่งขันกันสร้างบ้านโดยใช้เวลาและคุณภาพเป็นเกณฑ์การตัดสิน
น้ำใจแบบไทย ๆ
ชาว บ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากคลื่นยักษ์ที่อาศัยบ้านพักชั่วคราวในละแวก นั้น ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีหลังจากมาด้อม ๆ มอง ๆ และทราบว่านักเรียนเหล่านี้มาสร้างบ้านให้พวกเขาอยู่ก็ลงมือทำอาหารง่าย ๆ ตามที่จะหาได้มาแบ่งปันให้เด็กนักเรียนคนละนิดละหน่อยนักเรียนที่เป็น ผู้หญิงก็รับผิดชอบ ดูแลเรื่องอาหารการกินแทบทุกมื้อ ผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอ วัดและโรงเรียนในชุมชนต่างก็ให้ความช่วยเหลือให้ที่หลับที่นอนตามวัดตาม โรงเรียน สถานีวิทยุท้องถิ่นเป็นแหล่งกำลังใจชั้นยอดที่คอยกระจายเสียงและเปิดเพลงให้ กำลังใจ และจัดดนตรีไปช่วยเล่นในงานเลี้ยงส่งนักเรียนอาชีวะบางพวกที่ต้องกลับไปยัง จังหวัดของตนอีกด้วย
สำหรับ นักเรียนที่ไปช่วยต่อเรือประมงที่จังหวัดพังงาก็เป็นกลุ่มที่เคยมีประวัติ รุนแรงมาก่อน เกเร ไม่ค่อยสนใจเรียน และมีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องตีรันฟันแทงหนึ่งในนั้นมีชื่อเสียงทางด้านนี้ มากเสียจนไม่ว่าใครจะมีเรื่องกันที่ไหน คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าเด็กคนนี้เป็นตัวการทุกทีไปแต่พวกเขาได้เปลี่ยนมุมมอง ชีวิตเมื่อได้ต่อเรือร่วมกับนักโทษในเรือนจำจังหวัดพังงาที่มีความประพฤติดี และใกล้พ้นโทษแล้ว มุมมองและประสบการณ์ชีวิตของนักโทษที่ต้องข้อหาฆ่าคนตาย ได้เปลี่ยนความคิดของพวกเขาอย่างมาก
นอก จากนี้ ยังได้เรียนรู้ถึงความจริงของชีวิต และผลของการกระทำของนักโทษเหล่านั้นที่ยากจะลบเลือนไปจากความทรงจำของพวกเขา ได้ ส่วนนักโทษเองนอกจากความรู้สึกดีที่ได้ช่วยเหลือสังคมแล้ว อาชีพติดตัวยังเป็นอีกประโยชน์หนึ่งที่ได้รับเมื่อพ้นโทษแล้ว ซึ่งเป็นอาชีพที่ทำเองได้ไม่ยาก เพราะไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์อะไรมากมายให้ยุ่งยาก
นอก จากมูลนิธิชัยพัฒนาและสภากาชาดไทยจะได้เรือได้บ้านเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบ ภัย นักเรียนอาชีวะจะได้รับใบปริญญาจากการช่วยสร้างบ้านเรือแล้ว วิธีการมองโลกมองชีวิตของพวกเขายังได้เปลี่ยนไปด้วย จากกลุ่มคนที่สังคมมองว่าเป็นตัวปัญหา บัดนี้กลับมาช่วยแก้ปัญหา และอยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี อย่างภาคภูมิใจในสังคมได้อีกครั้ง