logochaipat

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • ความเป็นมา
    • วัตถุประสงค์
    • แนวทางการดำเนินงาน
    • กิจกรรมหลักของมูลนิธิ
    • ตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิ
    • คณะกรรมการมูลนิธิ
  • โครงการพระราชดำริ
    • ภาคเหนือตอนบน
    • ภาคเหนือตอนล่าง
    • ภาคกลางตะวันออก
    • ภาคกลางตะวันตก
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
    • ภาคใต้
    • โครงการกิจกรรมพิเศษ
  • เผยแพร่
    • วารสาร
    • เอกสารเผยแพร่
    • มัลติมีเดีย
    • โปสเตอร์
    • แบบพระอุโบสถวัดพระราม ๙
  • ข่าว
    • ข่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    • ข่าวผู้บริหารมูลนิธิชัยพัฒนา
    • ข่าวสารทั่วไป
    • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
    • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
    • ระบบติดตามตรวจสอบย้อนกลับ Chaipattana Traceability QR Code
  • แนวคิดและทฤษฏี
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องน้ำ
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องดิน
    • น้ำดีไล่น้ำเสีย
    • ฝนหลวง
    • เครื่องดักหมอก
    • การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน
    • ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
    • ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้
    • เส้นทางเกลือ
    • การบำบัดน้ำเสียด้วยพืชน้ำกับระบบการเติมอากาศ
    • การพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกร
    • ทฤษฎีใหม่
  • กังหันน้ำชัยพัฒนา
    • กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2
    • การขอความอนุเคราะห์การติดตั้ง
    • ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
    • การติดตั้งและบำรุงรักษา
  • บริจาค
  • 30ปีมูลนิธิชัยพัฒนา
    • 30 เรื่องพิเศษ
    • 8 ผลงานนักวาดภาพประกอบ
    • แรงบันดาลใจแห่งชัยชนะ
    • ภาพยนตร์สารคดี
    • เกี่ยวกับมูลนิธิชัยพัฒนา
    • กิจกรรมในงาน
    • จากนภาผ่านภูผาสู่มหานที
    TH Thai EN English |
facebook youtube tiktok icon
logochaipat mobile
facebook  youtube
  • หน้าแรก
  • เอกสารเผยแพร่
  • บทความที่น่าสนใจ
  • ปีใหม่ที่สุขใจ ณ บ้านทุ่งรักของมูลนิธิชัยพัฒนา

ปีใหม่ที่สุขใจ ณ บ้านทุ่งรักของมูลนิธิชัยพัฒนา

โดย  หฤทชนันท์  เรือนงาม

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2549 ข้าพเจ้ามีโอกาสได้เดินทางไปติดตามงานด้านสารสนเทศบ้านทุ่งรัก อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และเมื่อเสร็จภารกิจที่ได้รับมอบหมาย กำลังจะเดินทางกลับที่พักในตอนค่ำ เจ้าหน้าที่สำนักบริหารโครงการมูลนิธิชัยพัฒนาได้ชักชวนข้าพเจ้าและทีมงานให้ไปช่วยงานบุญ เพราะในวันรุ่งขึ้นเป็นวันครบรอบ 2 ปี ของเหตุการณ์ธรณีพิบัติสึนามิ ซึ่งโครงการบ้านทุ่งรักจะมีการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับที่ประสบเหตุในครั้งนั้น  และจะจัดงานปีใหม่ให้แก่ชาวบ้านที่ได้ย้ายเข้ามาอยู่อย่างถาวรในพื้นที่โครงการพร้อมๆ กันไปด้วย    

เช้าวันที่ 26 ธันวาคม 2549 พวกเราตื่นกันแต่เช้าเพื่อเดินทางไปยังโครงการบ้านทุ่งรักให้ทันเวลาทำบุญ  เนื่องจากทราบว่าพระที่นิมนต์มาประกอบพิธีสงฆ์นั้น ท่านไม่ฉันเพล คือ ท่านฉันมื้อเช้าเพียงมื้อเดียว เพราะฉะนั้นพวกเราจึงต้องรีบขนข้าวของ เครื่องอัฐบริขารที่จะถวายพระสงฆ์ ขึ้นรถจัดเตรียมให้เรียบร้อย  เมื่อรถจอดเทียบหน้าอาคารอเนกประสงค์ในโครงการบ้านทุ่งรัก ชาวบ้านยืนยิ้มแก้มปริรอรับคณะของเรา  ต่างกุลีกุจอมาช่วยยกของลงจากรถกันคนไม้คนละมืออย่างยิ้มแย้มแจ่มใส   ข้าพเจ้ารู้สึกตกใจและแปลกใจ ที่ทำไมคนถึงได้มากันอย่างมากมาย และไม่คิดว่าจะเป็นงานใหญ่ขนาดนี้ เพราะปกติเวลามาที่นี่จะไม่ค่อยเจอผู้คนมากมายนัก เนื่องจากแต่ละคนต้องออกไปประกอบอาชีพของตัวเอง   แต่พอมาวันนี้แทบทุกบ้านอยู่กันครบ สมาชิกในครัวเรือนมาร่วมทำบุญโดยพร้อมเพรียงกัน  ด้านหนึ่งของอาคารอเนกประสงค์เป็นด้านที่ดูแล้วน่าชื่นใจเป็นอย่างยิ่ง คือ ชาวบ้านแต่ละครอบครัว ได้จัดสิ่งของ อาหารคาวหวาน ที่จะถวายพระสงฆ์ ตามแต่กำลังของตัวเอง มีทั้งปิ่นโตใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ใครมีอะไรก็นำมาสมทบคนละเล็กละน้อยตามอัตภาพ จนแลดูเยอะแยะมากมายไปหมด  ส่วนอีกด้านหนึ่งของอาคารจะเป็นด้านแห่งความห่อเหี่ยวและโศกเศร้า คือ จะเป็นโต๊ะที่ตั้งรูปถ่ายของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ธรณีพิบัติสึนามิ ซึ่งมีจำนวนมากมายเหลือเกิน จนข้าพเจ้าเองไม่กล้าพอที่จะนับ 

                 หลังจากผ่านพิธีสงฆ์ในภาคเช้าเรียบร้อยแล้ว พอถึงตอนกลางวัน สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารให้แก่ชาวบ้านที่มาร่วมงานทั้งหมด 173 ครัวเรือน ประมาณว่า 300 กว่าคน  เมนูอาหารวันนี้ ได้แก่ ขนมจีนน้ำยา น้ำพริก ส่วนของหวาน คือ ผลไม้และไอศครีม พอถึงตอนนี้เป็นที่สนุกสนานเป็นอย่างมาก ชาวบ้านหญิง ชาย คนเฒ่า คนแก่ เด็กเล็ก ทยอยกันตักขนมจีนรับประทานกันอย่างเอร็ดอร่อย แต่เป็นที่น่าสังเกต คือว่า คนจำนวนมากเมื่อตักอาหารเสร็จแล้ว จะไม่นั่งโต๊ะ หรือเก้าอี้ที่จัดเตรียมไว้ให้ แต่กลับรวมกลุ่มนั่งล้อมวงกันรับประทานอาหารกันอย่างหน้าตาเฉย  ประหนึ่งว่ามีคนปูเสื่อไว้ให้นั่ง  ทั้งๆ ที่เป็นพื้นปูนหินขัดมีผู้คนเดินย่ำไปมาจนเกิดฝุ่นมากมาย แต่ไม่มีใครสนใจ นั่งรับประทานกันอย่างเอร็ดอร่อยและสบายอารมณ์  จนข้าพเจ้าอดรนทนไม่ไหว ต้องเดินเข้าไปถามว่าทำไมไม่นั่งบนเก้าอี้ที่จัดไว้ให้  พร้อมทั้งเชื้อเชิญให้คนเฒ่าคนแก่ลุกขึ้นไปรับประทานอาหารบนโต๊ะจะสะดวกกว่า เพราะจะได้นั่งห้อยขาสบายๆ ไม่ต้องทรมานนั่งงอขาอยู่กับพื้น แต่คำตอบที่ข้าพเจ้าได้รับ คือ อยากนั่งกับพื้นหินอย่างนี้ เพราะมันเย็นดี ที่บ้านมันร้อนและไม่มีให้นั่งอย่างนี้ อยากนั่งให้เย็นๆ ก่อนกลับบ้าน อยากให้อาคารนี้เปิดทุกวัน เพราะจะพาลูกมาหลานมานั่งเล่นนอนเล่นได้

 ก่อนวันงานทำบุญ และเลี้ยงปีใหม่ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้จัดเตรียมข้าวของเครื่องใช้ในการอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง สบู่ ยาสีฟัน ผ้าห่ม และผ้าเช็ดตัวเป็นของขวัญของรางวัลหลายชิ้น รางวัลใหญ่ที่สุดจะเป็นรถจักรยาน 1 คัน รองลงมาจะเป็นเตาแก๊ส 1 อัน และพัดลมอีก 9 เครื่อง โดยได้ความร่วมมือจากกรมการทหารช่างช่วยขนส่งสิ่งของต่างๆ จากกรุงเทพฯ ลงไปยังบ้านทุ่งรัก   ชาวบ้านและทีมงานได้ช่วยกันบรรจุและห่อเป็นของขวัญของรางวัลมากมายใหญ่บ้างเล็กบ้าง เพื่อให้พอกับจำนวนคนที่จะมาร่วมงาน เรียกได้ว่าจะไม่มีใครกลับบ้านมือเปล่ากันเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทีมงานของเราแอบพบในถังขยะในตอนเย็น คือ ผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน ถูกซ่อนอยู่ก้นถัง จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ในโครงการและอาสาสมัคร พบว่า ชาวบ้านบางคนคงกลัว  กลัวว่าถ้ามาร่วมงานแล้วจะไม่ได้รับอะไร กลัวจะไม่ได้รับของแจก กลัวของหมด กลัวต้องกลับบ้านมือเปล่า จึงต้องแอบซ่อนของไว้เพื่อรอมาเก็บไปในตอนกลางคืน จนป่านนี้เราก็ยังไม่อาจรู้ว่าเป็นของผู้ใดเอามาซ่อนไว้

                        และแล้วเวลาที่ทุกคนรอคอยก็มาถึงจนได้ เวลาแห่งความสุขในการรับของขวัญปีใหม่   เริ่มจากเด็กๆ จะได้รับขนม ช็อคโกแลต เด็กทุกคนจะยืนเข้าแถวกันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยเดินเข้ามารับขนม ยกมือไหว้ขอบคุณโดยไม่ต้องบอก ความที่เด็กๆ มีจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถรู้ได้ว่าใครได้รับแล้ว หรือยังไม่ได้รับ จึงมีการแจกซ้ำ เพราะเราเตรียมของไปเหลือเฟือ แต่สิ่งที่ได้รับเป็นคำตอบจากเด็กแทบทุกคนว่า "หนูได้แล้ว พอแล้วครับ (ค่ะ) ให้คนอื่นได้บ้าง" เด็กเล็กๆ บางคนพอได้ช็อคโกแลตก็รีบเอาขนมเข้าปาก แต่เด็กบางคนไม่ยอมกิน ถืออยู่อย่างนั้น ข้าพเจ้าเข้าไปสอบถามว่าทำไมถึงไม่กิน ถือไว้ทำไม คำตอบที่ได้รับ คือ "จะเอาไปฝากยายที่บ้าน ยายมาไม่ไหวแก่แล้ว"  แต่ส่วนใหญ่เด็กโตจะไม่ยอมกิน แต่กลับวิ่งไปยื่นให้พ่อแม่เก็บ ด้วยเหตุผลเดียวในใจของพวกเขาที่พ่อแม่บอกไว้ว่า "เป็นของในหลวง ในหลวงให้คนเอามาให้ ต้องเก็บ "                       

                        ระหว่างที่ทุกคนสนุกสนานอยู่ที่อาคารอเนกประสงค์  สำนักบริหารโครงการได้ตั้งทีมงานขึ้นมา 1 ทีม เพื่อขับรถตระเวนดูบ้านทุกหลังในโครงการ เพื่อจะคัดเลือกบ้านตัวอย่าง 9 หลัง ขึ้นมารับรางวัลพิเศษ นั่นคือ พัดลมจำนวน 9 เครื่อง เกณฑ์ในการตัดสิน คือ พวกเราจะเลือกบ้านที่สะอาด น่ามอง เจ้าของบ้านจัดบ้านได้อย่างเป็นระเบียบ ไม่รกรุงรัง ให้เป็นตัวอย่างด้านการรักษาความสะอาดจำนวน 5 หลัง และอีก 4 หลัง เป็นบ้านที่จัดภูมิทัศน์สวยงาม เช่น มีการปลูกหญ้าแฝก ปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเองในครอบครัว ปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ ทำให้บ้านดูร่มรื่น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการจูงใจให้ชาวบ้านในปีต่อๆ ไป ว่าถ้าอยากได้ของรางวัลใหญ่ จะต้องช่วยกันดูแลรักษาบ้านของตนให้สะอาดน่ามอง และปลูกต้นไม้ให้เกิดความร่มรื่น น่าอยู่อาศัย

ถึงเวลาที่จับรางวัลพิเศษ คนที่ได้พัดลมจะตื่นเต้นมาก เพราะพวกเราแจ้งกฎเกณฑ์ในการพิจารณาให้ทราบก่อนจับรางวัล  มีเสียงฮือฮาลั่นอาคารอเนกประสงค์   แทบทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าจะเตรียมปลูกต้นไม้ไว้ตั้งแต่ต้นปี เพื่อที่ว่าในปีหน้าพวกเขาต้องได้รางวัลพิเศษบ้างแน่ๆ นายอำเภอคุระบุรี สุดแสนจะใจดี ให้เกียรติมามอบของรางวัลให้ ชาวบ้านปลื้มใจกันทั่วหน้า คนที่ได้รับรางวัลพิเศษเป็นพัดลม ต่างไชโยโห่ร้อง ดีใจเมื่อรู้ว่าตัวเองเป็นผู้โชคดี  ส่วนเตาแก๊สคนที่ได้เป็นคุณยายซึ่งแก่มาก ต้องมีคนประคองออกมารับรางวัล พอรับเสร็จคุณยายยังไม่รู้จะเอากลับบ้านอย่างไรเพราะกล่องใหญ่มาก ทีมงานของเราต้องอาสาขับรถพาทั้งเตาแก๊สและคุณยายกลับไปส่งที่บ้านด้วยความปลื้มใจทั้งผู้ให้และผู้รับ และแล้วรางวัลที่ทุกคนรอคอยก็มาถึง รถจักรยานเป็นรางวัลใหญ่ที่สุด ผู้โชคดีประจำปีนี้เป็นผู้ชายผิวคล้ำ นุ่งกางเกงเล ลักษณะคล้ายพวกมอแกน กระโดดตัวลอยวิ่งออกมารับรางวัล จากนั้นก็เข็นรถเดินกลับบ้านไปด้วยรอยยิ้มและความสุข  ข้าพเจ้าเดินเข้าไปสัมภาษณ์ว่าทำไมถึงไม่ขี่กลับบ้าน ได้รถแล้วนี่  คำตอบที่ได้รับ คือ   "ยังขี่ไม่เป็น เข็นไปก่อน เดี๋ยวก็เป็นเอง"
 เวลาแห่งการจับฉลากผ่านไปอย่างรวดเร็ว จนของรางวัลใกล้หมดลงทุกที  พวกทีมงานทุกคนกำลังวุ่นอยู่กับกองของขวัญ และโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว  มีชาวบ้านชายหญิงชาวประมง จำนวน 5-6 คน เดินเข้ามาประชิดตัวพวกเราทางด้านหลัง  ดูสีหน้าทุกข์ร้อนใจเป็นอย่างมาก บางคนเหมือนกำลังร้องไห้ แลดูน่าสงสาร รีบแย่งกันพูด เสียงดังโวยวาย เหมือนกำลังจะฟ้องอะไรทีมงานสักอย่าง พวกเราต้องเข้ามาไกล่เกลี่ยสอบถามได้ความว่า พวกเขายังไม่ได้รับของขวัญอะไรเลยตั้งแต่มา คนอื่นได้กันตั้งเยอะ นี่ของก็กำลังจะหมด เขาไม่อยากกลับบ้านมือเปล่า มารอตั้งแต่เช้า ยังไม่ได้อะไรเลย เห็นของใกล้จะหมดเลยใจเสีย พอจะมีของอะไรเหลือบ้างหรือไม่ แค่ยาสีฟันกล่องเล็กๆ สบู่ หรือผงซักฟอกอะไรบ้างก็ยังดี เห็นคนอื่นเขาได้กันเกือบหมดแล้ว เขากลัวว่ารายชื่อเลขที่บ้านของพวกเขาจะตกหล่น กลัวชื่อจะตกสำรวจไม่ได้อยู่ในกองของรางวัลพวกนั้น  เขาไม่อยากเสียใจที่ไม่ได้อะไรกลับบ้านในวันนี้เลย  พวกเราเมื่อได้ยินดังนั้น ต้องทำความเข้าใจไกล่เกลี่ยกันอยู่นานว่า สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้เตรียมของขวัญของรางวัลมาให้ครบทุกครัวเรือนแน่นอน  ไม่ต้องกังวล ทุกบ้านได้แน่ๆ เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจกันว่า ของขวัญที่แจกกับของที่จับฉลากไม่เหมือนกัน ของที่จับฉลากจะต้องเป็นผู้โชคดีที่เราหยิบหมายเลขขึ้นมาได้เท่านั้น ส่วนพัดลม เตาแก๊ส รถจักรยาน เป็นรางวัลพิเศษ เฉพาะบ้านที่ตกแต่งและจัดบ้านสวยงามถึงจะได้รับ แต่ข้าวสารอาหารแห้งของแจกได้ทุกคนแน่นอน พวกเราจึงรีบจัดชุดอาหารแห้งถุงใหญ่ให้ชาวบ้านพวกนั้นอย่างเร่งด่วน พอได้รับของกันคนละถุง 2 ถุง เป็นที่พอใจ สีหน้าพวกเขาจึงเปลี่ยนไปจากตอนแรกอย่างเห็นได้ชัด มีความแช่มชื่น ดีใจ กล่าวขอบคุณ และรีบยกมือไหว้พวกทีมงานกันอย่างพินอบพิเนา แลดูน่าสงสาร               

                        ภารกิจในวันทำบุญและเลี้ยงปีใหม่ของบ้านทุ่งรัก กำลังจะสิ้นสุดลงแล้ว ทุกคนร่ำลากัน ด้วยความสุข คนเฒ่าคนแก่ กล่าวขอบอกขอบใจให้ศีลให้พรกันทั่วหน้า ถึงเวลาเดินทางกลับกรุงเทพฯ กันแล้ว  ข้าพเจ้านึกขึ้นได้ว่า ตั้งแต่มายังไม่ได้เข้าไปเยี่ยมชมห้องน้ำใหม่ในอาคารอเนกประสงค์เลย ข้าพเจ้าทราบมาก่อนหน้านี้ว่า ห้องน้ำในอาคารอเนกประสงค์แบ่งเป็นห้องเล็กๆ อีก 4 ห้อง  ได้รับการออกแบบอย่างทันสมัยสวยงาม ในขณะที่ทีมงานกำลังช่วยกันเก็บของ ข้าพเจ้าจึงเดินเข้าไปดูห้องน้ำอย่างเงียบๆ  ซึ่งวันนี้มันไม่เป็นอย่างที่ข้าพเจ้านึกภาพไว้ ภายในห้องน้ำมีน้ำนองเจิ่งเต็มไปหมด และแล้วข้าพเจ้าได้ยินเสียงเหมือนคนกำลังใช้น้ำดังอยู่ห้องด้านในสุด ทั้งๆ ที่ประตูห้องน้ำยังเปิดอยู่ ข้าพเจ้าจึงค่อยๆ ย่องไปดู และสิ่งที่ข้าพเจ้าพบ คือ  เด็กผู้ชาย อายุประมาณ 2 ขวบ ตัวเล็กนิดเดียว ผมหยิกหยักศก  ตัวดำสนิท กำลังยืนเอาขาแช่อยู่ในคอห่าน ส่วนมือกำลังถือสายยางที่ใช้ฉีดชำระ ฉีดน้ำรดหัวตัวเอง เล่นน้ำอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน ประหนึ่งกำลังอาบน้ำฝักบัวอยู่ ถัดไปไม่ไกลมีเสื้อผ้าที่ถอดกองไว้อย่างเรียบร้อย เหมือนเขากำลังจะบอกกับเราว่า เสื้อผ้าสกปรกไม่เป็นไร ขอแค่ตัวสะอาดไว้ก่อนก็พอ ข้าพเจ้าไม่อยากขัดความสุขของเด็กน้อย จึงค่อยๆ เดินจากมาอย่างเงียบๆ พร้อมรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ

                        วันนี้ข้าพเจ้ามีความสุข และสนุกมากๆ  รู้สึกอิ่มเอมใจที่เห็นคนในหมู่บ้านนี้มีความสุข     แม้ว่าจะป็นเพียงแค่หนึ่งวันแห่งการฉลองปีใหม่ก็ตาม พวกเขาผ่านเรื่องราวแห่งความสูญเสียมามากมายเหลือเกิน แต่ความช่วยเหลือต่างๆ ได้หลั่งไหลเข้ามา จนเราอยากเห็นเขาสามารถกลับมายืนได้ด้วยตัวเองอีกครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าดีใจที่เห็นคนที่นี่มีความสุข ขณะอยู่บนเครื่องบินบินกลับกรุงเทพฯ เพื่อนในสำนักบริหารโครงการท่านหนึ่งถามข้าพเจ้าว่า ...ปีใหม่ปีนี้มาเที่ยวบ้านทุ่งรัก แล้วปีใหม่ปีหน้าอยากไปที่ไหนอีก...

                        ข้าพเจ้าตอบได้ทันทีโดยไม่ต้องคิดเลย บ้านทุ่งรัก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปลูกพืชไม่ใช้ดิน...ทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ 26 / 29 พระราชดำริปาล์มน้ำมัน สู่ไบโอดีเซล
  • E-mail
  • ระบบงานภายใน
  • โครงสร้างเว็บไซต์
  • English
  • ติดต่อมูลนิธิ
  • สมัครงาน
  • แบบฟอร์มขอรับทุนพระราชทาน

ลิขสิทธิ์ © 2016-2017 มูลนิธิชัยพัฒนา (The Chaipattana Foundation) สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • ความเป็นมา
    • วัตถุประสงค์
    • แนวทางการดำเนินงาน
    • กิจกรรมหลักของมูลนิธิ
      • ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
      • ด้านการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      • ด้านการพัฒนาการเกษตร
      • ด้านการพัฒนาสังคม
      • ด้านพลังงาน
      • ด้านอื่น ๆ
    • ตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิ
    • คณะกรรมการมูลนิธิ
  • โครงการพระราชดำริ
    • ภาคเหนือตอนบน
    • ภาคเหนือตอนล่าง
    • ภาคกลางตะวันออก
    • ภาคกลางตะวันตก
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
    • ภาคใต้
    • โครงการกิจกรรมพิเศษ
      • โครงการปลูกผักปลอดภัยภายใต้มาตรฐาน GAP
      • โครงการบ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง
      • โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์พระราชทานเพื่อนช่วยเพื่อน
  • เผยแพร่
    • วารสาร
      • วารสารมูลนิธิชัยพัฒนา
      • วารสารป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด
      • วารสารโคกปรงพัฒนา
      • วารสารสวนป่าพฤกษพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา
      • หนังสืออื่นๆ ของมูลนิธิชัยพัฒนา
    • เอกสารเผยแพร่
      • เกร็ดความรู้
      • เศรษฐกิจพอเพียง
      • กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2
      • เครื่องกลเติมอากาศ RX-5C
      • แนะนำมูลนิธิ
      • สึนามิ
      • โครงการเยาวชนไทยร่วมใจชัยพัฒนา
      • ผลงานภาพวาดบ้านนี้มีรัก
    • มัลติมีเดีย
      • เรื่องเล่าถึงพ่อ...ผ่านบทสัมภาษณ์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
      • วีดีโอแนะนำโครงการต่าง ๆ
      • นิทานจันกะผัก
    • โปสเตอร์
      • โปสเตอร์เศรษฐกิจพอเพียง
      • โปสเตอร์กังหันน้ำชัยพัฒนา
      • โปสเตอร์แนะนำมูลนิธิชัยพัฒนา
    • แบบพระอุโบสถวัดพระราม ๙
      • รายชื่อวัดที่ขอใช้แบบพระอุโบสถ วัดพระราม ๙ฯ
  • ข่าว
    • ข่าวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    • ข่าวผู้บริหารมูลนิธิชัยพัฒนา
    • ข่าวสารทั่วไป
    • ข่าวสารประชาสัมพันธ์
    • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
      • รายงานความก้าวหน้าโครงการ
      • ภาคเหนือตอนบน
      • ภาคเหนือตอนล่าง
      • ภาคกลางตอนบน
      • ภาคกลางตอนล่าง
      • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      • ภาคตะวันออก
      • ภาคใต้
      • โครงการพิเศษ
    • ระบบติดตามตรวจสอบย้อนกลับ Chaipattana Traceability QR Code
  • แนวคิดและทฤษฏี
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องน้ำ
    • แนวคิดและทฤษฎีเรื่องดิน
    • น้ำดีไล่น้ำเสีย
    • ฝนหลวง
    • เครื่องดักหมอก
    • การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน
    • ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
    • ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้
    • เส้นทางเกลือ
    • การบำบัดน้ำเสียด้วยพืชน้ำกับระบบการเติมอากาศ
    • การพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกร
    • ทฤษฎีใหม่
  • กังหันน้ำชัยพัฒนา
    • กังหันน้ำชัยพัฒนา RX-2
      • เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย
      • พระราชดำริ
      • การศึกษา วิจัย และพัฒนา
      • คุณสมบัติ
      • หลักการทำงาน
      • สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย
    • การขอความอนุเคราะห์การติดตั้ง
      • หลักเกณฑ์
      • วิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติ
      • การซ่อมบำรุงดูแลรักษาเครื่อง
      • การติดตามผลการดำเนินงานโครงการ
    • ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
      • ความสำคัญของทรัพยากรน้ำ
      • การเลือกพืชบำบัดน้ำเสียและการดูแลรางพืช
      • หลักการทั่วไปของระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช
      • พืชที่ไม่สามารถนำมาใช้ในงานปรับปรุงคุณภาพน้ำ
      • การดูแลระบบรางพืชกรองน้ำ (plantbed filter)
      • สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย
    • การติดตั้งและบำรุงรักษา
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศ
      • การบำรุงรักษากังหันน้ำชัยพัฒนา
      • การบำรุงรักษาเครื่องกลเติมอากาศ RX-5C
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศกรุงบรัสเซลล์
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศวัดพุทธคยา
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศวัดพุทธประทีป
      • การติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศ ปตท. สาขาหนองแต่ง สปป.ลาว
  • บริจาค
  • 30ปีมูลนิธิชัยพัฒนา
    • 30 เรื่องพิเศษ
    • 8 ผลงานนักวาดภาพประกอบ
      • ภัทรพัฒน์
      • จากธรรมชาติ สู่ธรรมชาติ
      • “Harmony of Living” เปลี่ยนสุขภาพของโลกให้ดีขึ้น กับ Bloody Hell Big Head
      • “MIRRORS" ภาพสะท้อนของการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัย
      • “สายใย ชัยพัฒนา” คุณค่าของชีวิตสู่งานศิลปะสไตล์ THE DUANG
      • “Together” ความอบอุ่นของการได้อยู่ร่วมกัน
      • “Land of Luck” ดินแดนแห่งความโชคดี ภายใต้โครงการด้านการเกษตร ในมุมมองของ SIRI
      • “GIVE” เพราะการให้เงิน ไม่เท่าการให้ความรู้ ถอดบทเรียนจากโครงการด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ
    • แรงบันดาลใจแห่งชัยชนะ
    • ภาพยนตร์สารคดี
    • เกี่ยวกับมูลนิธิชัยพัฒนา
      • ความเป็นมาของมูลนิธิ
      • ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
      • ด้านการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      • ด้านการพัฒนาการเกษตร
      • ด้านพลังงาน
      • ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
      • ด้านการเพิ่มศักยภาพทางการตลาดให้ชุมชน (ร้านภัทรพัฒน์)
      • หลักสูตรผู้นำการพัฒนาอย่างยั่งยืน
      • โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ
      • ด้านการพัฒนาสังคม
    • กิจกรรมในงาน
    • จากนภาผ่านภูผาสู่มหานที